RocketTheme Joomla Templates
เพิ่มพื้นที่ป่าใต้ทะเล แนวหญ้าทะเลเกาะท่าไร่ ผลสำเร็จจากความร่วมมือของชุมชนในการอนุรักษ์ PDF พิมพ์ อีเมล

ความร่วมมือจากชุมชน และคณะวิจัย ในการอนุรักษ์แนวหญ้าทะเลขนาดใหญ่ของเกาะท่าไร่ ทะเลขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้แนวหญ้าทะเลที่จากเดิมมีเนื้อที่ 45 ไร่ เพิ่มขึ้นอีกถึง 10 ไร่ เป็น 55 ไร่ ในระยะเวลา 2 ปี

หญ้าทะเลมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศใต้ทะเล เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งหลบภัย และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ความซับซ้อนของแนวหญ้าทะเลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ทั้งนี้จากการสำรวจวิจัยของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสนับสนุนของโครงการ BRT ในบริเวณทะเลขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 พบว่าบริเวณเกาะท่าไร่ มีแนวหญ้าทะเลที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ขนาดพื้นที่ประมาณ 45 ไร่ ซึ่งแม้จะเป็นพื้นที่ที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่สามารถพบความหลากหลายของหญ้าทะเลถึง 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบยาว Enhalus acoroides ,หญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii ,หญ้าเขียวใบแฉก Halodule uninervis และหญ้าใบมะกรูด Halophila ovalis และเป็นแหล่งที่สามารถพบสัตว์น้ำนานาชนิดทั้งกุ้ง หอย ปู และปลา จึงนำไปสู่การอนุรักษ์โดยการวางแนวทุ่นรอบเกาะ เพื่อป้องกันการทำลายแนวหญ้าทะเล และคณะวิจัยยังได้มีการอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านในเขตใกล้เคียง ให้รู้จักประโยชน์ของแนวหญ้าทะเล และช่วยกันอนุรักษ์แนวหญ้าทะเลให้คงอยู่


หญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii

ทั้งนี้ จากการลงไปสำรวจแนวหญ้าทะเลที่บริเวณรอบเกาะท่าไร่ครั้งล่าสุด ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 โดยคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าแนวหญ้าทะเลได้เพิ่มขึ้นจากแนวทุ่นที่เคยวางไว้ 10 ไร่ อีกทั้งหญ้าทะเลยังมีความหนาแน่นและสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับว่าการอนุรักษ์แนวหญ้าทะเล ณ เกาะท่าไร่ นี้ ประสบผลสำเร็จ และเริ่มเห็นว่าความยั่งยืนในการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช

 


สุดยอดช๊อดเด็ด
เรามี 87 บุคคลทั่วไป ออนไลน์