RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


สงสัยต้นตอแพร่เชื้อหวัดมรณะ มาจากห้องทดลองผลิตวัคซีน PDF พิมพ์ อีเมล

องค์การอนามัยโลกเร่งหาต้นกำเนิดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หลังนักวิทยาศาสตร์เผยมีเชื้อเล็ดลอดออกจากห้องทดลอง

        องค์การอนามัยโลกได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสืบหาต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช1เอ็น1 ทันที หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียส่งรายงานอ้างสาเหตุการแพร่ระบาดครั้งล่าสุด เป็นผลมาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลองในห้องทดลองวิทยาศาสตร์

        อาเดรน กิบส์ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนายาต้านไวรัสทามิฟลู ของบริษัท โรซ โฮลดิง เอจี ระบุในผลการศึกษาครั้งล่าสุดว่าการกระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ จากไข่ที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสในห้องทดลอง ก่อนที่จะนำเชื้อดังกล่าวมาผลิตเป็นวัคซีน ข้อสันนิษฐานดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากไข่ที่ใช้เลี้ยงเชื้อไวรัสได้ออกไปจากห้องทดลองนั่นเอง

        อย่างไรก็ตาม แนนซี ค็อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยไข้หวัดใหญ่ ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐ ได้ตอบโต้ผลการศึกษาดังกล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดนี้ เกิดจากไข่ตามคำกล่าวอ้างของกิบส์

        นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังได้ประกาศเตือนไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้จำกัดการใช้ยาต้านไวรัส เช่น ทามิฟลู และรีเบนซาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นในว่า จะมียาสำรองเพียงพอ หากเชื้อไวรัสเกิดการกลายพันธุ์และมีอันตรายมากขึ้น

                                               
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม 2552

 
นักสัตววิทยาชี้ “จิ้งจกสีแดง” อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ PDF พิมพ์ อีเมล
จากกรณีที่ชาวบ้าน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้พบจิ้งจกที่มีผิวหนังสีแดงทั้งตัว แถมนิ้วตีนของขาทั้งสี่ข้าง ต่างก็มี 5 นิ้ว การเคลื่อนที่ช้า และเมื่อนำมาใส่ไว้ในตู้กระจก ก็ไม่เกิดการเปลี่ยนสีผิวเพื่อเป็นการพรางตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งต่างจากจิ้งจกบ้านปกติทั่วไปนั้น รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. กล่าวว่า ในเบื้องต้นยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่ามีสาเหตุจากอะไร แต่แนะนำให้ผู้เป็นเจ้าของเลี้ยงต่อไป เพื่อศึกษาพฤติกรรม

จิ้งจกสีแดงจิ้งจกสีแดง

        "จิ้งจกที่มีผิวหนังสีแดงที่พบ ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจเกิดมาจาก การกลายพันธุ์ เนื่องจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมลักษณะของสีผิว หรือ เป็นผลจากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นไม่เพียงส่งผลให้อัตราส่วนของจิ้งจกตัวผู้เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบหลักฐานว่าจิ้งจกที่อาศัยอยู่ใกล้ตู้อบที่มีอุณหภูมิสูง จะทำให้ผิวหนังจิ้งจกมีสีแดงผิดปกติด้วย ส่วนกรณีที่จิ้งจกสีแดงที่พบมีนิ้วตีนห้านิ้วนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในธรรมชาติ แต่นิ้วที่ห้ามักจะมีขนาดเล็กทำให้มองไม่ค่อยเห็น

        อย่างไรก็ดี การที่จิ้งจกมีหลายสีคล้ายเป็นการพรางตัวอาจจะเกี่ยวข้องกับยีน ไม่ได้เกิดจากว่าจิ้งจกหนึ่งตัวสามารถเปลี่ยนสีได้หลายสี ส่วนการเคลื่อนที่ช้าหรือลำตัวมีสีแดงที่เห็นได้เด่นชัดนั้น ถือว่าไม่เป็นผลดีนักต่อตัวจิ้งจก เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของศัตรูได้ง่าย "

       สำหรับข้อสงสัยที่ว่าจิ้งจกแดงที่พบเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศหรือไม่ รศ.ดร.สมโภชน์ กล่าวว่า การตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบลักษณะเดียวกันนี้ ส่วนจะเป็นจิ้งจกสายพันธุ์ใหม่หรือไม่จะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากจิ้งจกสีแดงที่พบมีเพียงแค่ตัวเดียว ทั้งนี้ข้อแนะนำที่ดี คือ ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของเลี้ยงต่อไป พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรมความเป็นอยู่ โดยเฉพาะการขยายพันธุ์ เนื่องจากสัตว์ที่เกิดการกลายพันธุ์มักจะเป็นหมัน แต่ถ้าสามารถผสมพันธุ์มีลูกหลานได้ ก็ต้องติดตามดูว่ารุ่นต่อๆไป จะมีสีผิวหนังเป็นเช่นไร จะเป็นสีแดงเช่นเดียวกันหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมในรุ่นลูกหลานต่อไปด้วย"

        การได้พบตัวอย่างสัตว์แปลกๆ เช่นนี้ ในแง่ของวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่แน่ว่า จิ้งจกสีแดงที่พบนี้ อาจเป็นตัวอย่างชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัยสัตว์ชนิดนี้ในทางชีววิทยาก็เป็นได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2552 14:01 น.

 
ประกาศรับสมัครงานเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการขนอม จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช PDF พิมพ์ อีเมล

        โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย หรือ โครงการ BRT เป็นโครงการสนับสนุนทุนวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย โดยการสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทุนวิจัยมายาวนานต่อเนื่อง 10 ปี เป็นหน่วยงานนอกระบบราชการ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ  สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 73/1 อาคาร สวทช. ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ  10400


        โครงการ BRT ต้องการคนรุ่นใหม่ที่คิดนอกกรอบมาร่วมงานกับโครงการ BRT คุณสมบัติของผู้สมัคร จะต้องรักงานหนัก  ขยัน อดทน  รักการเรียนรู้บนหน้าที่การงาน  มีความสุขและสนุกกับการทำงาน มีไหวพริบ และคล่องแคล่วว่องไว


ตำแหน่ง             เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการขนอม จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช

วุฒิการศึกษา      ขั้นต่ำปริญญาตรี ทุกสาขา

ประสบการณ์      มีประสบการณ์ประสานงานกับชุมชน โรงเรียน และเยาวชน ในภาคสนามอย่างน้อย 3 ปี สามารถทำงานต่างจังหวัดได้  จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ


        ผู้สนใจ กรุณาเขียนใบสมัครโดยดาวน์โหลดที่เว็บต์ไซต์ของโครงการ BRT  พร้อมแนบประวัติส่วนตัว หรือแจ้งประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ส่งมาที่โครงการ BRT 73/1 อาคาร สวทช. ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400  หรือส่งอีเมล์มาที่ อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


วันที่ประกาศ  1 พฤษภาคม 2552

หมดเขตรับสมัคร  15 มิถุนายน 2552


 ดาวน์โหลดใบสมัคร

 
ใช้ไวรัสทำแบตเตอรี่ ใช้งานได้กับรถยนต์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ PDF พิมพ์ อีเมล

ไวรัสนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเสตต์ชื่อดังของอเมริกา  ได้เกณฑ์เอาเชื้อไวรัสมาใช้ทำแบตเตอรี่  ซึ่งวันหนึ่งอาจเอาไปใช้กับรถยนต์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดได้

วงการอุตสาหกรรมจะต้องสนใจ ด้วยเหตุว่ามันผลิตขึ้นได้เร็วและมีต้นทุนถูก

        ศาสตราจารย์แอนเจลา เบลเชอร์ หัวหน้าคณะนักวิจัยขณะนี้ กำลังเร่งมือผลิตแบตเตอรี่ที่มีกำลังไฟสูงขึ้นอยู่วารสาร "วิทยาศาสตร์" เปิดเผยว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เชื้อไวรัสในการสร้างขั้ว บฝวกและขั้วลบ และประจุไฟฟ้าบวกและลบ แบตเตอรี่นี้ก็คล้ายกับแบตเตอรี่ลิ-เธียมที่ใช้กันอยู่ ในอุปกรณ์ต่างๆ เรือนเป็นล้านๆ เครื่อง เพียงแต่ใช้ไวรัสที่ถูกดัดแปลงหน่วยพันธุกรรมมาทำเป็นขั้วบวกและขั้วลบขึ้นเท่านั้น ไวรัสที่มาใช้นี้เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายแบคทีเรีย และไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ แบตเตอรี่มีกำลังไฟและสมรรถภาพ เหมือนกับแบตเตอรี่ที่เติมไฟได้ โดยเสียบกับปลั๊กไฟในรถ

        ศาสตราจารย์ยังได้อวดว่าแบตเตอรี่แบบนี้สามารถจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไม่จำกัด เพราะเหตุว่าไม่ได้ต้องใช้วัตถุอย่างหนึ่งอย่างใด หากมีทางที่จะเลือกและใช้การวิวัฒนาการไปได้เรื่อยๆ โดยอาศัยการดัดแปลงพันธุกรรม

ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 8 เมษายน 2552

 
ไทยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เสือลายเมฆที่ใหญ่ที่สุดในโลก PDF พิมพ์ อีเมล

เสือลายเมฆที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอังคารที่ 7 เมษายน 2552



 

            เสือลายเมฆ แม้จะมีชื่อเป็นเสือ แต่ขนาดของมันไม่ใหญ่เท่ากับเสือ หรือใหญ่กว่าแมวป่าเพียงเล็กน้อย ด้วยลวดลายที่สวยงามของมัน จึงทำให้เป็นหมายปองของบรรดาเหล่านักสะสม เสือลายเมฆจึงถูกล่าเพื่อเอาหนัง และนำไปเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะนิสัยที่ค่อยข้างเชื่อง ไม่ดุร้ายเหมือนเสือหรือแมวป่า

        หากแต่การกำหนดสถานภาพของเสือลายเมฆในปัจจุบันนี้  สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดให้อยู่ในสถานะ DD (Data Defficient) ซึ่งหมายถึง ข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงต้องมีการศึกษาข้อมูลวิจัย เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ในระยะยาว ในที่สุดจึงมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกัน (MOU) ระหว่างองค์การสวนสัตว์ สวนสัตว์แห่งชาติของสถาบันสมิธโซเนียน สวนสัตว์แนชวิลล์ และสวนสัตว์ Point Defiance ของสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยเหลือในการเพาะเลี้ยงเสือลายเมฆ ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

        เสือลายเมฆนายสุริยา แสงพงศ์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว กล่าวว่า ตลอด 6 ปีที่ผ่านมาทีมงานของสวนสัตว์ได้เพาะเลี้ยงเสือลายเมฆ จนได้ลูกมากกว่า 30 ตัว ซึ่งถือเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นศูนย์รวม การศึกษา การวิจัย การจัดการ แหล่งรวมพันธุกรรม นอกถิ่นอาศัยที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของโลก เสือลายเมฆ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pardofelis nebulosa อยู่ในวงศ์ Felidae มีขนาดเล็กกว่าเสือดาว แต่ใหญ่กว่าแมวป่าชนิดอื่นๆที่พบในภูมิภาคอินโดจีน  ลักษณะทั่วไป มีความยาวลำตัวถึงหัว 65-95 ซม. ความยาวหาง 55-80 ซม. น้ำหนักประมาณ 16-23 กก. ขาทั้ง 4 ข้างค่อนข้างสั้น แต่อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการปีนต้นไม้

        ลักษณะเด่นคือ มี ลวดลายตามลำตัวคล้ายก้อนเมฆ...จึงเป็นที่มาของชื่อ...เสือลายเมฆ ลายที่อยู่บนหลัง จะมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณอื่นๆ โดยมี ขอบสีดำล้อมรอบ ขนตามลำตัวสีเหลืองอ่อน บางตัวอาจมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาลเทา ใต้ท้องมีสีอ่อนกว่าลำตัว หางยาวฟูและมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับความยาวลำตัว มีลายจุดสีเข้มตลอดถึงปลายหาง

        การกระจายพันธุ์ตั้งแต่ ประเทศเนปาล สิกขิม ภาคเหนือของ อินเดีย ภาคใต้ของ จีน ไต้หวัน ตะวันตกของ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว และ เกาะสุมาตรา พฤติกรรมมัก ชอบอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว และ หากินตามลำพัง ส่วนมากอยู่บนต้นไม้ แต่ก็ลงมาบนพื้นดินบ้างเป็นครั้งคราว มักหา กินในเวลากลางคืน เหยื่อ ได้แก่ นก ลิง และ งูบางชนิด โดยก่อนกินเหยื่อจะเลียขนของเหยื่อเพื่อทำความสะอาด บางครั้งจะกลับมากินเหยื่อที่เหลือทิ้งไว้จนหมด ใช้เวลาตั้งท้อง 90-95 วัน ตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว โดยลูกเสือแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 150-180 กรัม

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL