ความสำเร็จของชุมชนในการกำหนดพื้นที่ห้ามจับหอยหลอดเพื่อการอนุรักษ์ |
การหาหอยหลอดที่เป็นอาชีพหลักของชุมชนดอนหอยหลอดมากว่า 100 ปี แต่ความต้องการหอยหลอดที่มากขึ้นส่งผลโดยตรงต่อประชากรหอยหลอดที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จากปี พ.ศ. 2547 ที่สามารถหาหอยหลอดได้ 3-8 ตัว/ตารางเมตร ปัจจุบันพบเพียงตารางเมตรละ 1 ตัว หรือไม่พบเลย จากการศึกษาแนวทางการจัดการหอยหลอดอย่างยั่งยืน ทำให้ทราบว่าการปิดพื้นที่หาหอยหลอดจะทำให้หอยหลอดเพิ่มจำนวนขึ้นมาได้ แต่การดำเนินการปิดพื้นที่ดังกล่าวต้องอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือจากชุมชน ซึ่งในความเป็นจริงดำเนินการได้ยาก พื้นที่ดอนหอยหลอด ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยหลอดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดอนหน้าศาล ซึ่งเป็นทั้งแหล่งหาหอยหลอดและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ทว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวดอนหอยหลอดส่งผลให้มีความต้องการหอยหลอดในปริมาณที่มากขึ้น การหาหอยหลอดของชาวบ้านจึงเปลี่ยนวิธีการที่ไม่เหมาะสมและมีจำนวนผู้หาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณหอยหลอดมีแนวโน้มที่ลดลงทุกปี แต่จากการศึกษาข้อมูลประชากรหอยหลอด โดยนายกอบชัย วรพิมพงษ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของโครงการ BRT พบว่าแม้หอยหลอดจะมีจำนวนน้อยแต่หอยหลอดยังคงสามารถสืบพันธุ์ได้ ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ที่ความหนาแน่นของหอยหลอดจะกลับมาชุกชุมอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นนโยบายในการใช้ทรัพยากรหอยหลอดในพื้นที่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการลดลงของประชากรหอยหลอดได้ ด้วยเหตุนี้ จึงได้เกิดการประชุมเพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แบบจำลองบนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อร่วมกันหาแนวทางการจัดการทรัพยากรหอยหลอด จนในที่สุดสามารถกำหนดพื้นที่ห้ามจับหอยหลอดที่ชุมชนยอมรับได้ประมาณ 70 ไร่ อย่างไรก็ดี ขณะที่วางแนวกำหนดเขตห้ามจับหอยหลอดดังกล่าว ได้มีกลุ่มชาวประมงที่ไม่ใช่กลุ่มจับหอยหลอดเข้ามาขัดขวาง จึงทำให้ต้องมีการประชุมเพื่อหารืออีกครั้ง โดยเป็นการหารือร่วมกันระหว่างกลุ่มอนุรักษ์หอยหลอด และกลุ่มชาวประมงที่หากินในพื้นที่ดอนหอยหลอด ผลจากการเจรจาดังกล่าวทำให้สามารถตกลงกัน และเลือกพื้นที่ห้ามจับหอยหลอดใหม่ได้ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 22 ไร่ ซึ่งผลจากการปิดพื้นที่บริเวณดังกล่าวพบว่ามีประชากรหอยหลอดเพิ่มขึ้นจริงในพื้นที่ดังกล่าว
การประชุมโดยใช้แบบจำลองบนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อหาแนวทางการจัดการทรัพยากรหอยหลอด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyropygus bearti ชื่อวงศ์ : Ha... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อังคาร, 14 สิงหาคม 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus kongkandae Welzen & Phatt... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 13 ตุลาคม 2011 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones ... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | อังคาร, 24 กรกฏาคม 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthomorpha communis Likhitrakar... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 24 พฤษภาคม 2012 |
การหาหอยหลอดที่เป็นอาชีพหลักของชุมชนดอนหอยหลอดมากว... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
เถาวัลย์หลง เครือสาวหลง เครือเขาหลง เครือเถาหลง ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 11 กุมภาพันธ์ 2010 |
การดำรงชีวิตของสัตว์ในปัจจุบันมีทั้งอยู่ในน้ำและอย... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 16 กุมภาพันธ์ 2010 |
หลายๆ คนอาจรู้จัก คำว่า เลือดผสม จากโลกแ่ห่งนิยาย ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 6 สิงหาคม 2009 |
ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปริมา... ภาวะโลกร้อน | จันทร์, 5 เมษายน 2010 |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานค... ภาวะโลกร้อน | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
เชื่อหรือไม่ว่า สัตว์ป่าอย่างไก่ฟ้า ก็ได้รับผลกระท... ภาวะโลกร้อน | อังคาร, 15 มิถุนายน 2010 |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไ... ภาวะโลกร้อน | พฤหัสบดี, 27 พฤษภาคม 2010 |