RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


ฐานข้อมูลนักวิชาการประเทศไทย PDF พิมพ์ อีเมล

Biodata

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดทำฐานข้อมูลนักวิชาการประเทศไทยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้นักวิชาการ และนักวิจัยไทยทุกท่านได้เข้ามาลงทะเบียนและให้ข้อมูลส่วนบุคคล (CV) รวมถึงความสนใจในหัวข้องานวิจัยของตน ลงในฐานข้อมูลนี้ เผื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลให้ทาง สกว. ซึ่งเวลาที่มีโจทย์งานวิจัยใดๆ เข้ามาสกว.จะได้มีข้อมูลของนักวิจัยผู้ที่มีความสนใจตรงกับหัวข้องานวิจัยนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะหานักวิจัยที่ "เหมาะที่สุด"  มาหารือพัฒนา proposal วิจัยนั้นๆ

ผู้ใดสนใจสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์นี้:    
http://biodata.trf.or.th/

 
บทความเด่น: ธรรมชาติกับวัฒนธรรมและสังคมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ PDF พิมพ์ อีเมล

ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิสุทธิ์  ใบไม้ ภาควิชาชีววิทยา  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการโครงการ BRT 

"ธรรมชาติของสรรพสิ่งตามความเป็นจริงแห่งไตรลักษณ์และธรรมชาติของสสารที่ประกอบกันเป็นรูปร่างของสรรพชีวิตรวมทั้งมนุษย์ซึ่งเป็นสุดยอดของสัตว์โลกที่มีพัฒนาการทางด้านจิตสังขารและจิตวิญญาณเหนือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นใดในโลกนี้ "

ดาวน์โหลดบทความ

 
II International Field Ecology Symposium PDF พิมพ์ อีเมล

รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตรผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงาน II  International Field Ecology Symposium ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 มกราคม 2550 ที่ผ่าน ณ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน โดยมีหัวข้อการประชุมว่า "Biodiversity Management" การจัดงานครั้งนี้มีภาควิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ คณะทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยมี Dr. George Gale และ Dr. Tommaso Savini เป็นผู้ดำเนินการจัดงาน และโครงการ BRT เป็นผู้สนับสนุนหลัก พิธีเปิดการประชุมจัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ 25 ม.ค. 2550 ซึ่งภายหลังจากที่เจ้าภาพได้กล่าวเปิดงานแล้ว รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร รอง ผอ.โครงการ BRT ได้ขึ้นกล่าวแนะนำโครงการ BRT หลังจากนั้นก็เป็นเวทีการนำเสนอผลงาน ซึ่งมีนักวิจัย และนักศึกษาหมุนเวียนกันมานำเสนอผลงาน 

งาน International Field Ecology Symposium นี้เป็นงานที่จัดเพื่อโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเวทีพบปะ แลกเปลี่ยนผลงานและประสบการณ์ของผู้ทำงานวิจัยด้านนิเวศวิทยา การจัดงานนี้มีขึ้นเป็นครั้งที่สอง(ครั้งแรกเมื่อปี 2005) มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประมาณ 100 คน มีผู้นำเสนอผลงานวิจัยจำนวน 55 คน และนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์อีกจำนวน 18 งาน ผู้ที่มานำเสนอผลงานมีทั้งนักวิจัยทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ศึกษาด้านนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ นับเป็นอีกหนึ่งเวทีที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษาทางด้านนิเวศวิทยาที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานวิจัยกับนักวิจัยผู้มีประสบการณ์ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

สำหรับในพิธีปิด Dr.George ก็ได้มากล่าวสรุปถึงจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ และแผนการณ์ในอนาคตสำหรับ International Field Ecology Symposium ครั้งต่อไปซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะจัดร่วมกับ ATBC-The Association for Tropical Biology and Conservation นอกจากนี้ Dr.George ยังกล่าวอีกว่าจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีถ้าจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีการสอนทางด้านนิเวศวิทยาสำหรับผู้ที่พลาดงานในครั้งนี้ สามารถติดตามได้อีกครั้งใน 2 ปีข้างหน้า

 

 
นักวิจัย BRT ได้รับรางวัล MORRIS F. SKINNER AWARD PDF พิมพ์ อีเมล

ดร.วราวุธ สุธีธรดร. วราวุธ สุธีธร ขึ้นรับรางวัล MORRIS F. SKINNER AWARD ที่ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับผู้มีผลงานวิจัยโดดเด่นด้านโบราณชีววิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง

 
สมาคมโบราณชีววิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง (The Society of Vertebrate Palaeontology : SVP.) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรซึ่งดำเนินการเพื่อประโยชน์ของมวลหมู่สมาชิก นักโบราณชีววิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วโลก โดยไม่แสวงหากำไร ได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2006 สำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านโบราณชีววิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งหนึ่งในรางวัลเหล่านั้น คือ รางวัล MORRIS F. SKINNER AWARD เป็นรางวัลสำหรับผู้ค้นพบฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความสำคัญมาก สามารถใช้สนับสนุนองค์ความรู้ใหม่ที่โดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์ และยังส่งเสริม สั่งสอน ฝึกอบรม ผู้อื่นให้หันมาศึกษาวิจัยด้านโบราณชีววิทยา ผลการพิจารณาของคณะกรรมการมอบรางวัล MORRIS F. SKINNER AWARD 2006 ให้แก่ ดร.วราวุธ สุธีธร จากกรมทรัพยากรธรณี ประเทศไทย ซึ่งได้เดินทางไปรับรางวัลนี้ ในการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 66 ของสมาคม ระหว่างวันที่ 18 - 21 ตุลาคม 2006 ที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา

 

 
งานวิจัยหอยทากจิ๋ว ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : ผลงานวิจัย ประจำปี 2549 PDF พิมพ์ อีเมล

Opisthostoma beeartee (จากรูป) Opisthostoma beeartee  หอยทากจิ๋วที่ได้รับการตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่โครงการ BRT ที่ได้รับใช้สังคมความหลากหลายทางชีวภาพมาอย่างยาวนาน

 
ขอแสดงความยินดีกับ รศ.สมศักดิ์ ปัญหา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : ผลงานวิจัย ประจำปี 2549 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประเภทชมเชย จากผลงานวิจัยที่ได้ทุ่มเทมาเป็นเวลานาน เรื่อง "อนุกรมวิธานหอยทากจิ๋วเขาหินปูนในประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม" (Taxonomy of Microsnail from Limestone Mountains in Thailand Malaysia and Vietnam) 1 ใน 14 ผลงานวิจัยคุณภาพที่ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้พิจารณาและอนุมัติให้รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2549 ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ BRT มาอย่างต่อเนื่อง

รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติเป็นรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติของนักวิจัยและนักประดิษฐ์คิดค้นไทยทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2517 ปัจจุบันได้แบ่งรางวัลออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เพื่อส่งเสริมและให้กำลังใจแก่นักวิจัยที่ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพดีเยี่ยมในสาขาวิชาการนั้นๆ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

 

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL