RocketTheme Joomla Templates
ประกาศผลรางวัลภาพถ่ายสุดยอดช็อตเด็ด ความหลากหลายทางชีวภาพ ปีที่ 2 PDF พิมพ์ อีเมล

 

รางวัลสุดยอดช็อตเด็ด 1 รางวัล

ภาพ “ชะเง้อคอย”

รางวัล 15,000 บาท + โล่ + ประกาศนียบัตร


 Uw 008

 

ชื่อภาพ :  ชะเง้อคอย

ชื่อผู้ถ่าย : นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร

สถานที่ถ่าย : หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ท่ามกลางการแหวกว่ายของฝูงปลามากมาย ปลิงทะเลตัวนี้ได้ยืดลำตัวขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์ โดยปล่อยไข่และสเปิร์มสู่มวลน้ำ ท่าทางที่แปลกประหลาดและหาดูได้ยากของสิ่งมีชีวิตนี้เป็นอีกความตื่นตาตื่นใจที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เพราะโดยปกติปลิงทะเลจะนอนทอดลำตัวอยู่บนพื้นทรายอย่างสงบเท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง Canon PowerShort G 12 เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพ: 7.41 mm สปีดชัตเตอร์  : 1/80”รูรับแสง : F 2.8  ค่าความไวแสง : 400


รางวัลยอดเยี่ยม 4 รางวัล

 รางวัลละ 10,000 บาท + ประกาศนียบัตร

 

ยอดเยี่ยมประเภท สัตว์

An 021

ชื่อภาพ : นักร่อนแห่งรัตติกาล

ชื่อผู้ถ่าย : นายนิติ สุขุมาลย์

สถานที่ถ่าย : สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : สิ่งมีชีวิตที่มีพฤติกรรมการออกหากินยามค่ำคืนและหลบเข้านอนในตอนกลางวันนั้นส่วนใหญ่ข้อมูลทางนิเวศวิทยาค่อนข้างน้อยมาก เรียกได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความลึกลับ พบเห็นตัวได้ไม่บ่อยนัก ภาพนี้เป็นภาพของพญากระรอกบินหูดำหางสีเข้ม ถ่ายที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในพื้นที่ของป่าเบญจพรรณ ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร ถูกถ่ายขณะที่กำลังร่อนจากต้นไม้ต้นหนึ่ง ไปสู่ต้นไม้อีกต้นข้างๆ สัตว์ชนิดนี้จะมีความว่องไวมากในเวลากลางคืน

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง: กล้อง cannon EOS 60D; เลนส์ cannon EFS 55-250; สปีดชัตเตอร์ 1/83; รูรับแสง 6.3; ช่วงของเลนส์ 90 mm

 

 

ยอดเยี่ยมประเภท พืชและเห็ดรา

 

PF 006

ชื่อภาพ : ใต้ทะเลมีดอกไม้

ชื่อผู้ถ่าย : นายปิยะลาภ ตันติประภาส

สถานที่ถ่าย : เกาะท่าไร อุทยานแห่งชาติหาดขนอม หมู่เกาะทเลใต้ อ. ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

 คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ดอกตัวเมียของหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) กำลังชูช่อดอกขึ้นผิวน้ำ เพื่อดักดอกตัวผู้ที่ลอยล่องบนผิวน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะการผสมพันธุ์แบบพิเศษ ที่พบในหญ้าทะเลเพียงไม่กี่ชนิด

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : -

 

 

ยอดเยี่ยมประเภท สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ

 Uw 008

 

ชื่อภาพ :  ชะเง้อคอย

ชื่อผู้ถ่าย : นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร

สถานที่ถ่าย : หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ท่ามกลางการแหวกว่ายของฝูงปลามากมาย ปลิงทะเลตัวนี้ได้ยืดลำตัวขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์ โดยปล่อยไข่และสเปิร์มสู่มวลน้ำ ท่าทางที่แปลกประหลาดและหาดูได้ยากของสิ่งมีชีวิตนี้เป็นอีกความตื่นตาตื่นใจที่เกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เพราะโดยปกติปลิงทะเลจะนอนทอดลำตัวอยู่บนพื้นทรายอย่างสงบเท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง Canon PowerShort G 12 เลนส์ที่ใช้ถ่ายภาพ: 7.41 mm สปีดชัตเตอร์  : 1/80”รูรับแสง : F 2.8  ค่าความไวแสง : 400


 

ยอดเยี่ยมประเภท สิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์

En 003

ชื่อภาพ : 3 สหาย

ชื่อผู้ถ่าย : นางวรรณา ตันธนวัฒน์

สถานที่ถ่าย : บ้านปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : นกปากช้อนหน้าดำ มีสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ในบัญชีแดง (Red List) ของ IUCN  แต่มักพบอพยพมาทุกปี ที่บริเวณนาเกลือ แหลมผักเบี้ย จนถึงบ้านปากทะเล การพบเห็นได้เป็นประจำ ไม่ได้เป็นหลักประกันความอยู่รอดของนกชนิดนี้ เราจำเป็นต้องช่วยกันรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอพยพมาพักอาศัยในช่วงฤดูหนาว เพื่อรักษาชนิดพันธุ์ที่หายากเหล่านี้ไว้

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : Nikon D-90 Lens : Nikon 300 mm f/4 AF-S ต่อ TC 1.4  Speed 1/2000s ISO 200 f8

 

 

รางวัลชมเชย 7 รางวัล

รางวัลละ 5,000 บาท + ประกาศนียบัตร

 

รางวัลชมเชย ประเภทสัตว์ จำนวน 3 ภาพ

An 018

ชื่อภาพ :     ผมหล่อไหมครับ

ชื่อผู้ถ่าย :     นายทศพล  สุภาหาญ

สถานที่ถ่าย :      เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

คำอธิบายรายละเอียดภาพ :      แย้ เมื่อเห็นคนก็จะวิ่งเข้ารูไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนบางส่วนนำแย้มาบริโภค  เพียงเราหยุดล่า หยุดบริโภค และมีความเมตตาต่อแย้ แย้ก็จะออกมาให้เราเห็นและอยู่ร่วมกับเราอย่างมีความสุข

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง:SONY 350 เลนส์ 4.5-5.6/75-300 สปีดชัตเตอร์ รู รับแสงและค่าความไวแสง ช่วงของเลนส์ที่ใช้ 1/250 F11 ISO 400

 

 

An 029

ชื่อภาพ : ทางข้าม

ชื่อผู้ถ่าย : นางวรรณา ตันธนวัฒน์

สถานที่ถ่าย : อุทยานแห่งชาติ ศรีพังงา ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : เพียงพอนเล็กสีน้ำตาล (Malayan Weasel) เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่หากินตามลำห้วยที่ใสสะอาด ไม่มีมลพิษ  การเคลื่อนใหวคล่องแคล่ว ว่องไว เวลาหากิน  เวลาที่ถ่ายภาพนี้ได้ เพียงพอนเล็กตัวนี้กำลังข้ามลำธารน้ำตกตำหนัง ผู้ถ่ายภาพไปนั่งบังไพรถ่ายรูปนก เห็นเพียงพอนเล็กตัวนี้กำลังข้ามละธาร เลยเก็บภาพไว้ได้ เป็นภาพเพียงพอนเล็กในธรรมชาติ ที่ถ่ายได้ในประเทศไทย ทำให้รู้สึกว่าทุกชีวิตในธรรมชาติล้วนสำคัญ  มีส่วนเติมเต็มให้ธรรมชาติสมดุล 

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : Nikon D-90 Lens : Nikon 300 mm f/4 AF-S 1/40s ISO 400 f4

 

 

An 031

ชื่อภาพ :  นักจับปลา

ชื่อผู้ถ่าย :  นายคมสัน หงภัทรคีรี

สถานที่ถ่าย : บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : โดยปกติแมงมุมหมาป่าชนิดนี้ จะออกวิ่งจับเหยื่อซึ่งได้แก่แมลงเล็กๆบนบกริมชายน้ำ แต่บ่อยครั้งอาจพบพวกมันซุ่มคอยเหยื่ออยู่บนผิวน้ำเพื่อจับแมลงน้ำหรือแม้กระทั่งปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหาร แมงมุมหมาป่ามีความสามารถในการวิ่งบนผิวน้ำและสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานานอีกด้วย นับเป็นโชคดีของผมที่ได้เห็นแมงมุมตัวนี้กำลังอร่อยกับเหยื่อสุดพิเศษที่ไม่ค่อยจะเห็นบ่อยนัก

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้องCanon Eos 400D, เลนส์ EF100mm Macro USM, ความไวชัตเตอร์ 1/200, รูรับแสง f13, iso 200

 

 

รางวัลชมเชย ประเภทพืชและเห็ดรา จำนวน 1 ภาพ

 

PF 007

ชื่อภาพ : โคมไฟนางฟ้าแห่งคอหงส์

ชื่อผู้ถ่าย : นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ

สถานที่ถ่าย : เขาคอหงส์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : พิศวง (Fairy lantern: Thismia arachnites) เป็นพืชกินซากที่มีรูปร่างแปลกตา ดุจดังไม่ได้เป็นพืชบนพื้นโลก มีสีสันสว่างสดใสสะดุดตา พบเจอได้ไม่บ่อยนัก

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้องดิจิตอลคอมแพ็ค Panasonic DMC-FZ30; สปีดชัตเตอร์ 1/60 s; รูรับแสง f/3.2; ค่าความไวแสง ISO 200; ช่วงของเลนส์ที่ใช้ 19.4 mm

 

รางวัลชมเชย ประเภทสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ จำนวน 2 ภาพ

 

Uw 013

ชื่อภาพ : ความหลากหลายทางชีวภาพในแอ่งหินปูน

ชื่อผู้ถ่าย : จิรวัฒน์ ผลเพิ่มพูล

สถานที่ถ่าย : สระมรกต อ.คลองท่อม จ.กระบี่

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : น้ำใสสะอาด ใครจะรู้กันว่าในน้ำนั้นประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอนเนตจำนวนมหาศาล ที่น้ำใต้ดินดันผ่านชั้นหินขึ้นมาหลายร้อยเมตร แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตลดลงไปเลยแม้แต่น้อย (ระบบนิเวศน้ำจืด)

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้อง Panasonic LUMIX FT-2  สปีดชัตเตอร์ 1/80 รูรับแสง 3.3 และค่าความไวแสง 80

 

 

Uw 025

ชื่อภาพ :    “อุดมสมบูรณ์”

ชื่อผู้ถ่าย :   สุเมตต์ ปุจฉาการ

สถานที่ถ่าย :  เกาะง่ามใหญ่ หมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : ฝูงปลาหัวตะกั่ว (Hardyhead silverside , Atherinomorus sp.) เป็นปลารวมฝูงขนาดใหญ่พบตามพื้นทรายและริมชายฝั่งขอบแนวปะการัง ปลาหัวตะกั่วกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารจึงเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้บริโภคในห่วงโซ่อาหารในท้องทะเล ผู้เขียนพบฝูงปลาหัวตะกั่วขนาดมหึมาบริเวณแนวปะการังเกาะง่ามใหญ่ หมู่เกาะทะเลชุมพร อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลไทยและความสำคัญของแนวปะการังในแง่การเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : กล้อง Canon powershot G12 เปิดโหมดถ่ายภาพ P แบบAutofocus และเปิดแฟลช; White Balance โหมดใต้น้ำ (Underwater) ปรับสีและแสงของภาพเป็น auto level

 


รางวัลชมเชย ประเภทสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ 1 รางวัล

 

En 002

ชื่อภาพ : Good Day Sunshine

ชื่อผู้ถ่าย : วิชญนันท์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ (Wichyanan Limparungpatthanakij)

สถานที่ถ่าย : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน

คำอธิบายรายละเอียดภาพ : นกไต่ไม้สีสวย Beautiful Nuthatch (Sitta formosa) เป็นนกที่มีสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) ในประเทศไทยมีรายงานการพบบนป่าดิบเขาในอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง จ.เชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับกล้อง : Canon EOS 500D, Lens: Canon EF 300mm f/4.0L IS USM, Shutter speed: 1/197s, Aperture: f/5.7, ISO 400


ภาพที่ได้รับรางวัลจะจัดแสดงใน   “การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ

ครั้งที่ 1”  (12-14  ตุลาคม 2554)   ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี และพบกับเวทีพูดคุย

“เรื่องเล่าจากภาพถ่าย”  โดยเจ้าของภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลและผู้เชี่ยวชาญด้านพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ วันที่ 12

ตุลาคม 2554 เวลา 11.45-12.15 น.