RocketTheme Joomla Templates
ความแตกต่างแปรผันของนมพิจิตร หรือ โฮย่า พาราซิติก้า PDF พิมพ์ อีเมล

นมพิจิตร หรือ Hoya parasitica complex เป็นไม้เลื้อยอิงอาศัย ที่จัดอยู่ในวงศ์ Asclepiadaceae พืชชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในประเทศไทย แต่ยังมีสถานะทางอนุกรมวิธานไม่ชัดเจน เนื่องจากมีความแปรผันของขนาด รูปร่าง สีของใบและดอกสูงมาก

พื้นที่พบนมพิจิตร กระจายอยู่ทั่วประเทศ

 

ใบ มีความแตกต่างกัน ทั้งใบกว้าง มีเส้นใบเรียงจากฐานใบ 5 เส้น และใบแคบ มีเส้นใบเรียงจากฐานใบ 3 เส้น นอกจากนี้ยังมีลักษณะการเรียงของใบแตกต่างกัน มีทั้งใบเรียงตัวแบบตรงข้าม และใบเรียงตัวรอบข้อ

เส้นใบ 5 เส้น             เส้นใบ 3 เส้น                ใบเรียงแบบตรงข้าม                   ใบเรียงแบบรอบข้ิอ

ดอก มีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะสีของดอก

จากการศึกษาทางสัณฐานวิทยาและดีเอ็นเอประกอบกัน สรุปได้ว่า Hoya parasitica complex ที่มีลักษณะแตกต่างกันเป็นลักษณะของความแปรผันที่เกิดขึ้นจาก ลักษณะร่วมของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุสำคัญ ซึ่งความแปรผันที่เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรยังไม่แตกต่างกันมากพอที่จะจัดแยกให้เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ได้ จึงยังคงใช้ชื่อ  เหมือนกันทุกแบบ

ข้อมูล/ภาพ โดย ผศ.ดร.รสริน พลวัฒน์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


สุดยอดช๊อดเด็ด
เรามี 39 บุคคลทั่วไป ออนไลน์