RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


BRT ขอแสดงความยินดีกับ ดร.สุชนา ชวนิชย์ PDF พิมพ์ อีเมล
(จากซ้าย) ผศ.ดร.วรวีร์ โฮเว่น, ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง,
 ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ และ ดร.อัญชลี มโนนุกุล
4 สุดยอดนักวิจัยหญิงไทยที่ได้รับทุนวิจัย
"เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์" ปีล่าสุด





ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ 1 ใน 4 นักวิจัยหญิงที่ได้รับทุนลอรีอัล ประเทศไทย เนื่องในการจัดเสวนา คุยกัน...ฉันท์วิทย์ เรื่อง "ผลงานสตรีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2551" ที่จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา โดยมีนายวุฒิพงษ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขึ้นมอบช่อดอกไม้และกล่าวแสดงความยินดีแก่นักวิจัยหญิงไทยทั้ง 4 ท่าน 


ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ปีที่ 6 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 ในผลงานการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังและพื้นท้องทะเลบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา และจังหวัดใกล้เคียง หลังจากปรากฎการณ์คลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และอาจารย์ยังเป็นนักวิจัยในโครงการ BRT ที่ได้รับทุนศึกษาเรื่องความหลากหลายของทากเปลือยบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 

 
'กิ้งกือ' นักอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะมันคือโรงงาน ปุ๋ย...เคลื่อนที่ PDF พิมพ์ อีเมล

โดย นสพ.ไทยรัฐ  27 พ.ค. 2551

       ช่วงฝน
ตกเกือบทุกวันเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติของเหล่าบรรดา มด แมลง สัตว์เลื้อยคลาน ทั้งหลาย จะ "ยกขบวนพาเหรด" ออกมาเดินกัน "ยั้วเยี้ย" โดยเฉพาะ "กิ้งกือ" ที่เห็นแล้วต้อง "โดดโหยง" หรือไม่ก็ใช้ไม้เขี่ยออกไปให้ไกล...

แม้หลายคน รังเกียจ ขยะแขยง แต่มีการรวมตัวจัดตั้ง "ชมรมคนรักกิ้งกือ" และ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเอา "ไอ้ยักษ์แสนขา" มาขึ้นห้างโชว์ตัวในงาน "พฤกษาสยาม" ซึ่งจัดขึ้นที่เดอะมอลล์ บางกะปิ เมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยขนาดรูปร่างทั้งใหญ่ ยาวเกือบฟุต จึงไม่ แปลกที่ได้รับความสนใจจากเด็ก ผู้ใหญ่ที่เดินผ่านไปมา

ศ.ดร.สมศักดิ์ บอกกับ "หลายชีวิต" ว่า ทางภาควิชาชีววิทยาฯได้ร่วมกับ ศ.ดร. Henrik Enghoff จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ผู้เชี่ยวชาญอันดับ 1 ของโลกเรื่องกิ้งกือ ออกสำรวจรวบรวมสายพันธุ์ โดยได้ทุนสนับสนุนโครงการจาก The Thai Response to Biodiversity (BRT)

ช่วงหนึ่งของการสำรวจใน จังหวัดนครสวรรค์ นับเป็นความโชคดีของทีมงานที่พบ กิ้งกือมังกรของไทย Desmoxytes purpurosea Enghoff& Panha ขณะกำลังจับคู่ ผสมพันธุ์ โดยสถาบันแห่งหนึ่ง ในประเทศสหรัฐ อเมริกา ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า เป็นการค้นพบ 1 ใน 10 ของสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งมีอยู่ที่ประเทศไทยเท่านั้น  


"กิ้งกือ" (Millipede) เป็นสัตว์มีขามากที่สุดในบรรดาสัตว์บก ไม่มีกระดูกสันหลัง บนโลกใบย่อมลูกนี้มีมากถึง 10,000 ชนิด (สปีชีส์) สำหรับบ้านเราจากการสำรวจพบประมาณ 100 ชนิด มักจะเห็นบ่อยครั้งตามถนนหนทาง ชายป่า สวนครัว ป่าละเมาะ เขาหินปูน เป็นกิ้งกือตัวใหญ่ ทรงกระบอก หรือกิ้งกือหนอน มีลักษณะสีออกแดงๆ หรือสีน้ำตาล

โดยรูปร่าง เป็น ส่วนหัว มีตาอยู่ด้านข้าง (ยกเว้นกิ้งกือถ้ำจะไม่มีตา) และ ลำตัว ลักษณะขาข้อ (arthropods) หนวดสั้น ปาก 2 ส่วน บนล่างเพื่อใช้เคี้ยวและกด ลำตัวยาว มีขาสองคู่ต่อหนึ่งวงปล้อง ผิวมันแข็งทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกัน โตเต็มที่นับปล้องได้ ประมาณ 100-200 ปล้อง ขนาดลำตัวยาว 2 มม. ถึง 30 ซม.


