RocketTheme Joomla Templates
การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (12-14 ตุลาคม 2554) PDF พิมพ์ อีเมล

การประชุมวิชาการ การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1
(12-14  ตุลาคม 2554)
ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี

“วิจัยทรัพยากรชีวภาพ เพื่อพัฒนาชุมชนและระบบนิเวศ”

จัดโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
         สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สนับสนุนโดย  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

 

alt

ดาวน์โหลด ร่างกำหนดการประชุม_update

 

กิจกรรมในงาน


1) การบรรยายพิเศษ

  • ยุทธศาสตร์งานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยและโปรแกรมทรัพยากรชีวภาพ สวทช. โดย ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สวทช.
  • แหล่งเก็บกักคาร์บอนพื้นที่ชายฝั่งและทะเลไทย (blue carbon) เพื่อชุมชนลดสภาวะโลกร้อน โดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานคลัสเตอร์ทรัพยากร ชุมชนชนบท สวทช.
  • Environmental changes and the threats to Thailand's biodiversity โดย Prof David Woodruff Director of UC San Diego’s Sustainability Solutions Institute, USA
  • Chemobiodiversity and its role in mediating plant-animal interactions โดย Dr. Martine Hossaert-Mckey Centre National de la Recherche Scientifique (CNRS), France

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการต่อยอดทางวิทยาศาสตร์ โดยนายประทีป อินแสง  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสวนแสงประทีป จ.น่าน

 

2)  การเสนอผลงานวิจัย
     2.1 ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

  • ชีววิทยาของด้วงเต่าและผีเสื้อดักแด้หัวลิงในการควบคุมเพลี้ยแป้งมะละกอ
  • มุมมองทางชีวฟิสิกส์ต่อพฤติกรรมการเข้าหาอุณหภูมิสูงในจิ้งหรีด
  • การใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติในการประเมินประชากรสัตว์ผู้ล่า

     2.2  การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์

  • การกำจัดคราบน้ำมันปิโตรเลียมโดยใช้ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์  
  • เทคโนโลยีเมตาจีโนมิกส์ในการคัดแยกจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมที่จำเพาะ และการนำไปใช้ประโยชน์
  • การใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

     2.3 แหล่งเรียนรู้ชุมชนและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่น

  • ระบบนิเวศชายฝั่งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนขนอม
  • บทบาทชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพอ่าวทุ่งคา-สวี จ.ชุมพร
  • ศูนย์สิรินารถ แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน

     2.4  ราแมลง : นิเวศวิทยาและสารกำจัดศัตรูพืช

  • จุดประกายการศึกษาราแมลงในประเทศไทย: ความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยา ความเฉพาะเจาะจงกับแมลงเจ้าบ้าน และการนำไปใช้ประโยชน์
  • ความหลากหลายทางชีวภาพของมด พฤติกรรม และความสัมพันธ์กับราแมลง
  • กลไกการเข้าทำลายมดของราแมลง
  • การประยุกต์ใช้ราแมลงควบคุมด้วงหมัดผัก

    2.5  การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ

  • เทคโนโลยีเซนเซอร์กับการติดตามระบบนิเวศวิทยาระยะยาว
  • การฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลอ่าวทุ่งนางดำ ฝั่งอันดามันเหนือของประเทศไทย หลังเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี พ.ศ.2547 แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน
  • การฟื้นฟูป่าชายเลนโดยใช้เชื้อรา

     2.6  โครงการ BRN

  • องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากราพาหมี ย่านขลง ลำดวนเถาว์ ใบแสงจันทร์
  • เสวนา งานวิจัยก้าวหน้าด้วยระบบ Mentor

     2.7  การเพาะเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่น

  • การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อซีเมนต์เพื่อการส่งออก
  • สถานภาพและการเพาะเลี้ยงปลิงขาวในประเทศไทย
  • การปรับปรุงพันธุ์และบำรุงรักษาปาล์มถิ่นเดียวอย่างยั่งยืน

3)  ชมโปสเตอร์ทางวิชาการกว่า 80 เรื่อง และการแสดงนิทรรศการ “องค์ความรู้ใหม่และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ” อาทิ

  • ราที่ก่อโรคในแมลง ชมว่านจักจั่นจากภาคอีสานหนึ่งเดียวของไทย ว่านจักจั่นในเรซิน และองค์ความรู้เกี่ยวกับราแมลงก่อโรคในประเทศไทย
  • โรครารากอากาศ  โรคที่เกิดกับต้นอบเชย พบบ่อยที่แปลงศึกษามอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ราเข้าไปก่อโรคเจริญยืดยาวออกมาเหมือนราก ความสัมพันธ์ระหว่างรากับพืชที่น่าทำความรู้จัก
  • การเพาะเลี้ยงปลิงขาว ประเทศไทยมีการค้นพบปลิงทะเลประมาณ 100 ชนิด ชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจคือปลิงขาว สัตว์เศรษฐกิจของไทยที่กำลังจะหมดไป รับฟังและชมการเพาะเลี้ยงปลิงขาว
  • การเพาะเลี้ยงชันโรง แมลงมหัศจรรย์ช่วยผสมเกสร การแยกรังอย่างถูกวิธี ช่วยสร้างรายได้
  • ไรน้ำชนิดใหม่ของโลก ไรน้ำนางฟ้าและไรแดงสยาม กับศักยภาพในการเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ และอาหารสัตว์
  • การกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ชมราแมลงบิววาเรีย ราแมลงสายพันธุ์ไทยที่มีศักยภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้ง และชีวภัณฑ์จากธรรมชาติที่ใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช
  • เทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อน  การเลือกใช้เทคนิคการฟื้นฟูป่าให้เหมาะสมกับตามสภาพป่าและสิ่งแวดล้อม
  • Taxidermy คืนชีวิตให้ซากสัตว์ สาธิตวิธีการสตัฟสัตว์ และงานวิจัยสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
  • ฟาร์มไส้เดือน  ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพจากไส้เดือนดิน ชมวิธีการเพาะเลี้ยงไส้เดือน การทำฟาร์มไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ
  • การเก็บจุลินทรีย์แบบถาวร  เทคนิคการเก็บรักษาจุลินทรีย์แบบถาวร เทคโนโลยีใหม่ในการค้นหาจุลินทรีย์จากธรรมชาติ และห้องเก็บรักษาจุลินทรีย์ไบโอเทคที่มีตัวอย่างจุลินทรีย์เก็บรักษามากที่สุดในประเทศไทย
  • IT กับความหลากหลายทางชีวภาพ  การใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลและศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
  • นกหิว  เกมส์สนุกๆ จากผลงานวิจัยของนักวิจัยและนักศึกษาจากมจธ.

นอกจากนั้น ยังมีนิทรรศการด้านความหลากหลายทางชีวภาพจากหน่วยงานต่างๆ ที่มาร่วมจัดแสดงด้วยอีก 10 หน่วยงาน


4) การออกร้านผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่น  ชิม ช็อบ และชม ผลิตภัณฑ์ทรัพยากรชีวภาพจากชุมชนท้องถิ่นอันเป็นผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ชุมชนชนบทให้มีอาชีพอย่างยั่งยืน  เช่น

  • ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากชุมชนบ้านหนองมัง  ข้าวหอมนิล, งา
  • ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มชุมชนบาลาฮาลา เช่น ดอกดาหลา (ข้าวยำ)
  • ผลิตภัณฑ์จากชุมชนนาแห้ว จ.เลย เช่น แมคคาดาเมียอบแห้ง
  • ผลิตภัณฑ์จากชุมชนบ่อเกลือ จ.น่าน ชาข้าวสาลี
  • ผลิตภัณฑ์จากชุมชนเต่างอย จ.สกลนคร  ข้าวกล้องงอก และผ้าทอ
  • ไอศกรีมสตรอเบอรี่ จ.สระบุรี

5)  นิทรรศการ ภาพถ่าย "สุดยอดช็อตเด็ด : ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย" ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2554  

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 ทางเว็บไซต์ http://www.biotec.or.th/biodv.conf2011/home/about.asp หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ คณะทำงานจัดการประชุม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โทร. 0 25646700 ต่อ 3379-3382 อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


อย่าลืม 12-14 ตุลาคม นี้


ที่ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไท


จังหวัดปทุมธานี


ติดต่อสอบถามข้อมูลทางวิชาการ (พลอยพรรณ จันทร์เรือง)
    คณะทำงานวิชาการ
    โทรศัพท์ 0 2644 8151 – 5 ต่อ 557
    E-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

ติดต่อสอบถามข้อมูลทั่วไป (ชุติมา ชาวไชยา)
    คณะทำงานจัดการประชุม
    โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3379 – 3382  
    โทรสาร  0 2564 6574  
    E-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

หรืออ่านรายละอียดเพิ่มเติมที่ http://www.biotec.or.th/brt

alt