RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


Marine Biodiversity : Khanom-South Sea, Thailand PDF พิมพ์ อีเมล

หนังสือภาพใต้ทะเลเล่มแรกของโครงการ BRT

รวบรวมภาพสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ ท้องทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่ละภาพได้ถ่ายทอดเรื่องราวของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ บางภาพเป็นภาพสิ่งมีชีวิตที่หาได้ยากมากในน่านน้ำไทย แต่สามารถพบได้ใต้ท้องทะเลแห่งนี้ บางภาพเป็นภาพแรกของโลกที่บันทึกได้ขณะยังมีชีวิตอยู่

จากฝีมือการถ่ายภาพของช่างภาพใต้น้ำมืออาชีพ และการร่วมดำน้ำของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่คอยกำกับให้ภาพใต้ทะเลเหล่านี้ มีทั้งความสวยงามและเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวิชาการ

สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่โครงการ BRT ในราคาพิเศษ เล่มละ 1,200 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โครงการ BRT โทร 0-2644-8150-4 ต่อ 552

สั่งซื้อออนไลน์ที่นี่

 

ดาวตระกร้า หรือ ดาวตาข่าย (Basket star, Euryle aspera) ดาวเปราะชนิดที่พบยากมากในน่านน้ำไทย

ภาพแรกของโลกที่ถ่ายได้ขณะที่ดาวเปราะกัลปังหาร่อง (Gorgonian brittle star, Ophiopsammium semperi) ยังมีชีวิต

ปลาบู่มหิดล (Flagfin prawn goby, Mahidolia mystacina) ปลาที่หาได้ยากในน่านน้ำไทย

แต่สามารถพบได้ในน่านน้ำขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้

ปะการังอ่อน (Cladiella sp.)

เพรียงหัวหอมเคลือบสีส้ม (Orange ascidian, Didemnum sp.)

สัตว์ที่อยู่ระหว่างรอยต่อของสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ทากเปลือยฟลาเบลลิน่า (Flabellina rubrolineata)

 

 

 
BRT จับมือ TOTAL ส่งมอบทุ่นเพื่อการอนุรักษ์โลมาสีชมพู PDF พิมพ์ อีเมล

ทุ่นกำหนดเขตทางทะเลเพื่ออนุรักษ์โลมาสีชมพู

จุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพร่วมกับชุมชน

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2552 โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ร่วมกับ บริษัท โททาล อีแอนด์พี ไทยแลนด์ มูลนิธิ โททาล สาธารณรัฐฝรั่งเศส และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีพิธีส่งมอบทุ่นกำหนดเขตทางทะเลเพื่อการอนุรักษ์โลมาสีชมพู แนวหญ้าทะเล และปะการังชายฝั่ง ให้แก่ชุมชนชาวขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้กำหนดอาณาเขตแหล่งที่อยู่อาศัยของโลมาสีชมพู ซึ่งเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์โลมาสีชมพู และทรัพยากรทางทะเลในบริเวณอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยร่วมกับชุมชนอย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมราชาคีรี รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดนครศรีธรรมราช

โครงการจัดทำทุ่นกำหนดเขตทางทะเลเพื่อการอนุรักษ์โลมาสีชมพู แนวหญ้าทะเล และปะการังชายฝั่งในครั้งนี้ ใช้ทุ่นทั้งหมด 30 ลูก ระยะทาง 12 กิโลเมตร ตลอดแนวชายฝั่งทะเล ตั้งแต่บริเวณเกาะผี ซึ่งเป็นเขตรอยต่อทะเลจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปจนถึงอ่าวท้องโหนดบริเวณที่มีโลมาสีชมพูอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยชุมชนตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบทบาทหลักในการดูแลรักษาแนวทุ่นกำหนดเขตเพื่อการอนุรักษ์โลมาสีชมพู

แนวทุ่นดังกล่าวจะช่วยในการบอกแนวเขตที่อยู่ และแหล่งหาอาหารของโลมาสีชมพู ซึ่งเรือนำเที่ยวสามารถมาจอดในบริเวณดังกล่าวเพื่อรอชมโลมาได้ นอกจากนี้ยังเป็นแนวเขตหลักที่กำหนดไว้เพื่อป้องกันเรือประมง และเรือขนส่งขนาดใหญ่ที่จะเข้ารบกวนในบริเวณที่มีโลมาสีชมพูอาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือประมงขนาดใหญ่ที่เป็นเรือประมงอวนรุน อวนลาก นอกจากจะรบกวน กีดขวางเส้นทางของโลมาสีชมพูจนเป็นสาเหตุหลักของการตายของโลมาแล้ว การใช้อวนลาก หรือรุนไปตามพื้นท้องทะเลเพื่อกวาดเอาทรัพยากรใต้ทะเล ยังส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพใต้ทะเลลดลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเปิดตัวหนังสือภาพใต้ทะเล "Marine Biodiversity : Khanom-South Sea Thailand" หนังสือภาพใต้ทะเลที่บรรจุภาพสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใต้ทะเลขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ โดยช่างภาพถ่ายใต้น้ำมืออาชีพร่วมกับนักวิจัย BRT