เริ่มผสมพันธุ์
เมื่ออายุ 1 ปี ซึ่งตัวผู้ กับตัวเมียจะม้วนเกี่ยวรัดเป็นเกลียว จากนั้น 1 สัปดาห์ เพศเมียจะหาที่ ฝังไข่ซึ่งเป็นตามมูลซอกดิน ครั้งหนึ่งออกประมาณ 100-200 ฟอง ใช้เวลา 10 วัน ลูกกิ้งกือวัยอ่อนจะเหมือนแมลง มี 6 ขา จะเริ่มทยอย ขึ้นสู่หน้าดิน เพื่อหากินซากใบไม้ป่นเป็นอาหาร ในช่วงยามกลางคืน

พอมันโตจึงเริ่มหันมากินไม้ผุ ขอนไม้ ใบไม้เน่า ซึ่งมีเชื้อรา แบคทีเรีย พร้อมกับ ถ่ายมูลเป็นก้อนคล้ายยาลูกกลอน เต็มไปด้วย จุลินทรีย์ สารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดิน และการช่วยย่อยสลายซากในระดับต้นๆ ดังนั้นมันจึงเป็นเสมือน "โรงงานธรรมชาติเคลื่อนที่"

หากมีภัยหรือที่หลายๆคนชอบเอาไม้ไปเขี่ย จะม้วนตัวขดเป็นวงกลม ขณะเดียวกันก็ ปล่อยสารเคมีกลุ่ม "ไซยาไนต์" หรือสารที่เรียกว่า "เบนโซควิโนน" ลักษณะสีเหลือง เมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเข้มในที่สุด มีกลิ่นเหม็นคล้ายน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำตามโรงพยาบาล

และ...หากมีปริมาณมากๆ ย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ หนทางที่ดีควรอย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นการดีที่สุด!...

     

เพ็ญพิชญา เตียว


 

 
BRT ร่วมกับ ไบโอเทค จัดแถลงข่าวการค้นพบ “กิ้งกือมังกรชมพู” ติดโผระดับโลก PDF พิมพ์ อีเมล
  เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551 เวลา 14.00 น. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จัดแถลงข่าว "กิ้งกือมังกรชมพูกับการค้นพบครั้งแรกของโลก" ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดยมี ศ.ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการ BRT ร่วมกับ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแถลงข่าว

           ในงานมีนักข่าว ช่างภาพ และสื่อมวลชนจากหลากหลายสำนักข่าวให้ความสนใจสอบถามข้อมูลการค้นพบที่ติดอันดับสุดยอดการค้นพบแห่งปีของโลก ซึ่งกิ้งกือมังกรชมพูสามารถเบียดขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 3 จาก 10 อันดับ

ตัวอย่างกิ้งกือหลากชนิดหลายสีสันก็นำมาให้ชมพร้อมทั้งมีป้ายข้อมูลบรรยายประกอบ

 

 

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา พระเอกของงานถูกนักข่าวรุมถ่ายภาพและขอข้อมูลแบบประชิดตัว

 
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้อำนวยการไบโอเทค คนใหม่ PDF พิมพ์ อีเมล

ดร.กัญญวิมว์ กีรติกรเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้ ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ดร.กัญญวิมว์ เริ่มทำงานในตำแหน่งนักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ 2541 ต่อมาในปี พ.ศ 2548 ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทค  และปลายปี 2550 ดร.กัญญวิมว์รับตำแหน่งรักษาการรองผู้อำนวยการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป ต่อจาก ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ ที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจและทำให้งานของไบโอเทคมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


          BRT  ขอร่วมแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
 
BRT ลดจำนวนเล่มการส่งข้อเสนอโครงการ/รายงานความก้าวหน้า/รายงานฉบับสมบูรณ์ PDF พิมพ์ อีเมล
BRT ขอเกาะกระแสลดโลกร้อนด้วยการลดปริมาณการใช้กระดาษ โดยลดจำนวนของเอกสารต่างๆ ที่จะส่งเข้ามายังโครงการ BRT ดังนี้

- ข้อเสนอโครงการวิจัย จากเดิม 5 ชุด เหลือ 1 ชุด
- ข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ จากเดิม 5 ชุด เหลือ 1 ชุด
- รายงานความก้าวหน้า จากเดิม 3 ชุด เหลือ 1 ชุด
- รายงานฉบับสมบูรณ์ จากเดิม 4 ชุด เหลือ 2 ชุด

ทั้งนี้ ทุกรายการต้องส่งไฟล์หรือแผ่นบันทึกข้อมูลมาด้วยทุกครั้ง !!!
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL