ผลงานเด่นโครงการ BRT 2549 |
มหาพรหมราชินีปรากฏโฉมงดงามบนแสตมป์ไทย"มหาพรหมราชินี" (Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders) พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในวงศ์กระดังงา ซึ่งได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้ เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ "มหาพรหมราชินี" ได้รับการจัดพิมพ์เป็นแสตมป์ไทยสีสันสดใสสวยงามเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นับเป็นผลงานจากการค้นคว้าของนักวิจัยในโครงการ BRT ที่ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของทรัพยากรชีวภาพไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ค้นพบมหาพรหมราชินี คือ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ BRT ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 ทำให้คณะนักวิจัยได้มีโอกาสเดินทางบุกป่าฝ่าดงไปทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลของถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ ตลอดจนความหลากหลายทางพันธุกรรมของพรรณไม้ชนิดต่างๆ ในวงศ์กระดังงา ถึงแม้ว่าการดำเนินงานตามโครงการวิจัยดังกล่าวได้สิ้นสุดไปแล้ว แต่ทว่าผลงานจากโครงการนี้ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่ทยอยตีพิมพ์ออกมาเป็นระยะๆ การขยายพันธุ์ไม้ดอกหอมที่หายาก และการจัดทำหนังสือพรรณไม้ดอกหอม เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากไม้ดอกหอมอย่างยั่งยืนต่อไปหนังสือหอยทากจิ๋วเล่มแรกของประเทศไทยจากการศึกษาและค้นคว้าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่ม "หอยทากจิ๋ว" (Microsnails) อย่างต่อเนื่องกว่าสิบปีที่แล้วมา โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากโครงการ BRT จนได้ผลงานมากมาย รศ.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะ จากภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับ Prof. John B. Burch จาก Musuem of Zoology, USA. จัดทำหนังสือเรื่อง "An Introduction to the Microsnails of Thailand" ซึ่งเป็น semi-monograph ก่อนที่จะตีพิมพ์เป็น monograph ฉบับสมบูรณ์ของหอยทากจิ๋วในประเทศไทย โดยได้รวบรวมข้อมูลของหอยทากจิ๋วในประเทศไทยจำนวน 100 ชนิด รวมทั้งชนิดที่ได้มีการตั้งชื่อขึ้นใหม่ด้วย หนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นหนังสือหอยทากจิ๋วเล่มแรกของประเทศไทยที่ยังไม่เคย จัดพิมพ์ที่ใดมาก่อน เพื่อเผยแพร่ออกไปทั่วโลก นับเป็นผลงานที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการอย่างยิ่ง เพราะหอยทากจิ๋วเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในระบบห่วงโซ่อาหารที่สามารถดึงเอา หินปูนมาสร้างเป็นเปลือกหอยซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมสำหรับสัตว์อื่นต่อไปสิทธิบัตรสูตรอาหารแข็งสำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเห็ดลาบ ผลงานวิจัยชิ้นแรกของโครงการ BRT ที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตร 1 รายการ และอนุสิทธิบัตรรวม 9 รายการ มาจากการศึกษาวิจัยของ ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่วิจัยเกี่ยวกับ "สาหร่ายเห็ดลาบ" (Nostoc commune) สาหร่ายชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถพัฒนานำไปแปรรูปได้ทั้งอาหาร คาวและอาหารหวาน นำไปสู่การคิดค้นสูตรอาหารแข็งที่เหมาะสม (optimal agar medium) สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเห็ดลาบให้ได้ปริมาณมาก สูตรอาหารแข็งดังกล่าวจะช่วยเพิ่มชีวมวลของสาหร่ายเห็ดลาบมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรชีวภาพของท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น ข้อมูลพื้นฐานด้านอนุกรมวิธานที่สมบูรณ์ของพรรณไม้วงศ์ก่อในประเทศไทยการศึกษาวิจัยพรรณไม้วงศ์ก่อ (Fagaceae) โดย ดร.จำลอง เพ็งคล้าย และคณะ จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งได้ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างพรรณไม้ทั่วประเทศไทย พบพรรณไม้วงศ์ก่อถึง 119 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด และ 1 สายพันธุ์ ไม้วงศ์ก่อเป็นพรรณไม้โบราณ จากหลักฐานการค้นพบไม้ก่อในโลงผีแมนทางภาคเหนือของประเทศไทย และวัฒนธรรมการใช้ประโยชน์จากไม้ก่อที่หลากหลายของชุมชนท้องถิ่น เป็นข้อบ่งชี้ว่าพรรณไม้วงศ์ก่อได้อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานแล้ว แต่ปัจจุบันการตระหนักถึงคุณค่าและการนำพรรณไม้วงศ์ก่อมาใช้ประโยชน์ลดน้อย ลง งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญด้านสถานภาพและชนิดของพรรณไม้วงศ์ก่อที่ มีคุณค่าของไทย เพื่อการอนุรักษ์และนำมาพัฒนาต่อยอดต่อไปนิทรรศการ 10 ปี BRT สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์โครงการ BRT ได้นำความรู้เผยแพร่สู่สาธารณชนในหลากหลายรูปแบบ และที่น่าสนใจและสร้างกระแสตื่นตัวให้กับวงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การจัดนิทรรศการ "ปฏิบัติการท่ามกลางธรรมชาติ" ในการประชุมวิชาการประจำโครงการ BRT ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 10-14 ตุลาคม 2548 ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด ขอนแก่น ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของโครงการ BRT ซึ่งเป็นการนำผลงานวิจัยทรัพยากรชีวภาพที่สะสมมายาวนานมาจัดแสดงนิทรรศการ เป็นครั้งแรกจำนวน 10 เรื่อง ได้แก่ เฟิร์นและกล้วยไม้, ไรน้ำนางฟ้า, สาหร่ายเห็ดลาบ, หอยครบวงจร, ตามล่าชีวิตดึกดำบรรพ์, ครบเครื่องเรื่องจุลินทรีย์, หิ่งห้อย, หอมหวนชวนดม, อสรพิษผู้น่ารัก และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยรูปแบบที่เน้นการนำตัวอย่างจริงที่ยังมีชิวิตมาจัดแสดง ทำให้การจัดนิทรรศการครั้งนี้เรียกความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานได้อย่าง ท่วมท้น ส่งผลทำให้นิทรรศการของโครงการ BRT ได้มีโอกาสเปิดตัวกับสาธารณชนมากขึ้นด้วยการเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน วิชาการที่สำคัญๆ เช่น "ไบโอไทยแลนด์ 2005" ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, นิทรรศการ "หิ่งห้อยร้อยรักษ์" ที่เซ็นทรัลเวิร์ล พลาซ่า, "งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2549" ที่ไบเทค บางนา และ "งานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 2" ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ ส่งผลให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพของไทยที่ควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ให้ ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ต่อไปโครงการBRT นำคณะนักวิจัยในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกคืนความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นห้วยเขย่งการนำความรู้จากการวิจัยคืนสู่ชุมชนท้องถิ่นเป็นนโยบายสื่อสารสาธารณชนอีก รูปแบบหนึ่งที่โครงการ BRT ให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่าง ยั่งยืน คณะนักวิจัยในโครงการทองผาภูมิตะวันตกจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ร่วมแรงร่วมใจรวบรวมผลงานวิจัยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เช่น ไรฝุ่น มวนน้ำ ผีเสื้อกลางคืน ชันโรง หอยทากบก กบ อึ่งอ่าง และคางคก รวมทั้งพรรณไม้ดอกหอมนานาชนิดมาจัดแสดงในงาน "มหกรรมของดีบ้านห้วยเขย่ง" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ที่โรงเรียนสมาคมป่าไม้อุทิศ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ครูและนักเรียนกว่า 700 คน รวมทั้งประชาชนทั่วไปในท้องถิ่นจำนวนมาก การจัดคืนความรู้สู่ท้องถิ่นดังกล่าวนับเป็นการสร้างฐานความรู้ด้านความหลาก หลายทางชีวภาพ และสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณธรรมของชุมชนในพื้นที่ตำบลห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ทำให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่พวกเขา เป็นเจ้าของและร่วมกันดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ (National Biodiversity Database System หรือ NBIDS)งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศที่บ่งบอกถึง ความร่ำรวยในทรัพยากรธรรมชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์หรือเพื่อการอนุรักษ์ การเก็บข้อมูลทางวิชาการที่มีมาตรฐานสากลเพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลสำหรับ ค้นคว้าอ้างอิงที่เข้าถึงได้ง่ายจึงมีความสำคัญยิ่ง โครงการ BRT จึงร่วมมือกับ ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี จากมหาวิทยาลัยลักษณ์ พัฒนาระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยแบบบูรณาการทั้งด้านชีวภาพและด้านกายภาพ โดยได้นำร่องการเก็บข้อมูลวิจัยในชุดโครงการป่าเมฆและชุดโครงการความหลาก หลายทางชีวภาพทางทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อมูลที่สำคัญจะประกอบด้วย ข้อมูลชนิดพันธุ์ ข้อมูลภาพ ข้อมูลบรรยากาศ ดิน น้ำ และอื่นๆ ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่เกิดจากวิธีวิจัย (protocol) ที่ได้ปรับมาตรฐานให้เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งดัชนีทางชีวภาพต่างๆ นับว่าเป็นการยกระดับวิธีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยให้เป็น สากล และเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของนานาชาติได้ ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพนี้สามารถนำความหลากหลายของชนิดที่ถูกค้นพบ มาแสดงบนแผนที่ หรือในระดับขั้นสูงที่ต้องใช้การประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเพื่อให้ ได้ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการหรือการตัดสินใจในการอนุรักษ์ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของฐานข้อมูลในระบบนี้คือสามารถดำเนินการได้โดย นักเรียนและชุมชนรวมทั้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลในระยะยาวได้ ผู้สนใจเข้าดูได้ในเว็บไซต์ http://nbids.wu.ac.th/nbidsdata/ฐานข้อมูลโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ BRTการสนับสนุนงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเวลากว่า 10 ปี ทำให้โครงการ BRT มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการสนับสนุนกว่า 800 โครงการ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงแก่นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไปได้ โครงการ BRT จึงได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ สนับสนุนโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ของโครงการ BRT เช่น ประเภทของงานวิจัย, ชนิดสิ่งมีชีวิตในกลุ่มต่างๆ, พื้นที่วิจัย, ผลงานวิจัยโดยย่อ, ระยะเวลาโครงการ และสถานภาพของโครงการ ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าและการพัฒนาข้อมูลทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของประเทศไทย ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของโครงการ BRT (http://brt.biotec.or.th/) |