   

 ทุ่นกำหนดแนวเขตทางทะเล เพื่อการอนุรักษ์                            "Marine Biodiversity : Khanom-South Sea Thaiand"

 

    

 ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการวางแนวทุ่น                    ดร.อัญชนา ประเทพ และดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ พิธีกร

ผู้บริหารจาก TOTAL และ BRT

 
นิทรรศการ 200 ปี Charles Darwin PDF พิมพ์ อีเมล

อีกไม่กี่วันที่จะก้าวผ่านปี 2009 ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลองครบอายุ 200 ปีของ Charles Darwin และ 150 ปีการตีพิมพ์ครั้งแรกของหนังสือ The Origin of Species พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงร่วมส่งท้ายการเฉลิมฉลองในปีนี้ด้วยการจัดนิทรรศาร 200 ปี Charles Darwin

เื่พื่อรำลึกถึง Charles Darwin นักชีววิทยาผู้มีคุณอนันต์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาของโลก และกระตุ้นให้นักชีววิทยาตระหนักถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นิทรรศการ 200 ปี Charles Darwin ได้บรรจุเรื่องราวเส้นทางของการพัฒนาการศึกษาด้านวิวัฒนาการ ตั้งแต่ก่อนยุคดาร์วิน และชีวประวัติของดาร์วิน ทั้งการศึกษาไปจนถึงการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ที่เป็นจุดกำเนิดของแนวคิดการคัดสรรโดยธรรมชาติ จนกลายเป็นหนังสือว่าด้วยเรื่องวิวัฒนาการชื่อก้องโลก "The Origin of Species" และยุคหลังดาร์วิน ซึ่งไม่เพียงสารคดีสั้นที่บรรยายเรื่องราวในแต่ละช่วงเท่านั้น พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยายังได้นำตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ที่มีความเชื่อมโยงกับชีวิตของดาร์วินมาให้ชมกันด้วย เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง พรรณไม้ที่เป็นสุดยอดแห่งการปรับตัว แมลงนานาชนิด ตัวอย่างนกสต๊าฟ หนังสือ The Origin of Species และตัวอย่างของเพรียงหิน

นิทรรศการ 200 ปี Charles Darwin จะจัดถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ที่ อาคารจัตุรัสจามจุรี (จามจุรี สแควร์) ชั้น G บริเวณโถงรูปไข่

 
สถานภาพการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพในองค์กรวิจัยและพัฒนาฯ PDF พิมพ์ อีเมล

จากการที่ ดร.ธนิต ชังถาวร นักวิจัยด้านกฎหมายเทคโนโลยีชีวภาพของศูนย์ไบโอเทค ได้นำเสนอผลงานวิจัย “สถานภาพการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพในองค์กร วิจัยและพัฒนาในประเทศไทย : กรณีศึกษาทรัพยากรชีวภาพพืช” ในเวทีการประชุมประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 13 ในระหว่างวันที่ 12-14 ตุลาคม 2552 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ นั้น

ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจงานวิจัยดังกล่าวเป็นอย่างมาก โครงการ BRT จึงขอนำเอกสารรายงานการวิจัยของผลงานวิจัยดังกล่าวมาให้ผู้สนใจได้ศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

ดาวน์โหลด "รายงานสถานภาพการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพใน องค์กรวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย : กรณีศึกษาทรัพยากรชีวภาพพืช"

 
งาน MOU ด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี PDF พิมพ์ อีเมล

BRT หอบผลงานโชว์ในงานลงนามความร่วมมือระหว่าง สกว. และ สวทช.

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างมีศักยภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีั และนวัตกรรมเพื่อการผลิตและการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของภาคเอกชนไทย อันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย สนับสนุนให้มีการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยและใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ ให้เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภค

ด้าน นายสวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า สกว. และ สวทช. มีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อโครงการที่ร่วมมือกันอยู่แล้ว ให้มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป และจะร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่ตรงกับนโยบายของประเทศ และตรงกับความต้องการของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน อาหาร เกษตร และอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาฐานข้อมูลให้ครอบคลุมข้อมูลด้านอื่นๆ เช่น ข้อมูลนักวิจัย ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จัก และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น

ทั้งนี้ โครงการ BRT ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ได้ไปร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งกล่าวสรุปผลการดำเนินงานกว่า 13 ปีที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการสนับสนุนการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ มากมาย มีการสร้างนักวิจัย นักศึกษารุ่นใหม่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และผลงานสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ความรู้ให้แก่สาธารณชน

พร้อมกันนี้โครงการ BRTยังได้มีการนำตัวอย่างผลงานไปแสดงในงานครั้งนี้ด้วย อาทิ สิ่งประดิษฐ์ปั้นดินให้เป็นดาว ผลงานที่ถ่ายทอดกระบวนการกว่าจะมาเป็นผลิตภัณฑ์สาหร่ายนอสตอคปรับปรุงคุณภาพดิน , ผลงานหนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ , BRT Magazine และผลิตภัณฑ์สเปรย์หอมระเหยกำจัดไรฝุ่น Mite Fear เป็นต้น

 

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL