RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


การประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 “วิจัยทรัพยากรชีวภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนและระบบนิเวศ” PDF พิมพ์ อีเมล

น้ำลดให้รีบจัด

อีกครั้งกับ การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1

“วิจัยทรัพยากรชีวภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนและระบบนิเวศ”

     หลังจากฝ่าวิกฤตมหาอุทกภัย ปี 54 ผ่านพ้นไปแล้ว สวทช. จึงขอสานต่องานประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ให้สำเร็จ โดยการจัดการประชุมขึ้นอีกครั้ง ระหว่างวันที่ 2 – 3 กุมภาพันธ์ 2555  ณ โรงแรมทีเคพาเลซ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

    โดยอัดแน่นด้วยสาระวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพเช่นเดิม และตามกระแสหลังวิกฤตน้ำลดกับการบรรยายพิเศษเกี่ยวความหลากหลายทางชีวภาพหลังน้ำลด และไขข้อข้องใจกับอะไรที่อยู่ในอีเอ็มบอล

กิจกรรมในงาน

1)  การเสนอผลงานวิจัยและการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ 

  • การเพิ่มคุณค่าและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อชุมชน
  • การศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศที่มีความเปราะบาง เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู
  • องค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศ
  • การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพเชิงอุตสาหกรรม

2)  การบรรยายพิเศษจากวิทยากรไทย/ต่างประเทศที่มีชื่อเสียง (อยู่ระหว่างการติดต่อ) อาทิ Prof. David Wooddruff director of UC San Diego's Sustainability Solutions Institute, USA บรรยายเกี่ยวกับ Floods and Impact on Biodiversoty Thailand  Dr.Martine-Hossaert McKey Centre National de Recherche Scientifique (CNRS), France บรรยายเกี่ยวกับ Figs-Fig Wasps Interactions บรรยายเกี่ยวกับ Plant-animal interactions นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรชาวไทย ดร.มาลี สุวรรณอัตถ์ ที่ปรึกษาศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติการกับไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ “เชื้อโรค จุลินทรีย์ และ อี เอ็ม บอล”

3) ชมโปสเตอร์ทางวิชาการ และการแสดงนิทรรศการ “องค์ความรู้ใหม่และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ”

     ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2555 ทางเว็บไซต์ http://www.biotec.or.th/biodv.conf2011/home/about.asp สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนและชำระค่าลงทะเบียนการประชุมครั้งก่อน (12-14 ต.ค. 54) สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องชำระค่าลงทะเบียนใหม่ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ คณะทำงานจัดการประชุม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โทร. 025646700 ต่อ 3379-3382 อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ร่างกำหนดการประชุม

 
ไม้ประดับทนน้ำท่วม PDF พิมพ์ อีเมล

    พรรณไม้ที่ปลูกในบ้านทนน้ำท่วมหรือไม่
     การกล่าวว่า พรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งทนน้ำท่วมหรือไม่ ทนได้มากเพียงไร หรือทนได้มากกว่าหรือน้อยกว่าชนิดอื่นๆ นั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีเกณฑ์เปรียบเทียบเดียวกัน อาทิเช่น ระดับน้ำท่วมสูง จำนวนวันที่น้ำท่วม เป็นน้ำหลากหรือไหลผ่านหรือน้ำนิ่งที่สะอาดหรือน้ำเน่าเสีย และพรรณไม้ที่นำมาเปรียบเทียบควรมีอายุ หรือความสูง หรือความแข็งแรงพอๆ กัน ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ ก็ดูจากบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ว่าชนิดไหนตาย ชนิดไหนรอด แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่ดูเหมือนว่า มีความทนทานต่อน้ำท่วม น้ำท่วมนานเท่าไร สูงเท่าไร ก็ทนได้ มีใบเขียวชอุ่มแน่นทรงพุ่ม แต่พอน้ำลด ดินโคนต้นเริ่มแห้ง ใบก็เริ่มเหี่ยว ร่วง และตายในที่สุด
    
     โดยปรกติในที่ราบลุ่มของภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ในภาคกลาง ได้แก่จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำหลากจากภาคเหนือและท่วมขังอยู่เป็นเวลา 2-3 เดือน ประชาชนจึงปลูกบ้านที่มีเสาสูง 1.5-2.0 เมตร และยกพื้นบ้านให้สูงกว่าระดับน้ำ ส่วนพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนี้ก็ปรับตัวจนสามารถทนทานต่อน้ำท่วมได้ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำหลากในฤดูฝน เป็นน้ำที่ไหลมาจากภูเขาในภาคเหนือ เป็นน้ำสะอาดไม่เน่าเสีย ในน้ำยังมีออกซิเจนมากเพียงพอให้รากต้นไม้ได้แลกเปลี่ยนกาซและดูดน้ำขึ้นไปใช้ ในเวลาเดียวกัน น้ำหลากเหล่านี้ได้พัดพาเอาตะกอนดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์จากภูเขาลงมาด้วย สังเกตได้ว่าน้ำมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเหลืองนวลที่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นน้ำหลากจึงช่วยให้พืชพื้นเมืองตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาเจริญเติบโตได้ดี

    ทำไมพรรณไม้แต่ละชนิดจึงทนน้ำท่วมขังได้แตกต่างกัน
     ถ้าตอบแบบง่ายๆ และถูกต้องก็คือ เป็นธรรมชาติของพรรณไม้ หากขยายความก็คือ ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของพรรณไม้ เห็นได้จากถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ (Habitat & distribution) พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ริมแหล่งน้ำ ก็จะชอบน้ำและทนทานต่อน้ำท่วม หากกล่าวถึงเฉพาะพรรณไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่มีเนื้อไม้แข็ง สามารถสังเกตได้จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเปลือกลำต้นและเปลือกรากที่มีความแข็ง หรือหนาเหนียว และอาจพบช่องแลกเปลี่ยนกาซตามเปลือกที่เป็นรอยขีดนูนหรือเป็นตุ่มนูนสีขาวหรือเทา ดังเช่น ต้นมะกอกน้ำ มะดัน อโศกน้ำ ยางนา ละมุด มะกรูด ซึ่งมีความทนทานต่อน้ำท่วมได้ดี แต่ในขณะที่เปลือกลำต้นหรือเปลือกรากมีลักษณะค่อนข้างอ่อน หนาและค่อนข้างฉ่ำน้ำ เช่น จำปี จำปา มะกอก มะกอกฝรั่ง พญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด ชมพูพรรณทิพย์ จะไม่ทนทานต่อน้ำท่วม
    
    ทำไมพรรณไม้ถึงตายเมื่อน้ำท่วม
     ตามธรรมชาติแล้วพรรณไม้ประดับทุกชนิดต้องการน้ำที่จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต แต่มีความต้องการในปริมาณที่เหมาะสมไม่เท่ากัน โดยดูดซับเข้ามาทางรากขนอ่อนที่อยู่ส่วนปลายของราก รากขนอ่อนนี้มีผนังบางๆ หากมีน้ำท่วม น้ำจะเข้าไปแทนที่ฟองอากาศที่มีอยู่ในดิน ทำให้รากแลกเปลี่ยนกาซไม่ได้ เซลล์จะตายหรือเน่าเสีย ทำให้รากใหญ่ดูดน้ำขึ้นไปใช้ไม่ได้ ใบก็จะขาดน้ำ ทำการสังเคราะห์แสงไม่ได้ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหี่ยวแห้งและร่วง ตายในเวลาต่อมา ซึ่งหลายคนสงสัยว่า ทำไมใบไม้ ขาดน้ำ ทั้งๆ ที่ต้นแช่น้ำอยู่
    
    พรรณไม้ประดับที่ทนน้ำท่วม
     พรรณไม้ที่ทนน้ำท่วมส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง หรือขึ้นอยู่ริมแหล่งน้ำที่เป็นแม่น้ำ ลำธาร น้ำตก หนองบึง หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย อาทิเช่น พรรณไม้ในวงศ์ยาง (Family Dipterocarpaceae) ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม พรรณไม้ในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) โดยเฉพาะในสกุลมะพลับ (Genus Diospyros) ได้แก่ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน มะเกลือ พญารากดำ พรรณไม้ในวงศ์อื่นๆ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โกงกางหัวสุม โกงกางหูช้าง  กระโดน กระทุ่มน้ำ กระทุ่มนา กระเบา กรวยน้ำ กะพ้อแดง กะพ้อหนาม กาจะ การเวกน้ำ เกด กุ่มน้ำ ข่อย ขะเจาะน้ำ ขี้เหล็กบ้าน คัดเค้าเครือ คล้า คลุ้ม เคี่ยม แคนา ไคร้ย้อย จิกน้ำ จิกสวน ชมพู่น้ำ ชำมะเลียงบ้าน ตะแบกนา ตีนเป็ดน้ำ ตีนเป็ดทราย เตยทะเล เตยน้ำ เตยพรุ  เตยหอม เตยหนู เต่าร้าง ทองกวาว ไทร โพธิ์ นาวน้ำ นนทรี นมแมว ประดู่ป่า ประดู่บ้าน ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง  ไผ่ป่า ฝรั่ง พิกุล พุดทุ่ง  พุดภูเก็ต พุดสี  พุทรา โพทะเล มะกรูด โมกลา มะพร้าว มะขาม มะขามเทศ  มะเดื่อกวาง มะตูม ยอบ้าน ละมุด ลำพู สะแก สะตือ เสม็ด สารภี หูกวาง หมากสง อินทนิล อโศกป่าพุ (พุเมืองกาญจนบุรี)

     นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้จากต่างประเทศอีกหลายชนิดที่นำเข้ามาปลูกกัน แล้วมีความทนทานต่อภาวะน้ำท่วมได้ อาทิเช่น อโศกอินเดีย ก้ามปู หูกระจง กระดังงาจีน

     สำหรับพรรณไม้ประดับบางชนิด มีความทนทานเป็นเลิศ ถึงแม้ว่าจะมีน้ำท่วมสูงมิดยอดเป็นเวลานาน (ทนได้ถึง 30 วัน) ได้แก่ ปาล์มแวกซ์ (Copernicia prunifera) ต้นตาลโตนด (Borassus flabellifer) จาก สาคู อโศกน้ำ มะกอกน้ำ มะดัน หลังจากน้ำลดลงแล้ว เจริญเติบโตต่อได้เลย

     อย่างไรก็ตาม การปลูกพรรณไม้ทนน้ำท่วมเหล่านี้ประดับบ้าน ก็ควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มให้สวยงาม มีการกำจัดวัชพืช โรคและแมลง มีการพรวนโคนต้นให้สวยงาม พร้อมทั้งมีการใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตเป็นช่วงๆ พรรณไม้เหล่านี้ก็จะเป็นไม้ประดับที่สวยงาม พร้อมที่จะสู้ทนน้ำท่วมให้เจ้าของบ้านอย่างท่านได้สบายใจ

(อ้างอิง : ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.))

201111130

 
เลื่อนการจัดการประชุมวิชาการ "การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 PDF พิมพ์ อีเมล

เรียน ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่าน

คณะทำงานจัดการประชุมวิชาการ ขอเลื่อน การจัดการประชุมวิชาการ “การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 1

ในวันที่ 12 – 13 ตุลาคม 2554

ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี โดยกำหนดการใหม่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ทั้งนี้ หากท่านต้องการข้อมูลของการประชุมเพิ่มเติม

โปรดติดต่อผู้ประสานงานที่หมายเลข 08 6886 1526, 08 9684 2525 และ 08 1820 7891

ขอแสดงความนับถือ


คณะทำงานจัดการประชุมวิชาการ

 

 
ประกาศผลรางวัลภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ด ความหลากหลายทางชีวภาพ ปีที่ 2 PDF พิมพ์ อีเมล

 

รางวัลสุดยอดช็อตเด็ด 1 รางวัล

ภาพ “ชะเง้อคอย”

รางวัล 15,000 บาท + โล่ + ประกาศนียบัตร


 Uw 008

 

ชื่อภาพ :  ชะเง้อคอย

ชื่อผู้ถ่าย : นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร

สถานที่ถ่าย : หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ท่ามกลางการแหวกว่ายของฝูงปลามากมาย ปลิงทะเลตัวนี้ได้ยืดลำตัวขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์ โดยปล่อยไข่และสเปิร์มสู่มวลน้ำ ท่าทางที่แปลกประหลาดและหาดูได้ยากของสิ่งมีชีวิตนี้เป็นอีกความตื่นตาตื่นใจที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เพราะโดยปกติปลิงทะเลจะนอนทอดลำตัวอยู่บนพื้นทรายอย่างสงบเท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง Canon PowerShort G 12 เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพ: 7.41 mm สปีดชัตเตอร์  : 1/80”รูรับแสง : F 2.8  ค่าความไวแสง : 400


รางวัลยอดเยี่ยม 4 รางวัล

 รางวัลละ 10,000 บาท + ประกาศนียบัตร

 

ยอดเยี่ยมประเภท สัตว์

An 021

ชื่อภาพ : นักร่อนแห่งรัตติกาล

ชื่อผู้ถ่าย : นายนิติ สุขุมาลย์

สถานที่ถ่าย : สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : สิ่งมีชีวิตที่มีพฤติกรรมการออกหากินยามค่ำคืนและหลบเข้านอนในตอนกลางวันนั้นส่วนใหญ่ข้อมูลทางนิเวศวิทยาค่อนข้างน้อยมาก เรียกได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความลึกลับ พบเห็นตัวได้ไม่บ่อยนัก ภาพนี้เป็นภาพของพญากระรอกบินหูดำหางสีเข้ม ถ่ายที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในพื้นที่ของป่าเบญจพรรณ ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร ถูกถ่ายขณะที่กำลังร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่ง ไปสู่ต้นไม้อีกต้นข้างๆ สัตว์ชนิดนี้จะมีความว่องไวมากในเวลากลางคืน

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง: กล้อง cannon EOS 60D; เลนส์ cannon EFS 55-250; สปีดชัตเตอร์ 1/83; รูรับแสง 6.3; ช่วงของเลนส์ 90 mm

 

 

ยอดเยี่ยมประเภท พืชและเห็ดรา

 

PF 006

ชื่อภาพ : ใต้ทะเลมีดอกไม้

ชื่อผู้ถ่าย : นายปิยะลาภ ตันติประภาส

สถานที่ถ่าย : เกาะท่าไร อุทยานแห่งชาติหาดขนอม หมู่เกาะทเลใต้ อ. ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

 คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ดอกตัวเมียของหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) กำลังชูช่อดอกขึ้นผิวน้ำ เพื่อดักดอกตัวผู้ที่ลอยล่องบนผิวน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะการผสมพันธุ์แบบพิเศษ ที่พบในหญ้าทะเลเพียงไม่กี่ชนิด

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : -

 

 

ยอดเยี่ยมประเภท สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ

 Uw 008

 

ชื่อภาพ :  ชะเง้อคอย

ชื่อผู้ถ่าย : นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร

สถานที่ถ่าย : หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ท่ามกลางการแหวกว่ายของฝูงปลามากมาย ปลิงทะเลตัวนี้ได้ยืดลำตัวขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์ โดยปล่อยไข่และสเปิร์มสู่มวลน้ำ ท่าทางที่แปลกประหลาดและหาดูได้ยากของสิ่งมีชีวิตนี้เป็นอีกความตื่นตาตื่นใจที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เพราะโดยปกติปลิงทะเลจะนอนทอดลำตัวอยู่บนพื้นทรายอย่างสงบเท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง Canon PowerShort G 12 เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพ: 7.41 mm สปีดชัตเตอร์  : 1/80”รูรับแสง : F 2.8  ค่าความไวแสง : 400


 

ยอดเยี่ยมประเภท สิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์

En 003

ชื่อภาพ : 3 สหาย

ชื่อผู้ถ่าย : นางวรรณา ตันธนวัฒน์

สถานที่ถ่าย : บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : นกปากช้อนหน้าดำ มีสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ในบัญชีแดง (Red List) ของ IUCN  แต่มักพบอพยพมาทุกปี ที่บริเวณนาเกลือ แหลมผักเบี้ย จนถึงบ้านปากทะเล การพบเห็นได้เป็นประจำ ไม่ได้เป็นหลักประกันความอยู่รอดของนกชนิดนี้ เราจำเป็นต้องช่วยกันรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอพยพมาพักอาศัยในช่วงฤดูหนาว เพื่อรักษาชนิดพันธุ์ที่หายากเหล่านี้ไว้

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : Nikon D-90 Lens : Nikon 300 mm f/4 AF-S ต่อ TC 1.4  Speed 1/2000s ISO 200 f8

 

 

รางวัลชมเชย 7 รางวัล

รางวัลละ 5,000 บาท + ประกาศนียบัตร

 

รางวัลชมเชย ประเภทสัตว์ จำนวน 3 ภาพ

An 018

ชื่อภาพ :     ผมหล่อไหมครับ

ชื่อผู้ถ่าย :     นายทศพล  สุภาหาญ

สถานที่ถ่าย :      เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

คำอธิบายรายละเอียดภาพ :      แย้ เมื่อเห็นคนก็จะวิ่งเข้ารูไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนบางส่วนนำแย้มาบริโภค  เพียงเราหยุดล่า หยุดบริโภค และมีความเมตตาต่อแย้ แย้ก็จะออกมาให้เราเห็นและอยู่ร่วมกับเราอย่างมีความสุข

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง:SONY 350 เลนส์ 4.5-5.6/75-300 สปีดชัตเตอร์ รู รับแสงและค่าความไวแสง ช่วงของเลนส์ที่ใช้ 1/250 F11 ISO 400

 

 

An 029

ชื่อภาพ : ทางข้าม

ชื่อผู้ถ่าย : นางวรรณา ตันธนวัฒน์

สถานที่ถ่าย : อุทยานแห่งชาติ ศรีพังงา ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : เพียงพอนเล็กสีน้ำตาล (Malayan Weasel) เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่หากินตามลำห้วยที่ใสสะอาด ไม่มีมลพิษ  การเคลื่อนใหวคล่องแคล่ว ว่องไว เวลาหากิน  เวลาที่ถ่ายภาพนี้ได้ เพียงพอนเล็กตัวนี้กำลังข้ามลำธารน้ำตกตำหนัง ผู้ถ่ายภาพไปนั่งบังไพรถ่ายรูปนก เห็นเพียงพอนเล็กตัวนี้กำลังข้ามละธาร เลยเก็บภาพไว้ได้ เป็นภาพเพียงพอนเล็กในธรรมชาติ ที่ถ่ายได้ในประเทศไทย ทำให้รู้สึกว่าทุกชีวิตในธรรมชาติล้วนสำคัญ  มีส่วนเติมเต็มให้ธรรมชาติสมดุล 

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : Nikon D-90 Lens : Nikon 300 mm f/4 AF-S 1/40s ISO 400 f4

 

 

An 031

ชื่อภาพ :  นักจับปลา

ชื่อผู้ถ่าย :  นายคมสัน หงภัทรคีรี

สถานที่ถ่าย : บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : โดยปกติแมงมุมหมาป่าชนิดนี้ จะออกวิ่งจับเหยื่อซึ่งได้แก่แมลงเล็กๆบนบกริมชายน้ำ แต่บ่อยครั้งอาจพบพวกมันซุ่มคอยเหยื่ออยู่บนผิวน้ำเพื่อจับแมลงน้ำหรือแม้กระทั่งปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหาร แมงมุมหมาป่ามีความสามารถในการวิ่งบนผิวน้ำและสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานานอีกด้วย นับเป็นโชคดีของผมที่ได้เห็นแมงมุมตัวนี้กำลังอร่อยกับเหยื่อสุดพิเศษที่ไม่ค่อยจะเห็นบ่อยนัก

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้องCanon Eos 400D, เลนส์ EF100mm Macro USM, ความไวชัตเตอร์ 1/200, รูรับแสง f13, iso 200

 

 

รางวัลชมเชย ประเภทพืชและเห็ดรา จำนวน 1 ภาพ

 

PF 007

ชื่อภาพ : โคมไฟนางฟ้าแห่งคอหงส์

ชื่อผู้ถ่าย : นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ

สถานที่ถ่าย : เขาคอหงส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : พิศวง (Fairy lantern: Thismia arachnites) เป็นพืชกินซากที่มีรูปร่างแปลกตา ดุจดังไม่ได้เป็นพืชบนพื้นโลก มีสีสันสว่างสดใสสะดุดตา พบเจอได้ไม่บ่อยนัก

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้องดิจิตอลคอมแพ็ค Panasonic DMC-FZ30; สปีดชัตเตอร์ 1/60 s; รูรับแสง f/3.2; ค่าความไวแสง ISO 200; ช่วงของเลนส์ที่ใช้ 19.4 mm

 

รางวัลชมเชย ประเภทสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ จำนวน 2 ภาพ

 

Uw 013

ชื่อภาพ : ความหลากหลายทางชีวภาพในแอ่งหินปูน

ชื่อผู้ถ่าย : จิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล

สถานที่ถ่าย : สระมรกต อ.คลองท่อม จ.กระบี่

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : น้ำใสสะอาด ใครจะรู้กันว่าในน้ำนั้นประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอนเนตจำนวนมหาศาล ที่น้ำใต้ดินดันผ่านชั้นหินขึ้นมาหลายร้อยเมตร แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตลดลงไปเลยแม้แต่น้อย (ระบบนิเวศน้ำจืด)

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้อง Panasonic LUMIX FT-2  สปีดชัตเตอร์ 1/80 รูรับแสง 3.3 และค่าความไวแสง 80

 

 

Uw 025

ชื่อภาพ :    “อุดมสมบูรณ์”

ชื่อผู้ถ่าย :   สุเมตต์ ปุจฉาการ

สถานที่ถ่าย :  เกาะง่ามใหญ่ หมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ฝูงปลาหัวตะกั่ว (Hardyhead silverside , Atherinomorus sp.) เป็นปลารวมฝูงขนาดใหญ่พบตามพื้นทรายและริมชายฝั่งขอบแนวปะการัง ปลาหัวตะกั่วกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารจึงเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้บริโภคในห่วงโซ่อาหารในท้องทะเล ผู้เขียนพบฝูงปลาหัวตะกั่วขนาดมหึมาบริเวณแนวปะการังเกาะง่ามใหญ่ หมู่เกาะทะเลชุมพร อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทยและความสำคัญของแนวปะการังในแง่การเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้อง Canon powershot G12 เปิดโหมดถ่ายภาพ P แบบAutofocus และเปิดแฟลช; White Balance โหมดใต้น้ำ (Underwater) ปรับสีและแสงของภาพเป็น auto level

 


รางวัลชมเชย ประเภทสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ 1 รางวัล

 

En 002

ชื่อภาพ : Good Day Sunshine

ชื่อผู้ถ่าย : วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ (Wichyanan Limparungpatthanakij)

สถานที่ถ่าย : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : นกไต่ไม้สีสวย Beautiful Nuthatch (Sitta formosa) เป็นนกที่มีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) ในประเทศไทยมีรายงานการพบบนป่าดิบเขาในอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง จ.เชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : Canon EOS 500D, Lens: Canon EF 300mm f/4.0L IS USM, Shutter speed: 1/197s, Aperture: f/5.7, ISO 400


ภาพที่ได้รับรางวัลจะจัดแสดงใน   “การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ

ครั้งที่ 1”  (12-14  ตุลาคม 2554)   ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี และพบกับเวทีพูดคุย

“เรื่องเล่าจากภาพถ่าย”  โดยเจ้าของภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลและผู้เชี่ยวชาญด้านพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ วันที่ 12

ตุลาคม 2554 เวลา 11.45-12.15 น.

 

 
ประกาศผลการคัดเลือกภาพถ่าย สุดยอดช็อตเด็ด ปีที่ 2 รอบที่ 2 PDF พิมพ์ อีเมล

การคัดเลือกภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ด ปีที่ 2 ในรอบ 2 มีภาพที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 30 ภาพ ดังนี้

1.      หมวด พืชและเห็ดรา

ใต้ทะเลมีดอกไม้

นายปิยะลาภ ตันติประภาส

โคมไฟนางฟ้าแห่งคอหงส์

นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ

ดอกเทียนนกแก้ว

น.ส. วรนุช มโนมัยพันธุ์

มหัศจรรย์กุหลาบแดง

วินนิวัตร ไตรตรงสัตย์

เกิดมาตอนหน้าฝน

นาย ทวีศักดิ์     บุทธรักษา

 

2.      สัตว์

ระวัง

นายอาหามะ  สารีมา

พลางตัว...

นายมงคล  คำสุข

Float on

วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

ผมหล่อไหมครับ

นายทศพล  สุภาหาญ

นักร่อนแห่งรัตติกาล

นายนิติ สุขุมาลย์

ไม่มีใครเห็นฉัน (มั้ง?)

นายนิติ สุขุมาลย์

ทางข้าม

นางวรรณา ตันธนวัฒน์

นักจับปลา

นายคมสัน หงภัทรคีรี

เมื่อผู้แทนเผชิญหน้า...

นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ

สีสันแห่งป่า

จิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล

ค้างคาว…แม่ผู้เสียสละ

รชตะ มณีอินทร์

อ้ำ...

นายทิวา  โอ่งอินทร์

ถึงตัวเล็กแต่ใจใหญ่

นายทิวา  โอ่งอินทร์

นกจับแมลงคอสีฟ้า

น.ส. วรนุช มโนมัยพันธุ์

แบกไข่

นายณัฐพงศ์  วงษ์ชุ่ม

 

3.      สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ

ลืมตาดูโลก

นายคมสัน หงภัทรคีรี

ชะเง้อคอย

นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร

ความหลากหลายทางชีวภาพในแอ่งหินปูน

จิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล

“อุดมสมบูรณ์”

สุเมตต์ ปุจฉาการ

“พรุ่งนี้ยังมีหวัง”

สุเมตต์ ปุจฉาการ

 

4.      สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์

Good Day Sunshine

วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

3 สหาย

นางวรรณา ตันธนวัฒน์

ตั๊กแตนมวยกิ่งไม้

นายเอกรัตน์ เฉยฉิน

ชีวิตกลางไพร

น.ส.วรนุช มโนมันพันธุ์

สอนลูกหากิน

นายฐิติพงศ์ สุขไพบูลย์วัฒน์

 

ภาพผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องส่งภาพที่ล้างอัด ขนาด 24x36 นิ้ว  และ TIFF file ขนาด 30 MB (ส่งทางแผ่นซีดี)

มาที่ โครงการ BRT 73/1 ชั้น 5 อาคาร สวทช. ถ.พระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ภายในวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2554

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดมีการคัดเลือกรูปที่ได้รับรางวัลจากภาพถ่ายที่ท่านส่งมา ซึ่งการตัดสินจากแจ้งผลอีกครั้งภายในวันที่ 6 ตุลาคม 2554 โดยภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจะจัดแสดงในงานประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม 2554 และมีพิธีมอบรางวัลในพิธีเปิดการประชุม วันที่ 12 ตุลาคม 2554

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL