ความลับของต้นไม้ |
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการยาวนานกว่า 3,800 ล้านปี สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยแทบไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทางตรงข้าม กลับเป็นที่พึ่งของสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากมาย รวมทั้งมนุษย์ด้วย พืชมีความต้องการด้านอาหาร และพลังงาน เช่นเดียวกับมนุษย์ แต่พืชกลับไม่เคยเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น หรือทิ้งของเสียไว้จากกระบวนการให้ได้มาซึ่งอาหารและพลังงาน ด้วยความลับที่พืชสร้างสรรค์ขึ้นมาเหล่านี้ อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาหลายประการที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ เช่น ปัญหาการขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาด การหาพลังงานทดแทน การลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น ลองมาดูกันสิว่า พืชได้เก็บความลับอะไรไว้บ้าง??? ความลับของใบไม้ - เทคนิคการสร้างพลังงาน โดยปกติพืชจะใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ยิ่งใหญ่ แต่บางครั้งก็อาจประสบปัญหาการรับแสงอาทิตย์ เช่น พืชที่อยู่ในที่ร่ม มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะพืชกลุ่มบอน พืชเหล่านี้จะมีการพัฒนาเม็ดสี หรือ พัฒนาตัวรับแสงให้มีลักษณะคล้ายเลนส์เพื่อรวบรวมแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น - เทคนิคการลำเลียงน้ำ แม้ว่าเส้นทางลำเลียงน้ำสายหลัก หรือ เส้นกลางใบจะถูกทำลาย แต่ใบไม้ยังสามารถลำเลียงน้ำผ่านเส้นใบเส้นเล็กที่มีอยู่ทั่วทั้งใบ จนสามารถลำเลียงน้ำไปสู่ปลายใบได้สำเร็จ - เทคนิคการรวบรวมน้ำ หรือ Lotus effect การที่ขนขนาดเล็กๆ จำนวนมากบนผิวใบ ทำให้สิ่งสกปรกสามารถถูกชะล้างไปได้ด้วยน้ำ เทคนิคดังกล่าวถูกนำไปพัฒนาเป็นสีทาบ้าน ที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้เพียงแค่ล้างด้วยน้ำ ความลับของลำต้น - เทคนิคการส่งน้ำจากรากสู่ยอด ต้นไม้มีระบบปั๊มน้ำชั้นเลิศ สังเกตจากต้นไม้ที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงมากกว่า 100 เมตร แต่ยังสามารถลำเลียงน้ำจากรากขึ้นไปสู่เรือนยอดได้ ความลับของดอกไม้ - เทคนิคการหีบห่อ กลีบดอกไม้ได้ชื่อว่าเป็นส่วนที่บอบบางมากที่สุด แต่แม้ว่าจะถูกอัดแน่นอยู่ในดอกตูม เมื่อบานออกกลีบดอกไม้ก็ไม่เคยขาด และบางชนิดยังสามารถบานแล้วหุบ หุบแล้วบานได้อีกหลายรอบ โดยที่กลีบดอกไม้ก็ยังสวยมากดีอยู่ เทคนิคนี้ถูกนำไปปรับใช้กับอุปกรณ์ในอวกาศ โดยก่อนที่จะถูกส่งออกไปนอกโลกจะมีขนาดเล็ก เพื่อประหยัดพลังงานในการส่งออก แต่เมื่ออยู่ในอวกาศแล้ว อุปกรณ์จะค่อยกางออกอย่างสวยงาม เหมือนกับการบานของกลีบดอกไม้ - เทคนิคการหันตามดวงอาทิตย์ จากแนวคิดการหันตามดวงอาทิตย์ของดอกทานตะวัน ได้ถูกนำไปปรับใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการรับแสงอาทิตย์ ให้สามารถหันตามดวงอาิทิตย์ได้ เพื่อรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน ความลับของผลและเมล็ด - เทคนิคการบรรจุภัณฑ์ ผลไม้หลายชนิดมีเปลือกที่แข็ง แม้จะตกลงมาจากต้นที่อยู่สูง เมล็ดบางชนิดก็ไม่แตกออก แนวคิดนี้จึงถูกนำไปพัฒนาสู่การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง - ผิวสัมผัสแบบ Velcro เมล็ดของพืชบางชนิด เช่น หญ้าเจ้าชู้ สามารถเกาะติดไปกับวัตถุที่สัมผัสได้ ทั้งเสื้อผ้า หรือขนสัตว์ องค์ประกอบที่ทำให้เมล็ดเหล่านี้ติดกับวัตถุได้คือ ตะขอเล็กๆ ที่อยู่บนผิวของเมล็ด เทคนิคนี้ถูกนำไปใช้พัฒนาแผ่นติดตีนตุ๊กแก หรือ Velcro ที่มีใช้กันทั่วไป - เทคนิคการกระจายตัวของเมล็ด พืชหลายชนิดใช้ลมเป็นพาหะในการกระจายเมล็ดพันธุ์ เช่น หญ้าลอยลม เทคนิคนี้ถูกนำไปดัดแปลงเป็นหุ่นยนต์สำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ความลับของทุ่งหญ้าและป่าใหญ่ - ปฏิกิริยาที่พืชสร้างขึ้นทั้งหมด เกิดขึ้นอุณหภูมิปกติ - เป็นปฏิกิริยาที่ไม่ใช้สารเคมี - มีของเสียที่เกิดจากปฏิกิริยาน้อย - ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และให้ประโยชน์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ควรนำเทคนิคต่างๆ ของพืชมาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษยชาติ
ที่มา การเสวนาเรื่อง "อัจฉริยะธรรมชาติ สร้างสรรค์เทคโนโลยี" หัวข้อ "ค้นหาความลับของพืช..นวัตกรรมชั้นยอดแด่มนุษยชาติ โดย ดร.วิษุวัต สงนวล คณะวิทยาศาสตร์ มหา่วิทยาลัยมหิดล และเอกสารแจก เรื่อง มหัศจรรย์ของธรรมชาติ ในนิทรรศการ "อัจฉริยะธรรมชาติ สร้างสรรค์เทคโนโลยี" งานเปิดตัวนิทรรศการ "อัจฉริยะธรรมชาติ สร้างสรรค์เทคโนโลยี" วันที่ 21 เมษายน 2553 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudocalotes khaonanensis Chan-... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 15 มีนาคม 2012 |
Goniothalamus aurantiacus R.M.K.Saunders & Chalerm... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | ศุกร์, 27 พฤศจิกายน 2009 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyropygus bearti ชื่อวงศ์ : Ha... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อังคาร, 14 สิงหาคม 2012 |
หากจะกล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ และการเกิดสิ่งมีชีวิต... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 16 กรกฏาคม 2009 |
จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีตั๊กแตนผีระบาดหนัก ใ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 15 กันยายน 2009 |
หอยหอม (cyclophorid snails) เป็นหอยทากบกกลุ่มที่ม... ความหลากหลายทางชีวภาพ | ศุกร์, 27 พฤศจิกายน 2009 |
งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ที่เป็... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 16 กุมภาพันธ์ 2010 |
ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของชนิดสัตว์ส... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 6 สิงหาคม 2009 |
เชื่อหรือไม่ว่า สัตว์ป่าอย่างไก่ฟ้า ก็ได้รับผลกระท... ภาวะโลกร้อน | อังคาร, 15 มิถุนายน 2010 |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานค... ภาวะโลกร้อน | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไ... ภาวะโลกร้อน | พฤหัสบดี, 27 พฤษภาคม 2010 |
ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปริมา... ภาวะโลกร้อน | จันทร์, 5 เมษายน 2010 |