ผลงานวิจัยบ่งชี้ว่า สาหร่ายใบมะกรูดดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าต้นไม้ 5 เท่า |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสนับสนุนของโครงการ BRT เปิดเผยข้อมูลประโยชน์ของสาหร่ายทะเล ไม่ใช่เพียงแค่อาหารของสัตว์น้ำทะเล หรืออาหารของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังพบศักยภาพในการช่วยลดโลกร้อนได้ โดยสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าต้นไม้ประมาณ 5 เท่า โดยที่คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับไว้จะไม่ถูกปล่อยกลับคืนสู่น้ำทะเลหรือบรรยากาศ แต่จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นหินปูนและทรายในที่สุด สาหร่ายใบมะกรูด (Halimeda) เป็นสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ พบอยู่ตามแนวชายฝั่ง บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ที่มีพื้นเป็นหาดทราย หรือซากปะการัง ลักษณะพิเศษของสาหร่ายใบมะกรูดคือ เป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนตไว้ที่ทัลลัส หรือ ส่วนคล้ายใบ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ สีเขียวเรียงต่อกันคล้ายกับใบมะกรูด บริเวณปลายของทัลลัสมีการสร้างทัลลัสอันใหม่ และจะเริ่มมีการสะสมแคลเซียมคาร์บอเนตภายหลังจากทัลลัสใหม่เจริญอย่างสมบูรณ์ หรือประมาณ 36 ชั่วโมง โดยปกติสาหร่ายใบมะกรูดจะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ คือการสร้างทัลลัสใหม่ขึ้นไปบนขอบของทัลลัสเดิม และเมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะเปลี่ยนเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กจำนวนมากที่ปลายทัลลัส เมื่อปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกไปหมด สาหร่ายใบมะกรูดต้นนั้นนี้ก็จะตายลงทันที ส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนตที่สะสมไว้จะกลายเป็นเมล็ดทราย สาหร่ายใบมะกรูด (Halimeda) จากการศึกษาวิจัยพบว่าสาหร่ายใบมะกรูดสามารถดึงคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำมาใช้ประมาณ 2,400 ตันต่อเฮคแตร์ต่อปี จึงมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายอยู่ในน้ำทะเลมีปริมาณลดลง และยังมีบทบาทในการช่วยหมุนเวียนธาตุคาร์บอนจากอากาศกลายเป็นเม็ดทราย โดยปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่สาหร่ายใบมะกรูดสะสมไว้ประมาณ 109.5 ตันต่อเฮคแตร์ต่อปี จะสลายกลายเป็นเม็ดทรายจำนวนมากเมื่อสาหร่ายใบมะกรูดตาย ซึ่งจะทำให้เกิดหาดทรายขาวที่สวยงาม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fibuloides khaonanensis Pinkaew,... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | ศุกร์, 24 กุมภาพันธ์ 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diaphera prima Panha, 2010 วงศ... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 17 พฤษภาคม 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthomorpha communis Likhitrakar... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 24 พฤษภาคม 2012 |
นายณัฐดนัย ลิขิตตระการ และ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาค... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เป็นอุทยานที่มีสภาพภูมิ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | ศุกร์, 18 กันยายน 2009 |
สาหร่ายทะเล (seaweed) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชชั้นต่ำ ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พุธ, 7 เมษายน 2010 |
ช่วงหน้าฝนอย่างนี้อะไรก็งอกงามไปหมด ไม่เว้นแม้แต่ว... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 29 มิถุนายน 2010 |
หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | จันทร์, 25 พฤษภาคม 2009 |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไ... ภาวะโลกร้อน | พฤหัสบดี, 27 พฤษภาคม 2010 |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานค... ภาวะโลกร้อน | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
เชื่อหรือไม่ว่า สัตว์ป่าอย่างไก่ฟ้า ก็ได้รับผลกระท... ภาวะโลกร้อน | อังคาร, 15 มิถุนายน 2010 |
ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปริมา... ภาวะโลกร้อน | จันทร์, 5 เมษายน 2010 |