RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย PDF พิมพ์ อีเมล

หนังสือ “องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย”
ศ.ดร.สุธรรม อารีกุล

น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 

จากงานวิจัยองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทยโดย ศ.ดร.สุธรรม อารีกุล  กว่า 3 ปีที่ได้ประมวลความรู้จากชาวเขาและชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับพืชป่า ทั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อท้องถิ่น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ การขยายพันธุ์ ถิ่นที่พบ การใช้ประโยชน์ คุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าของเส้นใย คุณค่าของสี คุณค่าของน้ำมันหอมระเหย คุณค่าทางเนื้อไม้ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา  และสารสำคัญที่พบในส่วนต่างๆ ของพืช  เป็นจำนวนถึง 1,489 ชนิด

ผลงานวิจัยที่มีคุณค่าดังกล่าวได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ “องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา พุทธศักราช 2549 และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550  1 ชุด มี 3 เล่ม จัดจำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด

องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1  องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2  องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3

สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่โครงการ BRT  02-6448150-4  ต่อ 552 คุณวาริน โน๊ตชัยยา

 
ขอความร่วมมือเรื่องการจัดทำรายงานความก้าวหน้า PDF พิมพ์ อีเมล

โครงการ BRT ขอความร่วมมือจากผู้รับทุนทุกท่านในการจัดทำรายงานความก้าวหน้า/รายงานฉบับสมบูรณ์หรือการส่งไฟล์งานใดๆ มายังโครงการ BRT ใคร่ขอให้จัดทำโดยใช้ Microsoft Office เวอร์ชั่น 2003 กรุณาหลีกเลี่ยงการใช้ Microsoft Office เวอร์ชั่น 2007 เนื่องจากสำนักงานโครงการ BRT ยังไม่มีการใช้งาน Microsoft Office เวอร์ชั่นดังกล่าว ทำให้การรับไฟล์งานเพื่อนำมาจัดการต่อมีความยุ่งยากเพราะต้องแปลงไฟล์งานดังกล่าวเป็นเวอร์ชั่น 2003 ก่อน

 
ผู้รับทุนโปรดอ่าน !!! (การประกวดผลงาน และเงินสนับสนุนพิเศษ) PDF พิมพ์ อีเมล

ความท้าทายรอคุณอยู่ข้างหน้า

ตัวอย่างผลงานสิ่งประดิษฐ์ : โมเดลสังคมเห็ดมาลาสเมียส ·  การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (อาจเปลี่ยนโฉมหน้านิทรรศการในประเทศไทย)  สมัครได้ที่นี่ / ดูตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่นี่
·  เฟ้นหานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการ  โปรดสมัคร
·  โปสเตอร์  โปรดอ่านเกณฑ์การจัดโปสเตอร์
·  BRT Fancy’s night   ถ้าคุณคิดว่า คุณแน่ โปรดสมัครเพื่อแสดงออก 1 ปี มีครั้งเดียว

  

 

ารขอเงินสนับสนุนพิเศษ เพื่อเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 13

ู้สนใจโปรดอ่านเกณฑ์การขอเงินสนับสนุน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อกรอกรายละเอียด และส่งมาที่โทรสาร 0-2644-8106 หรืออีเมลล์ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน หรือ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน  มดเขตยื่นแบบฟอร์มภายใน 31 สิงหาคมนี้

อ่านหลักการและเกณฑ์การขอเงินสนับสนุน
         ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอเงินสนับสนุน
                     ดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายงานการใช้จ่ายเงิน
                                   ดาวน์โหลดใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

อบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT โทรศัพท์ 0-2644-8150-4 ต่อ 513 และ 552
 
โครงการ BRT จับมือ ปตท. ขึ้นรถไฟสายใต้ PDF พิมพ์ อีเมล

โครงการ BRT จับมือ ปตท. ขึ้นรถไฟสายใต้ สู่เส้นทางวิจัย โครงการหาดขนอมระยะที่ 2

       การสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน โดยเน้นการสร้างจิตสำนึก แทนการให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจกระแสหลัก เป็นการพัฒนาทรัพยากรบนฐานความรู้ คือ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

