RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


โครงการ BRT เชิญร่วมกิจกรรมประกวดสื่อเผยแพร่ PDF พิมพ์ อีเมล

เชิญชวนผู้มีจินตนาการ

ร่วมจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้แนวทางใหม่

กับกิจกรรมประกวดสื่อเผยแพร่

 

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย :

ประกาศไว้ให้โลกรู้

 

--------------------------------------------------------

สิ่งประดิษฐ์ / โมเดล / หุ่นยนต์ / แอนนิเมชั่น / วีดีโอ พรีเซนเทชั่น / สารคดี / หนังสั้น / มัลติมีเดีย / ชุดจำลองระบบนิเวศ / ชุด interactives ฯลฯ

คุณจะทำอะไรก็ได้ เพื่อสื่อสารความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

ให้ดึงดูดความสนใจของผู้ชม เข้าใจง่าย

อย่าปล่อยโอกาสให้หลุดมือ !!

ากคุณมีไอเดียการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ อย่ารอช้า

เพียงส่งแค่ใบสมัคร และนำเสนอแนวคิดการสร้างสื่อเผยแพร่แนวใหม่ที่โดนใจเรา

ท่านจะได้รับทุนสนับสนุนในการจัดทำสื่อทั้งหมด

ผลงานที่แปลก แหวกแนว ชวนให้เรียนรู้ และทรงคุณค่าทางวิชาการมากที่สุด

จะได้รั รางวัลชนะเลิศ "ประกาศให้ก้องโลก"

รางวั

รางวัลชนะเลิศ "ประกาศให้ก้องโลก" เงินสด 30,000 บาท พร้อมค่าเดินทางและที่พักในการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 โล่เชิดชูเกียรติ และประกาศนียบัตร

รางวัล คุณกล้าทำ เรากล้าให้ เงินสด 10,000 บาท พร้อมค่าเดินทางและที่พักในการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 และประกาศนียบัต

รางวัล Popular vote เงินสด 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัต

และ รางวัลพิเศษ รางวัลแต่งกายประกอบชิ้นงานดีเด่น เงินสด 1,000 บาท

ดูรายละเอียดเพิ่มเติ

ดาวน์โหลดใบสมั

และส่งใบสมัครกลับมาที่อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ตั้แต่วันนี้ 30 พฤษภาคม นี้

 
โครงการ BRT ขอเชิญร่วมประกวดภาพถ่ายความหลากหลายทางชีวภาพ PDF พิมพ์ อีเมล

โครงการ BRT ขอเชิญร่วมประกวดภาพถ่าย สุดยอดช็อตเด็ด :

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

Best Shot : Thai Biodiversity

 

เนื่องในโอกาสปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

และ ครบรอบ 15 ปีโครงการ BRT

ประเภทการประกวดแบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่  ภาพถ่ายสัตว์, พืช และเห็ดรา, สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ, ระบบนิเวศ,

ภาพสะท้อนมุมมองใหม่, วิถีชีวิต, สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ (endangered species)

 

โดยส่งผลงานภาพถ่ายเป็นไฟล์ดิจิตอล ขนาด 2,100 x 1,400 pixel ในรูปแบบของ JPEG

ส่งภาพได้สูงสุด 10 ภาพต่อหนึ่งท่าน  ภาพ 1 ภาพส่งประกวดได้แค่เพียง 1 ประเภทเท่านั้น

ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยผ่านการเผยแพร่บนสื่อที่ใดมาก่อน และไม่เคยส่งเข้าการประกวดที่ใดมาก่อน

ต้องเป็นภาพที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี

ต้องเป็นภาพที่ถ่ายในประเทศไทยเท่านั้น

 

รางวัล

รางวัลสุดยอดช็อตเด็ด: 15,000 บาท 1 รางวัล พร้อมโล่เกียรติยศ และประกาศนียบัตร

รางวัลยอดเยี่ยมแต่ละประเภท : รางวัลละ 10,000 บาท  รวม  7 รางวัล  พร้อมประกาศนียบัตร

รางวัลชมเชยแต่ละประเภท : รางวัลละ  2,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

 

ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจะถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ด : ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ และครบรอบ 15 ปีโครงการ BRT ในการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 ในเดือนตุลาคม 2553

 

ผู้สนใจกรุณาส่งใบสมัคร ได้ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่  31  พฤษภาคม  2553 ที่อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ดาวน์โหลดใบสมัคร หรือ ลงทะเบียนออนไลน์ที่นี่

กดที่นี่เพื่ออ่านเกณฑ์การประกวดและรายละอียดเพิ่มเติม

 
2010 เฮือกสุดท้ายก่อนสูญสิ้นความหลากหลายทางชีวภาพ PDF พิมพ์ อีเมล

จากบทสัมภาษณ์ของ ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการ BRT ที่กล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ของประเทศไทย ความสมบูรณ์ที่กำลังใกล้จะสูญสิ้น ความเสื่อมถอยของความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ จนสหประชาชาติต้องประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" บอกให้รู้ว่านี้คือ เฮือกสุดท้ายแล้ว ก่อนที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสูญสิ้นไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน คอลัมน์วิทยาศาสตร์ ประจำวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์

 

 

เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์  http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000027571

 

 

 
หอยกะพงเทศบุกทะเลสาบสงขลา PDF พิมพ์ อีเมล

 

 
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ส่อแวววิกฤต หอยกะพงเทศระบาด หวั่นทำลายระบบนิเวศ กระทบธุรกิจประมง


นักศึกษา มอ. พบหอยกะพงเทศ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นจากทวีปอเมริกา ชนิดเดียวกับที่ระบาดในหลายประเทศ เผยขณะนี้กำลังระบาดในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หาดแก้วลากูน ท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา ระบาดหนัก และกำลังแพร่กระจายเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา ระบุหากไม่มีมาตรการป้องกันและกำจัดอาจจะส่งผลเสียหายต่อระบบนิเวศ และเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

 นางสาวกริ่งผกา วังกุลางกูร นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทำการศึกษาวิจัยการแพร่ระบาดของหอยกะพงเทศ ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ได้มีการสำรวจพบหอยสองฝาชนิดหนึ่งเกาะกลุ่มหนาแน่นบริเวณหาดแก้วลากูน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับปากทะเลสาบสงขลา และ ท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา หลังผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานหอยสองฝาวิเคราะห์ ระบุว่าเป็น หอยกะพงเทศ (Mytilopsis adamsi Morrison, 1946) สัตว์น้ำต่างถิ่นที่มีแหล่งกำเนิดในตอนกลางของทวีปอเมริกาด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค

 “หอยกะพงเทศ เป็นหอยสองฝาที่มีต้นกำเนิดในตอนกลางของทวีปอเมริกา แต่มีการแพร่กระจายพันธุ์ รุกรานไปในประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่น เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับการแพร่กระจายนั้น คาดว่าน่าจะติดมากับน้ำในถังอับเฉาเรือเดินสมุทรที่มีตัวอ่อนของหอยกะพงเทศเจริญเติบโตอยู่ หรือจากตัวเต็มวัยที่เกาะติดมากับตัวเรือ และได้มาแพร่พันธุ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณหาดแก้วลากูน เป็นบริเวณอยู่ใกล้กับท่าเรือน้ำลึก” น.ส.กริ่งผกา กล่าว

จากการศึกษาวิจัยการแพร่กระจาย และการดำรงชีวิตของหอยกะพงเทศ พบว่าเป็นหอยที่ทนทานต่อความเค็มและอุณหภูมิได้ในช่วงกว้าง รวมทั้งทนต่อมลภาวะได้ดี และมีความสามารถในการสร้างกลุ่มประชากรหนาแน่นซึ่งเป็นการกำจัดสิ่งมีชีวิตพวกเกาะติดอื่นๆ และนอกจากนี้ยังสามารถยึดเกาะได้บนทุกพื้นผิววัสดุที่จมน้ำ  ดังนั้นการครอบครองพื้นที่ของหอยกะพงเทศจึงสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของระบบนิเวศ และปัญหาทางเศรษฐกิจ

น.ส. กริ่งผกา กล่าวต่อว่า จากการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ชายฝั่งของทะเลสาบสงขลา (ทะเลสาบตอนล่าง) และพบหอยกะพงเทศจำนวนมากที่บริเวณปากคลองวง บ้านบ่ออ่าง และตำบลสทิงหม้อ แสดงให้เห็นว่าขณะนี้หอยกะพงเทศได้รุกรานเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาแล้ว

นอกจากนี้ จากการศึกษาความแปรผันของการเข้าสู่พื้นที่บริเวณหาดแก้วลากูน พบช่วงที่หอยกะพงเทศขยายพันธุ์ และเพิ่มจำนวนประชากร 2 ช่วงในรอบปี คือ ช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนมกราคม โดยมีความสัมพันธ์กับความเค็มของน้ำ และความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชที่เป็นอาหารของหอยกะพงเทศ  หากน้ำมีความเค็มต่ำ และมีแพลงก์ตอนพืชจำนวนมาก หอยกะพงเทศมีขยายพันธุ์และมีความหนาแน่นของประชากรหอยมากขึ้น การลงเกาะของหอยกระพงเทศจะเกาะกลุ่มหนาแน่นบนพื้นดิน เลน หรือวัสดุจมน้ำ จึงจำกัดการลงเกาะของสิ่งมีชีวิตเกาะติดชนิดอื่นๆ ก่อให้เกิดปัญหาต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของระบบนิเวศ นอกจากนี้ การลงเกาะบนตาข่ายกระชัง และเครื่องมือประมงของชาวบ้าน ยังทำให้เกิดปัญหากระแสน้ำไม่หมุนเวียนและทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องมือประมงลดลง อาจส่งผลถึงปัญหาทางเศรษฐกิจในบริเวณดังกล่าว

ทั้งนี้ จากข้อมูลการศึกษาชีววิทยาของหอยกะพงเทศ คาดว่ามีความน่าจะเป็นที่จะเกิดการระบาดของหอยกะพงเทศในทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรทางการประมงที่สำคัญของคนในท้องถิ่นได้ ดังนั้นหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมประชากรหอยกะพงเทศ ก่อนจะเกิดการระบาดอย่างรุนแรง และสายเกินแก้ไข โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชีววิทยาพื้นฐานของหอยกะพงเทศ ซึ่งจะข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นชนิดนี้ต่อไป

 

อ่านข่าวนี้เพิ่มเติมได้ที่ :

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์  วันที่ 15 ก.พ. 53

เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 13 ก.พ. 53
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20100213/100272/ทะเลสาบสงขลาวิกฤติ-หอยกะพงเทศระบาด.html

เว็บไซต์ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 12 ก.พ. 53
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255302120227&tb=N255302&return=ok

 
สวัสดีปีใหม่ 2010 "ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" PDF พิมพ์ อีเมล

สวัสดีปีใหม่ ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์โครงการ BRT ทุกท่าน ค่ะ

ก่อนอื่นต้องขออวยพรให้ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นแฟนประจำ หรือ ขาจร ที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม อ่านบทความ ข่าวสารดีๆ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในเว็บไซต์ของโครงการ BRT ขอให้มีแต่ความสุขกันตลอดทั้งปีใหม่นี้ ให้ท่านทั้งหลายมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่จน กันทุกคนนะคะ

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี พ.ศ. 2553 หรือ ค.ศ. 2010 ถือเป็นนิมิตหมายอันดีของผู้ที่อยู่ในสายความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะสหประชาชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จนได้ประกาศให้ปีนี้เป็น "ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" หรือ "International Year of Biodiversity" ซึ่งทั่วโลกจะมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ มีการรณรงค์ ให้ความรู้ เพื่อให้ประชาคมโลกได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

ในประเทศไทย ได้มีมติจากคณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ประชาชนเข้าใจคำว่า "ความหลากหลายทางชีวภาพ" กันมากขึ้น เพราะทุกวันนี้คำๆ นี้อาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก

สำหรับโครงการ BRT ซึ่งให้การสนับสนุนการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพมาตลอดระยะเวลา 14 ปี ก็ขอร่วมเฉลิมฉลองด้วย โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ข่าวกิจกรรมในโอกาสต่อๆ ไปค่ะ

ปิดท้ายเรื่องดีๆ เกี่ยวกับปีใหม่และงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยภาพ ส.ค.ส. น่ารักๆ จาก ดร.สุชนา ชวนิชย์ ที่ถ่ายรูปคู่กับเพนกวิน ระหว่างการเดินทางไปทำวิจัยที่แอนตาร์กติก้า

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL