สายใยแห่งรักของแม่แมงป่องช้าง |
แมงป่องเป็นสัตว์พวกหนึ่งที่มีความมหัศจรรย์ และความพิเศษที่หาดูได้ยาก นั่นคือ พฤติกรรมการเลี้ยงดูแลลูกของแมงป่อง
เชื่อหรือไม่ แม่ลูกแมงป่องมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ไม่แพ้แม่ลูกคู่อื่นๆ หลังจากปฏิสนธิแล้วลูกอ่อนแมงป่องจะพัฒนาในท้องแม่นาน 8-12 เดือน และคลอดออกมาเป็นตัวทางช่องอวัยวะเพศ (Gonopore) ของเพศเมียที่อยู่ด้านท้อง เมื่อลูกคลอดออกมา แม่จะใช้ขาประคองลูกไว้ไม่ให้ตกสู่พื้น ลูกที่เกิดมาใหม่ประมาณ 20 ตัว จะค่อยๆ ไต่ตัวแม่ขึ้นไป แล้วเรียงตัวเป็นระเบียบบนหลังของแม่
ยกตัวอย่าง ลูกแมงป่องช้างในระยะที่ 1 นี้ แต่ละตัวหนักประมาณ 0.2 กรัม แรกเกิดจะมีสีขาวและสีจะค่อยๆ คล้ำขึ้น แล้วลอกคราบครั้งแรกบนหลังแม่ ใช้เวลาตั้งแต่เกิดจนลอกคราบครั้งที่ 1 ประมาณ 8-9 วัน หลังจากลอกคราบครั้งที่ 1 หมดทุกตัวแล้ว จะอยู่บนหลังแม่ต่อประมาณ 3-4 วัน เมื่อแข็งแรงแล้ว จึงลงสู่พื้นดิน หลังจากที่ลงสู่พื้นดิน ลูกแมงป่องช้างแต่ละตัวมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน มีการลอกคราบเพื่อการเจริญเติบโต 7 ครั้ง หลังจากลอกคราบใหม่ๆ ลูกแมงป่องช้างจะมีสีอ่อนกว่าตัวอื่นๆ ช่วงนี้เป็นช่วงที่อ่อนแอ และมีโอกาสถูกจับกินได้ง่ายทั้งจากผู้ล่าอื่นและจากการกินพวกเดียวกันเอง การเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นตัวเต็มวัยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี จึงจับคู่ผสมพันธุ์ ออกลูกปีละครั้ง และในช่วงชีวิตหนึ่งมีลูกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง แมงป่องช้างเป็นพวกที่ชอบขุดรูอยู่ใต้ดินหรือตามใต้ขอนไม้ โดยในโพรงพบว่ามีการเลี้ยงดูลูกในแต่ละรุ่นเป็นระยะเวลายาวนาน 1-2 ปี ในโพรงจึงพบลูกหลายๆ รุ่นอยู่ด้วยกัน ซึ่ง Shivashankar (1994) เรียกว่าพฤติกรรมการอยู่รวมกันแบบกึ่งสังคม (Advanced sub social behavior) พฤติกรรมที่น่าสนใจของแมงป่องคือการเลี้ยงดูลูก เช่นพบพฤติกรรมการป้อนน้ำให้ลูกของแมงป่องช้างภายนอกโพรง ใกล้ๆบริเวณปากรู แม่ช่วยจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ให้ลูก อีกทั้งป้องกันอันตรายให้ลูก โดยช่วงระยะแรกๆ ลูกมักหลบเข้าซุกใต้ตัวแม่ และอยู่รวมกันเป็นกระจุก แม่แมงป่องป้อนน้ำให้ลูก
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมงป่อง
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones ... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อังคาร, 24 กรกฏาคม 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fibuloides khaonanensis Pinkaew,... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | ศุกร์, 24 กุมภาพันธ์ 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tethygeneia khanomensis Wongkamh... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พุธ, 20 มิถุนายน 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea วงศ์ : ... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | จันทร์, 16 กรกฏาคม 2012 |
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกส่วนใหญ่ และ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 16 กุมภาพันธ์ 2010 |
ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของชนิดสัตว์ส... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 6 สิงหาคม 2009 |
จากข่าวที่เผยแพร่ตามหนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์เกี่ยว... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พุธ, 3 กุมภาพันธ์ 2010 |
งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ที่เป็... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 16 กุมภาพันธ์ 2010 |
เชื่อหรือไม่ว่า สัตว์ป่าอย่างไก่ฟ้า ก็ได้รับผลกระท... ภาวะโลกร้อน | อังคาร, 15 มิถุนายน 2010 |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานค... ภาวะโลกร้อน | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไ... ภาวะโลกร้อน | พฤหัสบดี, 27 พฤษภาคม 2010 |
ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปริมา... ภาวะโลกร้อน | จันทร์, 5 เมษายน 2010 |