       หาดขนอม และหมู่เกาะทะเลใต้ ในพื้นที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ข้อมูลจากการวิจัยเบื้องต้นโดยโครงการ BRT พบสิ่งมีชีวิตกว่า 700 ชนิด มีแหล่งหญ้าทะเล และป่าชายเลนที่สมบูรณ์ แต่พื้นที่ดังกล่าวกำลังถูกภัยคุกคาม เช่น ภาวะการลดลงของจำนวนโลมาสีชมพู ที่ขณะนี้เหลือเพียง 50 ตัวเท่านั้น โดยได้รับผลกระทบโดยตรงจากการทำประมงที่ไม่ถูกต้อง เรืออวนรุน อวนลาก ได้คร่าชีวิตโลมาสีชมพูไปแล้ว 26 ตัว ภายในเวลา 3 ปีที่ผ่านมา จากการติดอวนเรือประมง นี่เป็นเพียงผลกระทบทางตรงเท่านั้น แต่ในทางอ้อม เรือประมงเหล่านี้จะสร้างความเสื่อมโทรมให้กับทรัพยากรชีวภาพต่างๆ

        การลดลงของจำนวนโลมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการท่องเที่ยวชมโลมา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางเลือกด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ ขึ้นมารองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ซึ่งในบริเวณหาดขนอม และหมู่เกาะทะเลใต้ มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้หลายแห่ง เช่น แนวหญ้าทะเล หินพับผ้าแหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา และแหล่งศึกษาพฤกษศาสตร์หายากบนเกาะนุ้ย

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ        นอกจากนี้ การขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวจากเกาะสมุยมายังขนอมในอนาคต อาจนำความเจริญเข้ามาพร้อมกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีการพัฒนาของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในบริเวณนี้ การสร้างองค์ความรู้ด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพในบริเวณหาดขนอม หมู่เกาะทะเลใต้เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาโครงการต่างๆ รวมถึงการระงับข้อพิพาทต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดแนวคิดการร่วมมือกันเพื่อทำวิจัยสร้างองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ในกับชุมชน โดย โครงการ BRT และ ปตท. ซึ่งการลงนามความร่วมมืองานวิจัย “โครงการหาดขนอมระยะที่ 2” เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา

       ทั้งนี้ เป้าหมายของการทำวิจัยในพื้นที่หาดขนอม จะเน้นการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในหลายจุด อาทิ บริเวณอ่าวท้องหยี เน้นการอนุรักษ์แนวปะการัง หาจุดการกระจายของไข่ปะการัง เพื่อวางแผนการอนุรักษ์แหล่งปล่อยไข่ปะการัง ศึกษาระบบนิเวศเขาหินปูนที่สมบูรณ์ บริเวณเขาชัยสน ศึกษาและอนุรักษ์หิ่งห้อย บริเวณคลองบางแพง เป็นต้น

        ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 9 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน โครงการ BRT ได้ร่วมมือกับ ปตท. ขับเคลื่อนการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่ผืนป่าทองผาภูมิตะวันตก ขึ้นไปถึงป่าเมฆ บนผืนป่าเขานัน จ.นครศรีธรรมราช ทำให้ได้องค์ความรู้มากมาย ทั้งการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ สิ่งมีชีวิตที่มีรายงานพบครั้งแรกในประเทศไทย สิ่งมีชีวิตประจำถิ่น สิ่งมีชีวิตหายาก ระบบนิเวศประจำถิ่น เกิดผลกระทบด้านสังคม มีการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ ทั้งนักวิจัยรุ่นใหม่ สร้างความรู้ให้กับเยาวชน และชุมชน ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ มีการศึกษาต่อยอดจากสิ่งมีชีวิตที่พบ สู่การพัฒนาเทคโนโลยี และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม เช่น สเปรย์น้ำมันหอมระเหยกำจัดไรฝุ่น ซึ่งการลงนามความร่วมมือการวิจัยครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ คาดหวังให้มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาชุมชน สร้างความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติคงอยู่อย่างยั่งยืน

 
งานแถลงข่าวกิ้งกือกระบอก 12 ชนิดใหม่ของโลก PDF พิมพ์ อีเมล

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว

“กิ้งกือกระบอก 12 ชนิดใหม่ของโลก ขุมทรัพย์ใต้ดินที่คนไทยควรรู้จัก”

        กิ้งกือเคยถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ ด้วยจำนวนขาที่มากเกินกว่าใครจะนับได้ จนทำให้บางครั้งกิ้งกือต้องถูกทำลาย โดยหารู้ไม่ว่ากิ้งกือเหล่านี้คือผู้ผลิตขุมทรัพย์ใต้ดินให้กับผืนแผ่นดินไทย กิ้งกือมีบทบาทสำคัญในการทำให้ไม้ผลัดใบในป่าสามารถยืนต้นได้อย่างสง่างาม และทำให้ผลผลิตทางการเกษตรงอกงาม โดยกิ้งกือจะเป็นผู้ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ที่อยู่ตามพื้นดิน และเปลี่ยนของที่ไร้ค่าให้เป็นปุ๋ยที่มีคุณค่ามหาศาล

       ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของนักวิจัยชาวต่างชาติว่ามีความหลากหลายของกิ้งกือสูงมาก ที่ผ่านมามีการค้นพบกิ้งกือกว่า 100 ชนิดในประเทศไทย หากแต่เป็นการศึกษาโดยชาวต่างชาติทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ขณะนี้คณะนักวิจัยไทยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มมีการศึกษากิ้งกืออย่างจริงจังแล้ว โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย (โครงการ BRT) ทำให้สามารถค้นพบกิ้งกือกระบอกสายพันธุ์ใหม่ของโลกได้ถึง 12 ชนิด

        เพื่อให้คนไทยได้รู้จักประโยชน์ และความหลากหลายของกิ้งกือในประเทศไทย โครงการ BRT จึงร่วมมือกับอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) จัดงานแถลงข่าว “กิ้งกือกระบอก 12 ชนิดใหม่ของโลกขุมทรัพย์ใต้ดินที่คนไทยควรรู้จัก” และเปิดตัวนิทรรศการ “ค้นพบใหม่ มหัศจรรย์แห่งชีวิต”  จึงขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานดังกล่าว ในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 เวลา 14.00 – 15.00 น. ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซนทรัลเวิร์ล


สอบถามรายละเอียด ติดต่อที่  พลอยพรรณ จันทร์เรือง
โครงการบีอาร์ที โทร. 0-2644-8150-4 ต่อ 557
โทรสาร 0-2644-8106
 e-mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

-----------------------------------------------------------------------

กำหนดการงานแถลงข่าว
“กิ้งกือกระบอก 12 ชนิดใหม่ของโลกขุมทรัพย์ใต้ดินที่คนไทยควรรู้จัก”
และเปิดตัวนิทรรศการ “ค้นพบใหม่ มหัศจรรย์แห่งชีวิต” 
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 
เวลา 14.00 – 15.00 น.
ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซนทรัลเวิร์ล

                

                     13.30 น.  ลงทะเบียนสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมงาน

                     14.00 น.  เริ่มงานแถลงข่าว กิ้งกือกระบอก 12 ชนิดใหม่ของโลก
                                                       โดย ศ.ดร.สมศักดิ์  ปัญหา 
                                                                       ภาควิชาชีววิทยา  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                                        ดำเนินรายการโดย คุณรังสิมา ตัณฑเลขา 
                                                                       ผู้จัดการโครงการ BRT

                     15.00 น.  ชมนิทรรศการ ค้นพบใหม่ มหัศจรรย์แห่งชีวิต และรับประทานอาหารว่าง

///////////////////////////

ไฟล์แนบข้อมูลประกอบ

 

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL