พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนใน แหล่งหากินสำคัญของนกชายเลน |
จากการสำรวจเส้นทางหากินของนกชายเลน พบพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนใน ตั้งแต่แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี จนถึงชายฝั่งจังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่แวะพัก และหากินที่สำคัญของนกชายเลน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกอพยพจากอลาสก้า บางชนิดเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงเข้าขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธ์ จึงควรอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวเพื่อคงพื้นที่หากินของสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก นายศิริยะ ศรีพนมยม คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ทำการศึกษาและติดตามเส้นทางการหากินของนกชายเลนในประเทศไทย โดยการสนับสนุนของโครงการ BRT พบว่านกชายเลนที่หากินอยู่ตามชายฝั่งของประเทศไทย ส่วนใหญ่ไม่ใช่นกประจำถิ่น แต่เป็นนกอพยพที่บินมาจากอลาสก้า โดยมีเส้นทางอพยพจากเอเชียตะวันออกไปยังออสเตรเลีย ซึ่งประเทศไทยถือเป็นจุดแวะพักที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนใน ซึ่งเป็นพื้นที่ชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้นกชายเลนเลือกใช้พื้นที่นี้ในการแวะพักและหากินเนื่องจากมีพื้นที่รวมฝูงที่อยู่ใกล้บริเวณหาดเลน โดยนกจะใช้พื้นที่รวมฝูงสำหรับการหากินและรวมฝูง ในขณะที่น้ำทะเลขึ้นสูงจนท่วมบริเวณหาดเลนที่นกใช้หากินในเวลาปกติ พื้นที่รวมฝูงที่สำคัญได้แก่ บ่อเกลือ (Salt Marsh) พบที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ และนาเกลือ ตั้งแต่จังหวัดสมุทรสาครไปจนถึงจังหวัดเพชรบุรี รวมไปถึงพื้นที่เคยเป็นบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำที่แห้งไปแล้ว ที่นกสามารถยืนถึง ในจำนวนนกชายเลนอพยพ 35 ชนิด ที่เข้ามาแวะพัก หาอาหารในประเทศไทย พบว่าบางชนิดเป็นชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงเข้าขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ เช่น นกชายเลนปากช้อน ทั่วโลกพบไม่เกิน 800 ตัว และจะแวะมาพักที่ประเทศไทยปีละ 12 ตัว เท่านั้น นกทะเลขาเขียวลายจุด ทั่วโลกพบไม่เกิน 1,000 ตัว และนกซ่อมทะเลอกแดง ทั่วโลกพบไม่เกิน 20,000 ตัวเท่านั้น ดังนั้นการทำลายพื้นที่หากินของนกชายเลนกลุ่มนี้อาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ที่รวดเร็วของนกดังกล่าว |
Goniothalamus aurantiacus R.M.K.Saunders & Chalerm... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | ศุกร์, 27 พฤศจิกายน 2009 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudocalotes khaonanensis Chan-... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 15 มีนาคม 2012 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus kongkandae Welzen & Phatt... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | พฤหัสบดี, 13 ตุลาคม 2011 |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea วงศ์ : ... สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ | จันทร์, 16 กรกฏาคม 2012 |
แนวหญ้าทะเลนับเป็นระบบนิเวศชายฝั่งที่สำคัญ... ความหลากหลายทางชีวภาพ | จันทร์, 25 พฤษภาคม 2009 |
เรื่องราวของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ ประมา... ความหลากหลายทางชีวภาพ | พฤหัสบดี, 11 กุมภาพันธ์ 2010 |
การหาหอยหลอดที่เป็นอาชีพหลักของชุมชนดอนหอยหลอดมากว... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
การดำรงชีวิตของสัตว์ในปัจจุบันมีทั้งอยู่ในน้ำและอย... ความหลากหลายทางชีวภาพ | อังคาร, 16 กุมภาพันธ์ 2010 |
ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปริมา... ภาวะโลกร้อน | จันทร์, 5 เมษายน 2010 |
เชื่อหรือไม่ว่า สัตว์ป่าอย่างไก่ฟ้า ก็ได้รับผลกระท... ภาวะโลกร้อน | อังคาร, 15 มิถุนายน 2010 |
ทีมวิจัยสาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานค... ภาวะโลกร้อน | อาทิตย์, 11 กรกฏาคม 2010 |
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไ... ภาวะโลกร้อน | พฤหัสบดี, 27 พฤษภาคม 2010 |