RocketTheme Joomla Templates
การอนุรักษ์แหล่งปล่อยไข่ปะการังในธรรมชาติ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการอนุรักษ์แนวปะการัง PDF พิมพ์ อีเมล

ข้อมูลการไหลของกระแสน้ำในทะเลขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ เผยให้เห็นความสำคัญของเกาะราบและเกาะมัดสุ่ม เป็นต้นกำเนิดตัวอ่อนปะการังที่ถูกพัดพาไปยังเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะทะเลใต้ ควรมีอนุรักษ์เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง และทรัพยากรทางทะเล

การอนุรักษ์แนวปะการัง และเพิ่มแนวเขตปะการังนั้นสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมทำกันมาก คือ การปลูกปะการัง ด้วยการปักกิ่งปะการังไว้ในแท่นคอนกรีต ทว่าวิธีการดังกล่าวมีข้อเสียคือ ปะการังที่เกิดใหม่จะมีความอ่อนแอ เนื่องจากกิ่งปะการังที่นำมาปักส่วนใหญ่มาจากปะการังต้นเดียวกันทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ จึงไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทะเลได้ดีนัก อย่างไรก็ดี ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่คาดว่าจะเป็นการอนุรักษ์แนวปะการังที่ให้ผลยั่งยืน นั่นคือ การอนุรักษ์แหล่งปล่อยไข่อ่อนปะการังในธรรมชาติให้คงอยู่ เพื่อจะได้สามารถสร้างไข่หรือตัวอ่อนปะการังให้กระจายไปยังเกาะต่างๆ

ด้วยเหตุนี้ นายนิคม อ่อนสี  ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำเนินการศึกษาเรื่องการไหลเวียนของกระแสน้ำระหว่างหมู่เกาะทะเลใต้ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนับสนุนของโครงการ BRT และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน 2553 เพื่อนำข้อมูลมาจำลองการเคลื่อนที่ของไข่ปะการังบริเวณทะเลขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ และหาแหล่งปล่อยไข่ปะการังในธรรมชาติที่สำคัญ เพื่อจะนำไปสู่การอนุรักษ์แหล่งปล่อยไข่ปะการังต่อไป


การวางทุ่นติดตามกระแสน้ำที่ผิวน้ำและที่กระแสน้ำระดับ 2 เมตร

ผลจากการศึกษาพบแหล่งปล่อยไข่ปะการังในธรรมชาติที่สำคัญในหมู่เกาะทะเลใต้ ได้แก่ เกาะราบ เป็นแหล่งปล่อยไข่ปะการังที่สามารถไหลผ่านไปยังเกาะมัดโกง กองหินน้ำลาย และเกาะแตน, เกาะมัดสุ่ม เป็นแหล่งปล่อยไข่ปะการังที่สามารถไหลไป เกาะมัดโกง กองหินน้ำลาย และไหลรอบเกาะแตน ซึ่งจากข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปสู่การวางแผนการอนุรักษ์พื้นที่ต้นกำเนิดไข่ปะการัง และจะนำไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังในทะเลขนอม – หมู่เกาะทะเลใต้ โดยเฉพาะเกาะแตน ซึ่งเป็นเกาะที่ได้รับไข่ปะการังจากเกาะอื่น

 


สุดยอดช๊อดเด็ด
เรามี 59 บุคคลทั่วไป ออนไลน์