ปะการัง-หอยมือเสือ ฟอกขาวที่ฝั่งอ่าวไทย วิกฤตหนักกว่าทุกปี |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไทยพร้อมๆ กับคำว่าภาวะโลกร้อน อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้ปะการังในทะเลไทยประสบปัญหาการฟอกขาวมากขึ้นทุกๆ ปี จากการลงพื้นที่สำรวจแนวปะการังของ ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในบริเวณอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาพบว่า มีการฟอกขาวของปะการังเป็นจำนวนมาก (ประมาณ 50-70% ของแนวปะการังทั้งหมด) ซึ่งนับเป็นการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่กินพื้นที่มากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในทะเลฝั่งอ่าวไทย
ผศ.ดร.สุชนา กล่าวว่า ได้มีการติดตามสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน (ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม) เริ่มเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้นที่แนวปะการังฝั่งอันดามัน และจากนั้นอีกหนึ่งสัปดาห์ถัดมา แนวปะการังในทะเลฝั่งอ่าวไทยก็เริ่มมีการฟอกขาวเกิดขึ้น และจากการไปสำรวจครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พบว่าการฟอกขาวของปะการังในบริเวณอำเภอสัตหีบมีการขยายพื้นที่มากขึ้น และเกิดขึ้นกับแนวปะการังทุกแห่งในบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเกิดการฟอกขาวขึ้นในหอยมือเสืออีกด้วย
ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ปัจจัยการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว พบว่าเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ขึ้นสูงกว่าปกติ จากเดิมที่มีอุณหภูมิ 30-31 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นเป็น 32-33 องศาเซลเซียส โดยคาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากอากาศที่ค่อนข้างร้อนจัดในช่วงที่ผ่านมา หรืออาจมีกระแสน้ำอุ่นพัดเข้ามาในอ่าวไทย ซึ่งเป็นสาเหตุเดียวกับการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในทะเลฝั่งอันดามัน อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีที่อาศัยอยู่ในปะการังและทำให้ปะการังมีสีสัน หนีออกมาจากปะการัง ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว เช่นเดียวกับกรณีของหอยมือเสือ ซึ่งเป็นหอยที่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของหอย อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้สาหร่ายชนิดนี้หนีออกมาจากเนื้อเยื่อหอย ทำให้เนื้อเยื่อหอยกลายเป็นสีขาว อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดการฟอกขาวแล้วปะการังจะยังไม่ตายทันที แต่จะอ่อนแอและมีชีวิตอยู่ได้อีก 2-3 สัปดาห์ หากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติปะการังจะสามารถปรับสภาพและฟื้นตัวได้ ดังนั้น หากในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าอากาศมีอุณหภูมิลดลง หรือ มีฝนตกลงมาเล็กน้อย จะช่วยให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลง และมีโอกาสที่ปะการังจะกลับมามีชีวิตและสีสันได้อีกครั้ง สำหรับในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ควรลดหรืองดกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยลดมลพิษที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล และให้เวลาปะการังได้มีการปรับตัวกลับคืนสู่สภาพเดิม ข้อมูล/ภาพ จาก ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ เรียบเรียงโดย โครงการ BRT |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Begonia pteridiformis Phutthai ว... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 20 ตุลาคม 2011 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Goniothalamus maewongensis R.M.K. ... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อังคาร, 13 ธันวาคม 2011 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyropygus bearti ชื่อวงศ์ : Ha... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อังคาร, 14 สิงหาคม 2012 |
กิ้งกือเหลืองเท้าส้มThyropygus bispinispatula Pimv... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | ศุกร์, 27 พฤศจิกายน 2009 |
แมงป่องเป็นสัตว์พวกหนึ่งที่มีความมหัศจรรย์ และความ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 4 พฤศจิกายน 2010 |
นมพิจิตร หรือ Hoya parasitica complex เป็นไม้เลื้อ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พุธ, 17 กุมภาพันธ์ 2010 |
ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของชนิดสัตว์ส... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 6 สิงหาคม 2009 |
กลุ่มประชากรของ Begonia integrifolia Dalzell ใบมี... ความหลากหลายทางชีวภาพ | ศุกร์, 27 พฤศจิกายน 2009 |
ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปริมา... ภาวะโลกร้อน | จันทร์, 5 เมษายน 2010 |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไ... ภาวะโลกร้อน | พฤหัสบดี, 27 พฤษภาคม 2010 |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานค... ภาวะโลกร้อน | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
เชื่อหรือไม่ว่า สัตว์ป่าอย่างไก่ฟ้า ก็ได้รับผลกระท... ภาวะโลกร้อน | อังคาร, 15 มิถุนายน 2010 |