RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกรอบรองชนะเลิศ (BRT The Star ปีที่ 2) PDF พิมพ์ อีเมล

รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกรอบรองชนะเลิศ (BRT The Star ปีที่ 2)

1. นางสาววราลี วิราพร
หัวข้อนำเสนอ : ความหลากหลายของพืชสกุล Ophiorrhiza ความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

2. นางสาวชมชื่น ศิริผันแก้ว
หัวข้อนำเสนอ : แยกลูกช้างป่าออกจากลูกช้างบ้าน และการนำไปใช้ประโยชน์

3. นางสาวกนกอร ศรีม่วง
หัวข้อนำเสนอ : การอนุรักษ์กล้วยไม้สิรินธรเนียที่ใกล้สูญพันธุ์

4. นางสาวพนิตนาท ทันใจ
หัวข้อนำเสนอ : การปลูกป่าด้วยวิธีการหยอดเมล็ด ทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูระบบนิเวศ

5. นางสาวเปมิกา อภิชนังกูร
หัวข้อนำเสนอ : ปลูกหญ้าทะเลอย่างไรให้ยั่งยืน

6. นางอัจฉรา ซิ้มเจริญ
หัวข้อนำเสนอ : เรื่องเล่าและประสบการณ์การทำงานวิจัยเสือโคร่ง


อย่าลืมไปให้กำลังใจผู้เข้าร่วมประกวด BRT The Star ปีที่ 2 ในรอบชนะเลิศในงานประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14
วันที่ 10-12 ตุลาคม 2553 โรงแรม สุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี นะคะ..

 
ประกาศผลการประกวดภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ดความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย PDF พิมพ์ อีเมล

ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่านในการประกวดสุดยอดช็อตเด็ดความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

จากภาพถ่ายที่ส่งเข้าร่วมประกวดทั้งหมดประมาณ 445 ภาพ ทางคณะกรรมการฯ ค่อยๆ คัดเลือกจนเหลือ 27 ภาพที่ได้รางวัล  ภาพที่ส่งเข้าร่วมประกวดมากที่สุดเป็นภาพในกลุ่มสัตว์ถึง 161 ภาพ จึงทำให้การคัดเลือกภาพที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทสัตว์ เพิ่มจากที่กำหนดไว้เดิม 1 ภาพ เป็น 5 ภาพ ส่วนภาพในบางประเภท คณะกรรมการฯ เห็นว่า ไม่มีภาพใดได้รับรางวัล

คณะกรรมการฯ
1. นายวรนันทน์  ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ด้านภาพถ่าย
2. รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ  หาญสืบสาย หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางการถ่ายภาพและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ นักวิชาการ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ผศ.ดร.รสริน พลวัฒน์ นักวิชาการ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT  เลขานุการฯ

ภาพทั้ง 27 ภาพที่ได้รางวัลจะนำไปจัดนิทรรศการ “สุดยอดช็อตเด็ดความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย” ในระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2553 การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14  โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี  และจะได้รับการตีพิมพ์ใน BRT Magazine ไปชมกันให้ได้นะคะ

พบการประกวดเช่นเดียวกันนี้ในปีหน้าแน่นอนค่ะ
ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT

ประกาศผลการประกวดภาพถ่าย
สุดยอดช็อตเด็ดความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

 
ขอความร่วมมือส่งบทคัดย่อและภาพถ่ายงานวิจัย PDF พิมพ์ อีเมล

ขอให้หัวหน้าโครงการวิจัยและนักศึกษารับทุนโครงการวิทยานิพนธ์ที่โครงการอยู่ในระหว่างการดำเนินงานหรือเสร็จสิ้นแล้วไม่เกิน 2 ปี ส่งบทคัดย่อและภาพถ่ายงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2553 ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 บทคัดย่องานวิจัย

1. ให้เขียนเป็นภาษาไทยเท่านั้น เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวงกว้าง

2. พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 เท่านั้น ใช้แบบอักษร Cordia New ความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด (เฉพาะส่วนเนื้อหา) และตั้งขอบกระดาษ (margin) 3 เซนติเมตร ทั้ง 4 ด้าน

3. บทคัดย่อพิมพ์ต่อเนื่องกันเป็น 1 บท ไม่ต้องมีย่อหน้าใหม่ โดยต้องมีส่วนต่างๆ ตามลำดับดังนี้
       ส่วนที่ 1 :  ชื่อเรื่อง ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเข้ม โปรดระบุชื่อเรื่องทั้ง 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ
       ส่วนที่ 2 : ชื่อคณะวิจัย ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวเข้ม  ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อและตำแหน่ง ขีดเส้นใต้ชื่อผู้วิจัยหลัก ใช้ตัวเลขเป็นตัวยก (superscript) กำกับชื่อผู้วิจัย หากผู้วิจัยมาจากหลายหน่วยงาน
       ส่วนที่ 3 : สถานที่ทำงานและที่อยู่ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวเอน ใช้ตัวเลขเป็นตัวยก (superscript) หากมีหน่วยงานร่วมทำวิจัยหลายหน่วยงาน  ให้ใส่เฉพาะชื่อสถาบัน จังหวัด รหัสไปรษณีย์ และให้ใส่
ที่อยู่อีเมลของผู้วิจัยหลักด้วย
       ส่วนที่ 4 : เนื้อหาบทคัดย่อ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ  พิมพ์ไม่เว้นบรรทัด โดยเนื้อเรื่องสั้นกระชับได้ใจความเกี่ยวกับผลงานวิจัยในภาพรวม ผลงานวิจัยเด่น และแนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์

4. โปรดตรวจสอบตัวสะกด การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ตรวจสอบข้อมูลและรูปแบบ (format) ให้ถูกต้องก่อนส่ง หมดเขตส่งบทคัดย่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2553

ตัวอย่างการเขียนบทคัดย่อ


ภาพถ่ายงานวิจัย

ให้ส่งรูปภาพจากงานวิจัยที่มีความสวยงาม หรือมีคุณค่าทางวิชาการเพื่อนำมาใช้ประกอบในหนังสือและเอกสารเผยแพร่ที่โครงการ BRT จะจัดทำขึ้น เช่น หนังสือรายงานประจำปีโครงการ BRT และ BRT Magazine โดย

1. ส่งไฟล์ภาพดิจิตอล จำนวน 5 ภาพ (JPEG หรือ TIFF) โดยคัดเลือกภาพที่มีความสวยงามและมีความละเอียดสูง (ขนาดภาพไม่ต่ำกว่า 1 เมกกะไบท์)

2. ส่งไฟล์คำบรรยายภาพดังตัวอย่าง (word document)

ตัวอย่างการเขียนคำบรรยายภาพ

ชื่อไฟล์ภาพ : polyp.jpg
วันที่ถ่าย : 01-05-51
สถานที่ถ่าย : เกาะแสมสาร จ.ชลบุรี
ผู้ถ่าย : ชโลทร รักษาทรัพย์
รายละเอียด : โพลิบแรกเริ่มของตัวอ่อนปะการัง Acropora humilis ที่มีอายุเพียง 7 วัน หลังจากลงเกาะอย่างสมบูรณ์  การที่ตัวอ่อนมีสีขาวเนื่องมาจากยังไม่ปรากฎสาหร่ายซูแซนเทลลีเข้ามาอยู่ร่วมอาศัยในเนื้อเยื่อ

โปรดส่งบทคัดย่อและภาพถ่ายงานวิจัยมาที่ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2553

 
การขอทุนสนับสนุนการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 PDF พิมพ์ อีเมล

ในปีนี้โครงการ BRT ได้จัดสรรทุนสนับสนุนการเข้าร่วมประชุมฯ เป็น 2 ประเภทคือ ทุนสำหรับผู้รับทุนโครงการ BRT และทุนสำหรับครู นักศึกษาที่ไม่ได้รับทุนจากโครงการ BRT และชุมชน

ู้สนใจโปรดอ่านเกณฑ์การขอเงินสนับสนุน และลงทะเบียนขอทุนภายในวันที่ 15 สิงหาคมนี้  

เกณฑ์สำหรับผู้รับทุนโครงการ BRT

กณฑ์สำหรับครู นักศึกษาที่ไม่ได้รับทุนโครงการ BRT และชุมชน

ลงทะเบียน


       
อบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT โทรศัพท์ 0-2644-8150-4 ต่อ 513 และ 532 อีเมล์ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

 
ประกาศรายชื่อภาพที่เข้ารอบ 50 ภาพสุดท้าย PDF พิมพ์ อีเมล

โครงการประกวดภาพถ่าย "สุดยอดช็อตเด็ด : ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย" ขอประกาศรายชื่อภาพถ่ายที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบ 50 ภาพสุดท้าย โดยผู้ที่เป็นเจ้าของภาพดังกล่าวจะต้องจัดส่ง TIFF file ขนาดใหญ่ที่สุด มายังโครงการ BRT ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาภาพอีกครั้งก่อนการประกาศผลรางวัลชนะเลิศในวันที่ 30 กรกฎาคม 2553

 

 

ลำดับที่ ชื่อภาพ ประเภท ผู้ส่ง
1 ชุ่มฉ่ำยามฝนพรำ พืชและเห็ดรา กัลยา  รักศิลป์
2 ขนุนดิน พืชและเห็ดรา เฉลิม  อัชชมานะ
3 เห็ดแห่งป่าดิบชื้น พืชและเห็ดรา ณัฐพิชญ์  ศรีลีอรรณพ
4 ผุดขึ้นมารับแสงตะวัน พืชและเห็ดรา ทวีศักดิ์  บุทธรักษา
5 อิงอาศัย พืชและเห็ดรา หรรษา  ตั้งมั่นภูวดล
6 ศิลปะแห่งการต่อสู้ ภาพสะท้อนมุมมองใหม่ พิชชาพร  พฤกษ์รัสมีพงศ์
7 ศิลปะแห่งธรรมชาติ ภาพสะท้อนมุมมองใหม่ พิชชาพร  พฤกษ์รัสมีพงศ์
8 กระต่าย? ภาพสะท้อนมุมมองใหม่ วงค์พันธ์  พรหมวงศ์
9 มุมมองศิลปะ ภาพสะท้อนมุมมองใหม่ วินนิวัตร ไตรตรงสัตย์
10 reflex ภาพสะท้อนมุมมองใหม่ สุรศักดิ์  เจียมทรัพย์
11 ค้อเชียงดาว...พืชหายาก ระบบนิเวศ ทวีศักดิ์  บุทธรักษา
12 เขียวขจี ที่เหวนรก ชั้น 3 ระบบนิเวศ นรินทร์  แสไพศาล
13 อุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศ พิชชาพร  พฤกษ์รัสมีพงศ์
14 กับดักธรรมชาติ ระบบนิเวศ ลลิตา  ปัจฉิม
15 มหัศจรรย์กุหลาบขาวแห่งดอยเชียงดาว ระบบนิเวศ วินนิวัตร ไตรตรงสัตย์
16 วิถีชีวิตกับความผูกพัน วิถีชีวิต วิเชียร  จันวงษา 
17 ชีวิตกับสายน้ำ วิถีชีวิต หรรษา  ตั้งมั่นภูวดล
18 กรีดยาง วิถีชีวิต อาหามะ  สารีมา
19 ความกลมกลืนกับธรรมชาติ สัตว์ กนกอร  ศรีม่วง
20 รอป้อน สัตว์ จตุพร  คุปตะสิน
21 มดแดงจอมพลัง สัตว์ จักริน  คงเจริญ
22 ด้วงไทรโลไบท์ สัตว์ เฉลิม  อัชชมานะ
23 กลับรัง สัตว์ ชยทัต  หลักดี
24 หอยลาย สัตว์ ณัฐพงศ์  วงษ์ชุ่ม
25 อาหารเช้า สัตว์ ณัฐพงศ์  วงษ์ชุ่ม
26 ตำนานบึงบอระเพ็ด สัตว์ ณัฐพิชญ์  ศรีลีอรรณพ
27 อดทน (เพื่อลูก) สัตว์ ธนาธิป  นพนิชศตนันท์
28 สามัคคีคือพลัง สัตว์ นณณ์  ผาณิตวงศ์
29 วางไข่ สัตว์ นณณ์  ผาณิตวงศ์
30 อุ่นไอรัก สัตว์ ปรัชญา  ชุติภัทรสกุล
31 กลับรัง สัตว์ ปรัชญา  ชุติภัทรสกุล
32 หัวงู สัตว์ ปิยะลาภ ตันติประภาส
33 เพราะเรารักกัน สัตว์ พิเชษฐ์  ผลพิชิต
34 แยกไม่ออก สัตว์ วงค์พันธ์  พรหมวงศ์
35 ป้องกันตัว สัตว์ ศิริวัฒน์  แดงศรี
36 ผูกมัด สัตว์ ศีลาวุธ  ดำรงศิริ
37 คันก้น สัตว์ สุริยะ  มงคลละ
38 ร้อยโทดาวทะเล สัตว์ อนุชิต  ดาราไกร
39 บ้านหนูอยู่ไหน สัตว์ อนุชิต  ดาราไกร
40 ปลาตีนแห่งป่าชายเลน สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ วินนิวัตร ไตรตรงสัตย์
41 อ้าปากกว้างๆซิ สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ สุเมตต์  ปุจฉาการ
42 แถวหน้ากระดาน สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ สุเมตต์  ปุจฉาการ
43 โชว์ตัว สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ โกศล  ศิริวาลย์
44 หัดบิน สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ โกศล  ศิริวาลย์
45 ตุ๊กกายเสือดาว สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ นณณ์  ผาณิตวงศ์
46 กวางผาแห่งกิ่วแม่ปาน สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ บารมี เต็มบุญเกียรติ
47 ขาวปั้น สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ วรชาติ โตแก้ว
48 ปาดตะปุ่มใหญ่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ ศิริวัฒน์  แดงศรี
49 หัวขวานใหญ่สีดำ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ สุภัชญา  เตชะชูเชิด
50 อย่าหนีนะ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธ์ สุเมตต์  ปุจฉาการ

 

 

 

 

 

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL