หายหน้าหายตากันไปนานด้วยติดภาระหน้าที่อื่น จึงขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้ อย่างไรก็ตาม BRT Magazine ฉบับที่ 26 ยังคงเต็มเปี่ยมด้วยเนื้อหาสาระและภาพสิ่งมีชีวิตที่สวยงามและหาดูได้ยากจากงานวิจัยของคนไทย
BRT ยังคงร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี ชาร์ลส์ ดาร์วิน และครบรอบ 150 ปีการประกาศทฤษฎี The Origin of Species ที่ยิ่งใหญ่ กับงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ด้วยการจัดนิทรรศการ "เปิดโลกมหัศจรรย์แห่งวิวัฒนาการ" ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประกอบด้วยชุดนิทรรศการ 15 ชุด เช่น การแปรผันของสิ่งมีชีวิต การปรับตัว การเกิดสปีชีส์ใหม่ วิวัฒนาการจากน้ำสู่บก เป็นต้น จึงถือโอกาสนี้นำบทความที่ปรากฏในบอร์ดนิทรรศการมาเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันมากขึ้น นิทรรศการดังกล่าวเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2552 - มีนาคม 2553 อย่าลืมแวะไปดูกันให้ได้นะคะ
เนื้อหาภายในฉบับนี้ยังคงคุณภาพ ทั้งการเปิดโลกความมหัศจรรย์ใต้ทะเล กับ สาหร่ายทะเล ที่เปรียบเหมือนผืนป่าขนาดเล็กใต้ท้องทะเล และที่น่าทึ่ง คือ ชีวิตของนกปรอดโอ่งเมืองเหนือ ที่ลูกนกไม่ยอมออกจากรังไปหากินเหมือนลูกนกทั่วไป แต่กลับอยู่กับพ่อแม่เพื่อช่วยเลี้ยงน้องๆ ทำไมพวกมันถึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น พบกับคำตอบได้ใน BRT Magazine ฉบับนี้ค่ะ และอย่าลืมเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคมนี้ มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง พบกันฉบับหน้าค่ะ |
|
ฉบับที่ 25 : พฤศจิกายน 2551 |
|
|
|
สวัสดีปีใหม่ พุทธศักราช 2552 ขอให้ผู้อ่านทุกท่านประสบแต่ความสุข สุขภาพแข็งแรง เงินทองไหลมาเทมา และขยันขันแข็งทำงานต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ
ปี 2552 นักชีววิทยาทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบ 200 ปี ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก และครบรอบ 150 ปี การประกาศทฤษฎี The Origin of Life ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้มนุษย์ได้เรียนรู้วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเป็นครั้งแรก BRT Magazine ได้ใช้โอกาสนี้ร่วมเฉลิมฉลองด้วยการเปิดซีรีส์พิเศษ “ชาร์ลส์ ดาร์วิน : ประวัติ ชีวิต และผลงาน” มี 6 ตอนจบ เริ่มตอนแรก “วัยเยาว์” ในฉบับที่ 25 นี้ ต้องติดตามเรื่องราวของดาร์วิน ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการชีววิทยา
BRT Magazine ฉบับที่ 25 นี้ ยังครบเครื่องเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเหมือนเช่นเคย เริ่มตั้งแต่เปิดโลกชีวภาพกับการปรับตัวของปูทะเลกับเจ้าบ้าน “ทำไมเราถึงต้องอยู่ด้วยกัน?” เป็นปริศนาที่ปูน้อยสร้างความมหัศจรรย์ไว้กับท้องทะเล ตามมาด้วยความงดงามของพรรณไม้บนเขาหิน ใต้สุดชายแดนสยามที่งดงามราวดั่งกับสรวงสวรรค์ และวิธีการศึกษาพรรณไม้ชนิดใหม่ มีวิธีการกันอย่างไร ท้ายสุดพบกับวิธีการจัดการ “มันสุนะ” หัวกลอยที่มีพิษของซาไกที่น่าสนใจ เพราะกว่าพวกเขาจะรู้วิธีขจัดพิษคงต้องลองผิดลองถูกและสูญเสียไปไม่มากก็น้อย ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีความสุข พบกันฉบับหน้า |
|
|
|
|