RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


การเบิกเงินสนับสนุนการเข้าร่วมประชุมประจำปี #12 PDF พิมพ์ อีเมล
ผู้มีสิทธิ์เบิกเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ 12 ได้แก่ นักวิจัยหรือนักศึกษาที่ยื่นแบบฟอร์มขอเบิกเงินสนับสนุนแก่โครงการ BRT ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 และได้รับการตอบรับจากโครงการ BRT เรียบร้อยแล้ว

 

ผู้มีสิทธิ์ขอเบิกเงินสนับสนุนดังกล่าวจะต้องยื่นแบบฟอร์มรายงานการใช้จ่ายเงินพร้อมใบเสร็จแก่โครงการ BRT เพื่อขอเบิกค่าใช้จ่ายภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 มิฉะนั้น จะถือว่าท่านสละสิทธิ์


หมายเหตุ
ทุกรายการที่จะนำมาขอเบิกจ่ายจากโครงการ BRT จะต้องมีใบเสร็จรับเงิน หากรายการใดไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินจะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายงานการใช้จ่ายเงิน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน


 

เกณฑ์การเบิกจ่าย

1.   ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม เบิกได้เมื่อลงทะเบียนในเวลาที่กำหนดเท่านั้น (ภายในวันที่ 15 กันยายน 2551)

2.   ค่าจัดทำโปสเตอร์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท (ตามใบเสร็จ)

3.   ค่าที่พัก

  • - นักวิจัย เบิกได้ในอัตราพักเดี่ยว 800 บาท ต่อห้องต่อคืน พักคู่อัตรา 900 บาทต่อห้องต่อคืน ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2551 รวมทั้งสิ้น 4 คืน
  • - นักศึกษา ให้พักคู่เท่านั้นในอัตรา 450 บาท ต่อคนต่อคืน ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2551 รวมทั้งสิ้น 4 คืน (หากนักศึกษาคนใดไม่มีผู้พักร่วม โครงการ BRT จะจัดผู้พักร่วมให้ตามความเหมาะสม)

4.   ค่าเดินทาง

4.1  หากสามารถเดินทางเป็นหมู่คณะ (มากกว่า 7 คนขึ้นไป) สามารถเช่ารถตู้เพื่อเดินทางได้ โดยอัตราค่าเช่าต้องไม่สูงกว่า 1,800 บาท ต่อวัน ส่วนค่าน้ำมัน ให้นำใบเสร็จมาเบิกจ่ายตามการใช้จ่ายจริง

4.2  นักศึกษาควรเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง

4.3  การเดินทางภายในกรุงเทพมหานครเพื่อต่อรถโดยสาร

  • - นักวิจัย สามารถเบิกค่าพาหนะได้ ตามการเบิกจ่ายจริง โดยให้กรอกค่าใช้จ่ายในใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินของโครงการ BRT แทนใบเสร็จรับเงิน
  • - นักศึกษา สามารถเบิกค่าพาหนะได้ ตามการเบิกจ่ายจริง แต่ในวงเงินไม่เกิน 200 บาท โดยให้กรอกค่าใช้จ่ายในใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินของโครงการ BRT แทนใบเสร็จรับเงิน
 
หอยทากบก...ในงานพฤกษาสยามครั้งที่ 6 PDF พิมพ์ อีเมล

ซุ้มนิทรรศการเดอะมอลล์บางแค 12-21 กันยายน 2551  

เจาะลึกเรื่องราวของหอยทากอย่างหมดเปลือก


        ท่านทราบหรือไม่ว่า  หอยทากมีกำเนิดในโลกมาราว 200 ล้านปีมาแล้ว วิวัฒนาการจากการดำรงชีวิตอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก  เมื่อมาอยู่บนบกทำให้ต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้หอยทากเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจอย่างยิ่ง



        โครงการ BRT ร่วมกับ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอความมหัศจรรย์ของหอยทากบกที่บางชนิดมีความสวยงามของฝาปิดเปลือก  บางชนิดมีการลดรูปของเปลือกด้วยการเอาเนื้อหอยมาคลุมเปลือกไว้ แล้วปล่อยเมือกเหนียวออกมา  บางชนิดลดเปลือกลงอย่างหมดสิ้น  อีกทั้งยังมีการเวียนซ้ายและเวียนขวาของเปลือกที่สุดแสนจะมหัศจรรย์  เรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้ พบได้ในงานพฤกษาสยามครั้งที่ 6 นี้เท่านั้น
โปสเตอร์
 
สุดแสนอาลัยกับการจากไปของอาจารย์จารุจินต์ นภีตะภัฏ PDF พิมพ์ อีเมล

ดร.จารุจินต์ นภีตะภัก

 

 

 โครงการ BRT ขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสีย
นักธรรมชาติวิทยาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประเทศไทย

 
โฮย่า (Hoya) ชนิดใหม่ของโลก PDF พิมพ์ อีเมล
Hoya balaensis Kidyoo & Thaithong         โฮย่าชนิด Hoya balaensis Kidyoo & Thaithong เป็นชนิดใหม่ของโลกที่พึ่งสำรวจพบ โดย ดร.มานิต คิดอยู่ และคณะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ช่อดอกคล้ายแบบช่อซี่ร่ม (umbelliform) มีกลีบดอกสีครีมหรือขาวอมเหลือง กระบังรอบ (corona) เป็นรูปดาวห้าแฉกสีขาวอมชมพูสวยเด่น และกลุ่มเรณู (pollinium) สีเหลือง พบโฮย่าชนิดใหม่นี้ขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้น โดยพันรอบต้นไม้ยืนต้นอื่นๆ ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547


        โฮย่าอยู่ในกลุ่มพืชที่มียางสีขาวคล้ายนม (milkweed family, Asclepiadaceae) กลุ่มเดียวกับพวกดอกรักที่นำมาร้อยพวงมาลัย ลักษณะเด่นจะมียางสีขาวทั่วทั้งต้น คล้ายน้ำยางของพวกยางพารา และมีช่อดอกสวยงาม พืชสกุลนี้สามารถพบได้ในจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย ทั่วโลกน่าจะมีสมาชิกมากกว่า 100 ชนิด ในไทยพบประมาณ 40 ชนิด  


        เป็นที่น่าภูมิใจสำหรับคนไทยที่มีพืชพันธุ์หลากหลายชนิดอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลาที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารของสัตว์ และเป็นแหล่งสนองปัจจัย 4 ให้กับชาวบ้านในแถบนั้นได้ใช้สอย อีกทั้งยังเป็นแหล่งห้องสมุดที่มีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง



ผลงานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร BLUMEA

อ้างอิง : Kidyoo, M. and Thaithong, O. 2007. A New Species of Hoya (Asclepiadaceae) from Southern Thailand. BLUMEA, 52: 327-330.

ข้อมูล/ภาพ : ดร.มานิต คิดอยู่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
ค้นพบไผ่ Dendrocalamus khoonmengii ไผ่ชนิดใหม่ของโลก PDF พิมพ์ อีเมล

Dendrocalamus khoonmengii Sungkaew, A. Teerawatananon & Hodk.ดร.สราวุธ สังข์แก้ว และคณะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ตีพิมพ์รายงานการค้นพบไผ่ Dendrocalamus khoonmengii Sungkaew, A. Teerawatananon & Hodk. ซึ่งเป็นชนิดใหม่ของโลก ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จ. นครศรีธรรมราช  ไผ่ชนิดนี้มีประวัติย้อนหลังไปในปี พ.ศ. 2543 หลังจากที่ ศ.ดร. Wong Khoonmeng นักพฤกษศาสตร์ชาวมาเลเซียและเพื่อนร่วมงาน ได้สำรวจพบไผ่ชนิดนี้ครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จ. นครศรีธรรมราช ต่อมา ดร. สราวุธ และคณะ ไปเก็บตัวอย่างไผ่ดังกล่าวอีกครั้ง หลังจากทำการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นไผ่ชนิดใหม่ของโลก จึงได้ทำการตั้งชื่อไผ่ชนิดนี้ว่า Dendrocalamus khoonmengii Sungkaew, A. Teerawatananon & Hodk. เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศ. ดร. Wong Khoonmeng นักพฤกษศาสตร์ชาวมาเลเซียผู้คร่ำหวอดกับงานวิจัยไผ่มากว่า 20 ปี

ไผ่ในสกุล Dendrocalamus ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 50 ชนิด กระจายอยู่ทั่วไปในทางใต้ของจีน อินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และปัวนิวกินี ส่วนในไทยมีรายงานว่าพบ 8 ชนิด

อ้างอิง : Sungkaew, S. et al. 2007. Dendrocalamus khoonmengii, a new bamboo species (Poaceae:  Bambusoideae) from peninsular Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany), 35: 98-102.

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL