RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (12-14 ตุลาคม 2554) PDF พิมพ์ อีเมล

การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1
(12-14  ตุลาคม 2554)
ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

“วิจัยทรัพยากรชีวภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนและระบบนิเวศ”

จัดโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
         สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สนับสนุนโดย  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

alt

ดาวน์โหลด ร่างกำหนดการประชุม_update

 

กิจกรรมในงาน


1) การบรรยายพิเศษ

  • ยุทธศาสตร์งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยและโปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ สวทช. โดย ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช.
  • แหล่งเก็บกักคาร์บอนพื้นที่ชายฝั่งและทะเลไทย (blue carbon) เพื่อชุมชนลดสภาวะโลกร้อน โดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานคลัสเตอร์ทรัพยากร ชุมชนชนบท สวทช.
  • Environmental changes and the threats to Thailand's biodiversity โดย Prof David Woodruff Director of UC San Diego’s Sustainability Solutions Institute, USA
  • Chemobiodiversity and its role in mediating plant-animal interactions โดย Dr. Martine Hossaert-Mckey Centre National de la Recherche Scientifique (CNRS), France

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการต่อยอดทางวิทยาศาสตร์ โดยนายประทีป อินแสง  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสวนแสงประทีป จ.น่าน

 

2)  การเสนอผลงานวิจัย
     2.1 ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

  • ชีววิทยาของด้วงเต่าและผีเสื้อดักแด้หัวลิงในการควบคุมเพลี้ยแป้งมะละกอ
  • มุมมองทางชีวฟิสิกส์ต่อพฤติกรรมการเข้าหาอุณหภูมิสูงในจิ้งหรีด
  • การใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติในการประเมินประชากรสัตว์ผู้ล่า

     2.2  การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์

  • การกำจัดคราบน้ำมันปิโตรเลียมโดยใช้ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์  
  • เทคโนโลยีเมตาจีโนมิกส์ในการคัดแยกจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมที่จำเพาะ และการนำไปใช้ประโยชน์
  • การใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

     2.3 แหล่งเรียนรู้ชุมชนและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่น

  • ระบบนิเวศชายฝั่งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนขนอม
  • บทบาทชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพอ่าวทุ่งคา-สวี จ.ชุมพร
  • ศูนย์สิรินารถ แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน

     2.4  ราแมลง : นิเวศวิทยาและสารกำจัดศัตรูพืช

  • จุดประกายการศึกษาราแมลงในประเทศไทย: ความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยา ความเฉพาะเจาะจงกับแมลงเจ้าบ้าน และการนำไปใช้ประโยชน์
  • ความหลากหลายทางชีวภาพของมด พฤติกรรม และความสัมพันธ์กับราแมลง
  • กลไกการเข้าทำลายมดของราแมลง
  • การประยุกต์ใช้ราแมลงควบคุมด้วงหมัดผัก

    2.5  การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ

  • เทคโนโลยีเซนเซอร์กับการติดตามระบบนิเวศวิทยาระยะยาว
  • การฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลอ่าวทุ่งนางดำ ฝั่งอันดามันเหนือของประเทศไทย หลังเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี พ.ศ.2547 แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน
  • การฟื้นฟูป่าชายเลนโดยใช้เชื้อรา

     2.6  โครงการ BRN

  • องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากราพาหมี ย่านขลง ลำดวนเถาว์ ใบแสงจันทร์
  • เสวนา งานวิจัยก้าวหน้าด้วยระบบ Mentor

     2.7  การเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่น

  • การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อซีเมนต์เพื่อการส่งออก
  • สถานภาพและการเพาะเลี้ยงปลิงขาวในประเทศไทย
  • การปรับปรุงพันธุ์และบำรุงรักษาปาล์มถิ่นเดียวอย่างยั่งยืน

3)  ชมโปสเตอร์ทางวิชาการกว่า 80 เรื่อง และการแสดงนิทรรศการ “องค์ความรู้ใหม่และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ” อาทิ

  • ราที่ก่อโรคในแมลง ชมว่านจักจั่นจากภาคอีสานหนึ่งเดียวของไทย ว่านจักจั่นในเรซิน และองค์ความรู้เกี่ยวกับราแมลงก่อโรคในประเทศไทย
  • โรครารากอากาศ  โรคที่เกิดกับต้นอบเชย พบบ่อยที่แปลงศึกษามอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ราเข้าไปก่อโรคเจริญยืดยาวออกมาเหมือนราก ความสัมพันธ์ระหว่างรากับพืชที่น่าทำความรู้จัก
  • การเพาะเลี้ยงปลิงขาว ประเทศไทยมีการค้นพบปลิงทะเลประมาณ 100 ชนิด ชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจคือปลิงขาว สัตว์เศรษฐกิจของไทยที่กำลังจะหมดไป รับฟังและชมการเพาะเลี้ยงปลิงขาว
  • การเพาะเลี้ยงชันโรง แมลงมหัศจรรย์ช่วยผสมเกสร การแยกรังอย่างถูกวิธี ช่วยสร้างรายได้
  • ไรน้ำชนิดใหม่ของโลก ไรน้ำนางฟ้าและไรแดงสยาม กับศักยภาพในการเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ และอาหารสัตว์
  • การกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ชมราแมลงบิววาเรีย ราแมลงสายพันธุ์ไทยที่มีศักยภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้ง และชีวภัณฑ์จากธรรมชาติที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อน  การเลือกใช้เทคนิคการฟื้นฟูป่าให้เหมาะสมกับตามสภาพป่าและสิ่งแวดล้อม
  • Taxidermy คืนชีวิตให้ซากสัตว์ สาธิตวิธีการสตัฟสัตว์ และงานวิจัยสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
  • ฟาร์มไส้เดือน  ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพจากไส้เดือนดิน ชมวิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือน การทำฟาร์มไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ
  • การเก็บจุลินทรีย์แบบถาวร  เทคนิคการเก็บรักษาจุลินทรีย์แบบถาวร เทคโนโลยีใหม่ในการค้นหาจุลินทรีย์จากธรรมชาติ และห้องเก็บรักษาจุลินทรีย์ไบโอเทคที่มีตัวอย่างจุลินทรีย์เก็บรักษามากที่สุดในประเทศไทย
  • IT กับความหลากหลายทางชีวภาพ  การใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
  • นกหิว  เกมส์สนุกๆ จากผลงานวิจัยของนักวิจัยและนักศึกษาจากมจธ.

นอกจากนั้น ยังมีนิทรรศการด้านความหลากหลายทางชีวภาพจากหน่วยงานต่างๆ ที่มาร่วมจัดแสดงด้วยอีก 10 หน่วยงาน


4) การออกร้านผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่น  ชิม ช็อบ และชม ผลิตภัณฑ์ทรัพยากรชีวภาพจากชุมชนท้องถิ่นอันเป็นผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ชุมชนชนบทให้มีอาชีพอย่างยั่งยืน  เช่น

  • ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากชุมชนบ้านหนองมัง  ข้าวหอมนิล, งา
  • ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มชุมชนบาลาฮาลา เช่น ดอกดาหลา (ข้าวยำ)
  • ผลิตภัณฑ์จากชุมชนนาแห้ว จ.เลย เช่น แมคคาดาเมียอบแห้ง
  • ผลิตภัณฑ์จากชุมชนบ่อเกลือ จ.น่าน ชาข้าวสาลี
  • ผลิตภัณฑ์จากชุมชนเต่างอย จ.สกลนคร  ข้าวกล้องงอก และผ้าทอ
  • ไอศกรีมสตรอเบอรี่ จ.สระบุรี

5)  นิทรรศการ ภาพถ่าย "สุดยอดช็อตเด็ด : ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย" ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2554  

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 ทางเว็บไซต์ http://www.biotec.or.th/biodv.conf2011/home/about.asp หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ คณะทำงานจัดการประชุม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โทร. 0 25646700 ต่อ 3379-3382 อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


อย่าลืม 12-14 ตุลาคม นี้


ที่ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไท


จังหวัดปทุมธานี


ติดต่อสอบถามข้อมูลทางวิชาการ (พลอยพรรณ จันทร์เรือง)
    คณะทำงานวิชาการ
    โทรศัพท์ 0 2644 8151 – 5 ต่อ 557
    E-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ติดต่อสอบถามข้อมูลทั่วไป (ชุติมา ชาวไชยา)
    คณะทำงานจัดการประชุม
    โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3379 – 3382  
    โทรสาร  0 2564 6574  
    E-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

หรืออ่านรายละอียดเพิ่มเติมที่ http://www.biotec.or.th/brt

alt

 
“ค่ายเยาวชน ปตท. รักษ์ทะเลไทย ครั้งที่ 6” PDF พิมพ์ อีเมล

alt

ชวนน้อง 5 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกิจกรรม
“ค่ายเยาวชน ปตท. รักษ์ทะเลไทย ครั้งที่ 6”

กลับมาอีกครั้งกับค่ายเยาวชนรักษ์ทะเลไทย ครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “ปฏิบัติการกู้ภัยปะการังฟอกขาว” โดยโครงการ BRT และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวนน้องๆ เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ใน 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และระนอง ร่วมเป็นหนึ่งให้เยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้โดยการส่งแนวคิดโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าประกวด ในหัวข้อ ปฏิบัติการกู้ภัยปะการังฟอกขาว
ติดตามรายละเอียด และส่งโครงงานได้ที่ https://sites.google.com/site/pttsealover6th/home ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 26 สิงหาคม นี้

 
การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 PDF พิมพ์ อีเมล
ขอเชิญเข้าร่วม



การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1
12-14  ตุลาคม 2554
ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

“วิจัยทรัพยากรชีวภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนและระบบนิเวศ”

กิจกรรมในงาน

1) การเสนอผลงานวิจัยและการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การเพิ่มคุณค่าและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อชุมชน
  • การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศที่มีความเปราะบาง เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู
  • องค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศ
  • การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพเชิงอุตสาหกรรม
2) การบรรยายพิเศษจากวิทยากรต่างประเทศที่มีชื่อเสียง (อยู่ระหว่างการติดต่อ) อาทิ Prof. Jacobus Boomsma University of Copenhagen, Director Centre for Social Evolution, Denmark ผู้เชี่ยวชาญสังคมมดและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต Prof. David Wooddruff director of UC San Diego's Sustainability Solutions Institute, USA บรรยายเกี่ยวกับ Environmental changes and the threats to Thailand's biodiversity  Dr.Martine-Hossaert McKey Centre National de Recherche Scientifique (CNRS), France บรรยายเกี่ยวกับ Figs-Fig Wasps Interactions และ Dr. Rumsais Blatrix Centre National de Recherche Scientifique (CNRS), France บรรยายเกี่ยวกับ Ants-Plants Symbioses

3)  ชมโปสเตอร์ทางวิชาการกว่า 80 เรื่อง และการแสดงนิทรรศการ “องค์ความรู้ใหม่และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ” อาทิ ราที่ก่อโรคในแมลง  โรครารากอากาศ  การเพาะเลี้ยงปลิงขาว การเพาะเลี้ยงชันโรง ไรน้ำชนิดใหม่ของโลก การกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี  ปะการังฟอกขาวและการฟื้นฟู  เทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อน  Taxidermy คืนชีวิตให้ซากสัตว์  ฟาร์มไส้เดือน  การเก็บจุลินทรีย์แบบถาวร  เห็ดทะเล เป็นต้น

4) การออกร้านผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่น ชิม ช็อบ และชม ผลิตภัณฑ์ทรัพยากรชีวภาพจากชุมชนท้องถิ่น เช่น ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากชุมชนบ้านหนองมัง  ข้าวหอมนิล, งา  ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มชุมชนบาลาฮาลา เช่น ดอกดาหลา (ข้าวยำ)  ผลิตภัณฑ์จากชุมชนนาแห้ว จ.เลย เช่น แมคคาดาเมียอบแห้ง  ผลิตภัณฑ์จากชุมชนบ่อเกลือ จ.น่าน ชาข้าวสาลี  ผลิตภัณฑ์จากชุมชนเต่างอย จ.สกลนคร  ข้าวกล้องงอก และผ้าทอ  ไอศกรีมสตอเบอรี่ จ.สระบุรี ผลิตภัณฑ์เห็ดตับเต่าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ดตับเต่า บ้านสามเรือน จ.อยุธยา

5)  นิทรรศการ ภาพถ่าย "สุดยอดช็อตเด็ด : ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย" ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2554  การมอบรางวัล และเสวนาเรื่องเล่าจากภาพถ่าย

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 และการเสนอผลงานวิชาการ สามารถส่งบทคัดย่อเพื่อคัดเลือกได้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2554 ทางเว็บไซต์ www.biotec.or.th/biodv.conf2011 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ คณะทำงานจัดการประชุม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โทร. 0 25646700 ต่อ 3379-3382 อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


อย่าลืม 12-14 ตุลาคม นี้

ที่ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

จังหวัดปทุมธานี

ติดต่อสอบถามข้อมูลทางวิชาการ (พลอยพรรณ จันทร์เรือง)
คณะทำงานวิชาการ
โทรศัพท์ 0 2644 8151 – 5 ต่อ 557
E-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ติดต่อสอบถามข้อมูลทั่วไป (ชุติมา ชาวไชยา)
คณะทำงานจัดการประชุม
โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3379 – 3382 
โทรสาร  0 2564 6574 
E-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

หรืออ่านรายละอียดเพิ่มเติมที่ http://www.biotec.or.th/brt

 
ประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก การประกวดภาพถ่าย“สุดยอดช็อตเด็ด : ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย” ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2554 PDF พิมพ์ อีเมล

ประกาศผล ภาพถ่าย ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 97 ภาพ

อ่านเพิ่มเติม...
 
สรุปจำนวนผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวด, เชิญชวนนักวิจัยร่วมส่งผลงานวิชาการด้านความหลากหลายเข้าร่วม พิจารณาคัดเลือก Oral Presentation PDF พิมพ์ อีเมล
สรุปจำนวนผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในโครงการ ประกวดภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ด ความหลากหลายทางชีวภาพ ปีที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2554   

     การประกวดภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ดปีที่ 2 ได้ทำการปิดรับสมัคร และส่งภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดแล้วตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ปีนี้เรียกได้ว่าอัดแน่นด้วยคุณภาพของภาพถ่ายทั้ง 4 ประเภท ที่มีความสวยงามจนกรรมการต้องหนักใจ
    ปีนี้ มีผู้สนใจส่งรูปเข้าประกวดทั้งสิ้น 142 ภาพ จากทั้ง 4 ประเภท คือ ภาพเห็ดและพืช ภาพสัตว์ ภาพใต้น้ำ และภาพสิ่งมีชีวิตหายากใกล้สูญพันธุ์
    ในช่วงเวลานี้เป็นโค้งแรกที่คณะกรรมการวิชาการและกรรมการเทคนิคกำลังคัดเลือกภาพที่ผ่านเข้ารอบแรกกันอย่างขมีขมัน ซึ่งเราจะประกาศผลให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ ภายในสิ้นเดือนนี้


เชิญชวนนักวิจัยร่วมส่งผลงานวิชาการด้านความหลากหลายเข้าร่วม พิจารณาคัดเลือก Oral Presentation
    การประชุมวิชาการ “การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 1 ได้เปิดโอกาสให้นักวิจัยทุกรุ่นได้มีโอกาสร่วมนำเสนอผลงานการวิจัย โดยเปิดรับบทคัดย่อเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ ทั้งในภาคการบรรยาย และภาคโปสเตอร์ โดยแบ่งหัวข้อการนำเสนอเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
1. การเพิ่มคุณค่า/ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อชุมชน
2. การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศที่มีความเปราะบาง เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู
3. องค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศ
4. การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพเชิงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ในส่วนของภาคการบรรยาย มีการจัดแบ่งหัวข้อย่อย จาก 4 หัวข้อใหญ่ เช่น
- การเพาะเลี้ยงสัตว์ท้องถิ่นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน : ปลิงทะเล ไส้เดือน ไรแดง ตุ๊กแก ชันโรง เป็นต้น
- พืชพื้นบ้านและแนวทางการปรับปรุงพันธุ์ และการใช้ประโยชน์
- ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- งานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน และสร้างอาชีพ
- Blue Carbon ศักยภาพทะเลไทยลดโลกร้อน
- ปะการังฟอกขาวและติดตามสิ่งแวดล้อมระยะยาว
- การฟื้นฟูป่า พื้นที่เสื่อมโทรม และระบบนิเวศที่เปราะบาง
- ราและจุลินทรีย์ที่ก่อโรคและมีความเฉพาะเจาะจงกับแมลง
- แนวทางการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
- การบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า
- เอนไซม์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอาหารสัตว์
- การผลิตสารมูลค่าสูงจากจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรม


 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL