RocketTheme Joomla Templates
เถาวัลย์หลง เมตตามหานิยม ที่แท้เป็นราของเห็ด PDF พิมพ์ อีเมล

เถาวัลย์หลง  เครือสาวหลง  เครือเขาหลง เครือเถาหลง เป็นชื่อของวัตถุมงคลที่เชื่่อกันว่าช่วยในเรื่องของเสน่ห์เมตตามหานิยม เถาวัลย์นี้จัดเป็นของอาถรรพ์ทางธรรมชาติที่หายาก มักจะพบในป่าลึก เชื่อกันว่าเครือเถาหลงนี้จะอยู่หน้าทางเข้าเมืองลับแลเพื่อป้องกันทางเข้าเมืองลับแล ถ้าใครข้ามเถาวัลย์นี้จะหลงงงงวย แม้แต่นกที่บินผ่านต้นไม้ที่มีเถาวัลย์นี้ ก็จะหลงอยู่ในต้นไม้ ไปไหนไม่ได้ ต้องตายอยู่ใต้ต้น

ตะกรุดเถาวัลย์หลงสองแบบ (จำลอง)


เรื่องนี้อาจฟังดูเป็นเรื่องลี้ลับของไสยศาสตร์ แต่จริงๆ แล้ว วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ได้ว่า แท้จริงแล้วเถาวัลย์หลงนี่คืออะไร

เส้นสายที่โยงไปมาระหว่างต้นไม้ใหญ่ในป่า ที่เชื่อว่าเป็นเถาวัลย์หลง จริงๆ แล้วคือ รากเทียม หรือ สิ่งที่รูปร่างคล้ายราก หรือ ไรโซมอฟ (Rhizomorph) ของเห็ดชนิดหนึ่ง ชื่อ เห็ดแส้ม้า (Marasmius) เห็ดในกลุ่มย่อยสลายใบไม้ กิ่งไม้ ซากพืชตามธรรมชาติ

เห็ดแส้ม้า (Marasmius)

ไรโซมอฟ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ตั้งแต่ 0.2-1 มิลลิเมตร ลักษณะเหนียว หลายสี ตั้งแต่สีดำ น้ำตาล สีทอง แต่ส่วนมากจะพบสีดำ ด้วยลักษณะพิเศษที่มีความเหนียว ไม่อุ้มน้ำเพราะมีพื้นผิวมันวาว ลื่นแต่ไม่มีเมือกปกคลุม ทำให้เส้นเหล่านี้สามารถเจริญไปตามที่ต่างๆ และดำรงชีวิตได้ตลอดปี มักจะเจริญเกี่ยวพันเหนือพื้นดินบริเวณที่มีเศษซากใบไม้ กิ่งไม้ หรือพันระหว่างต้นไม้เป็นร่างแหรองรับเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้น  ไรโซมอฟจะสร้างเส้นใยขนาดเล็กออกมาเชื่อมติดกับซากพืช และปล่อยเอนไซม์ออกมาเพื่อย่่อยสลายซากพืชซึ่งเป็นอินทรีย์วัตถุชนิดหนึ่งเป็นอาหาร

เห็ดแส้ม้าจะสามารถเจริญได้ตลอดทั้งปี ต่างจากเห็ดชนิดอื่นๆ ที่จะเจริญได้ดีในฤดูฝนเท่านั้น แต่การเจริญเติบโตของเห็ดแส้ม้าในฤดูอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฤดูฝน จะมีเฉพาะส่วนของไรโซมอฟเท่านั้น เมื่อฤดูฝนมาเยือนจึงจะพบดอกเห็ดแส้ม้าเจริญขึ้นบนไรโซมอฟ

ข้อมูลจาก : ธิติยา บุญประเทือง และ พัชราภา ปุยเงิน

ภาพจาก : โครงการ BRT

 

 


สุดยอดช๊อดเด็ด
เรามี 240 บุคคลทั่วไป ออนไลน์