หนูขนเสี้ยนเขาหินปูนผู้น่าสงสาร |
นายสุรชิต แวงโสธรณ์ และคณะนักวิจัยทำการสำรวจประชากรหนูขนเสี้ยนเขาหินปูน Niviventer hinpoon ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2549 โดยใช้วิธีวางกับดักหนูที่สั่งทำเป็นพิเศษ จากการสำรวจอย่างเข้มข้นจึงสามารถพบประชากรของหนูชนิดนี้ แต่มีจำนวนน้อยมากมีแค่ 6 ตัว คือ พบในสองบริเวณเท่านั้น คือในถ้ำที่วัดถ้ำพระธาตุ จ. ลพบุรี 1 ตัว และในป่าเขาหินปูน บริเวณวัดกุดขาม จ.ลพบุรี อีก 5 ตัว อาจจะเป็นเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยและเขตพื้นที่การแพร่กระจายของประชากรของหนูชนิดนี้แคบ มีการรบกวนของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีจำนวนลดลงอย่างมาก จากจำนวนที่พบนั้นบ่งบอกได้ว่าสัตว์ตัวเล็กชนิดนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นควรทำการรณรงค์ให้ชาวบ้านได้ทราบข้อมูลและเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ที่กำลังจะหมดไปชนิดนี้ให้คงอยู่คู่ระบบนิเวศถิ่นนี้ต่อไป
หนูขนเสี้ยนเขาหินปูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มสัตว์ฟันแทะ (rodents) ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับพวกกระรอก หนูชนิดนี้เป็นสัตว์ถิ่นเดียวของไทย (endemic species) มีรายงานพบใน จ. สระบุรี และ จ. ลพบุรี ภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น หนูชนิดนี้ออกหากินในช่วงเวลากลางคืนบริเวณเขาหินปูน มีการสำรวจพบครั้งแรกพบใน พ.ศ. 2516 ที่พุน้ำตก (วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ในปัจจุบัน) จ. สระบุรี ต่อมาในปี 2518 ได้สำรวจพบที่วัดถ้ำพระธาตุ จ. ลพบุรี หลังจากนั้นก็ไม่เคยมีรายงานว่า พบอยู่ในแหล่งอาศัยนี้อีกเลยเป็นเวลามากกว่า 31 ปี นับตั้งแต่ทำการสำรวจพบในครั้งหลังสุด อย่างไรก็ตามในการสำรวจครั้งนี้ได้พบหนูขนเสี้ยนเขาหินปูนเฉพาะใน จ. ลพบุรีเท่านั้น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : |