RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


เหนื่อยแต่สนุก แถมได้ความรู้ ในการฝึกอบรม SERT 2008 PDF พิมพ์ อีเมล

   จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ SERT 2008 "Ecoinformatics" ระหว่างวันที่ 21 เมษายน 2551 ถึง 23 เมษายน 2551 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยความร่วมมือของโครงการ BRT สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอุทยานแห่งชาติเขานัน มีนักศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 9 ท่าน ซึ่งต่างก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ ทุ่มเททำกิจกรรมกันจนดึกดื่นไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทุกคนมีส่วนร่วมและได้ลงมือปฏิบัติจริงในการศึกษาวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาทั้งทางบกและทางทะเล

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมวิจัยประชากรปลาพลวง ปลาเด่นในแหล่งน้ำตก ทำกิจกรรมการเก็บข้อมูลของต้นประ พืชที่มีประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่น พร้อมได้ฝึกทักษะการใช้เครื่องมือและการเก็บข้อมูลวิจัยทางกายภาพในพื้นที่ป่าเมฆ-เขานัน และได้ทำกิจกรรมศึกษาปะการังและหญ้าทะเลที่เกาะต่างๆ ในพื้นที่หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงอันมีผลมาจากภาวะโลกร้อน

หลังจากลงพื้นที่ทำกิจกรรมผู้เข้าร่วมอบรมยังได้เรียนรู้ถึงการใช้แบบบันทึกข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล NBIDS ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บแล้วสามารถนำมาวิเคราะห์ แสดงผล และยังได้ร่วมนำเสนอผลงานการฝึกอบรมที่แต่ละกลุ่มได้ลงพื้นที่กันมา โดยองค์ความรู้ที่ได้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยของตนเองอีกด้วย

แม้การอบรมครั้งนี้จะมีช่วงเวลาที่สั้นไปนิด แต่ก็ช่วยเปิดประตูสู่โลกของการศึกษาวิจัยทางด้านนิเวศวิทยา ซึ่งถือเป็นสาขาวิจัยที่ขาดแคลนอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขา Ecoinformatics ซึ่งเป็นสาขาใหม่ในการวิจัยทางด้านนิเวศที่ทางโครงการ BRT มุ่งหวังจะสร้างคลื่นลูกใหม่ขึ้นมา และทาง BRT ก็จะส่งเสริมให้มีกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ต่อไป

 
ทิศทางการสนับสนุนงานวิจัยโครงการ BRT ระยะที่ 3 PDF พิมพ์ อีเมล


กรอบและทิศทางโครงการ BRT ระยะที่ 3

 
ปริศนาแห่ง “หอยกัน” PDF พิมพ์ อีเมล

หอยกัน หอยสองฝาที่มีอยู่เยอะในป่าชายเลน มีปริศนาให้ลูกหลานชาวขนอม ช่วยกันค้นหาคำตอบมากมาย เช่น วางไข่และออกลูกในฤดูใด? วงจรชีวิตเป็นอย่างไร? และอีกหลายปริศนา เด็กๆ นักวิจัยหอยกันจึงชวน "ทุ่งแสงตะวัน" เข้าป่าชายเลน ตามหาความลับที่ซ่อนอยู่ในตัวหอยกัน เราจะพบปริศนานั้นหรือไม่ ติดตามได้ในวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม ทางช่อง 9 อสมท. เวลา 06.25 - 06.50 น.

ส่วนในวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม เดือนเดียวกันนี้ติดตามชม "งานวิจัยเมฆ" จากรายการทุ่งแสงตะวันได้ทางช่อง 9 เวลาเดิม 


 

ติดตามรายละเอียดตอนที่ออกอากาศไปแล้วได้ที่

http://www.payai.com/programs/view.php?act=latest&prog=TS

 
BRT ร่วมจัดสัมมนา “เส้นทางสู่นักวิจัยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดน่าน” PDF พิมพ์ อีเมล

 ภายหลังจากที่โครงการ BRT ได้สนับสนุนโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่เกษตร โดยมีพื้นที่เกษตรจังหวัดน่านเป็นพื้นที่นำร่อง ทำให้เกิดองค์ความรู้มากมายจากนักวิจัยท้องถิ่น จึงเกิดงานสัมมนาวิชาการที่มีชื่อตามโครงการว่า "โครงการแผนอนุรักษ์และองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่เกษตร" ขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา โดยมีการรวมตัวของเกษตรกรที่เป็นนักวิจัยชุมชน เจ้าหน้าที่เกษตร อบต. สื่อมวลชน และเครือข่ายที่สนใจในกระบวนการขับเคลื่อนงานวิจัยครั้งนี้จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมงานซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเทวราช จังหวัดน่าน

งานสัมมนาในครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยโดยนักวิจัยชุมชนในแต่ละท้องถิ่นที่ขึ้นมาถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานวิจัย อาทิ การใช้รำหยาบ (แกลบ) ลดจำนวนหอยเชอรี่ในแปลงนา การใช้น้ำเมี่ยง (น้ำใบชา) พ่นแปลงนาเพื่อลดการระบาดของศัตรูข้าว หรือการทดลองปลูกข้าวพันธุ์หวัน 1 เปรียบเทียบผลผลิตกับข้าวพันธุ์ กข.6 นอกจากนี้ยังมีมุมนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ให้ผู้ที่สนใจได้ซักถามอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการลงมือทำ สังเกต เก็บข้อมูล โดยนักวิจัยชุมชนจังหวัดน่าน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาตนเองของเกษตรยุคใหม่ที่รู้จักนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาผนวกเข้ากับภูมิปัญญาที่มีในตัวเอง ช่วยให้ลดละเลิกการใช้สารเคมีและลดต้นทุนการผลิตได้

 

ใบเมี่ยง

ใบเมี่ยงที่นำมาแปรรูปเป็นน้ำสกัดไล่แมลง

 

แกลบ

สาธิตแปลงนาที่ใช้แกลบมาช่วยลดจำนวนหอยเชอรี่

 
BRT โชว์ผลงานวิจัยป่าเมฆ-เขานัน ในงาน NAC 2008 PDF พิมพ์ อีเมล

 โครงการ BRT ได้ร่วมจัดนิทรรศการ "ป่าเมฆ-เขานัน" ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2551 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA Annual Conference : NAC 2008) ระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2551 ที่ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการและการประชุมในครั้งนี้ด้วย


 


          นอกจากนี้คณะนักวิจัยในโครงการ BRT ยังได้เปิดห้องย่อยบรรยายพิเศษในหัวข้อ "เมื่อโลกร้อนขึ้นจะเกิดอะไรกับความหลากหายทางชีวภาพ" โดยได้หยิบยกผลงานวิจัยในพื้นที่ป่าเมฆ-เขานัน และแปลงศึกษาระบบนิเวศระยะยาวมอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มาเป็นประเด็นหลักให้ผู้สนใจและห่วงใยปัญหาโลกร้อนได้รับทราบ 



บู๊ทนิทรรศการของ BRT ที่นำเครื่องตรวจสภาพอากาศพร้อมผลงานวิจัยมาจัดแสดง

 


ผีเสื้อหนอนม้วนใบชนิดใหม่ของโลกที่นำมาให้ชมความสวยงาม

 



บรรยายผลงานวิจัยด้านนิเวศที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อน

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL