ผลงานเด่นโครงการ BRT 2549 |
![]() |
![]() |
มหาพรหมราชินีปรากฏโฉมงดงามบนแสตมป์ไทย![]() หนังสือหอยทากจิ๋วเล่มแรกของประเทศไทย![]() สิทธิบัตรสูตรอาหารแข็งสำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเห็ดลาบ ผลงานวิจัยชิ้นแรกของโครงการ BRT ที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตร 1 รายการ และอนุสิทธิบัตรรวม 9 รายการ มาจากการศึกษาวิจัยของ ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่วิจัยเกี่ยวกับ "สาหร่ายเห็ดลาบ" (Nostoc commune) สาหร่ายชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถพัฒนานำไปแปรรูปได้ทั้งอาหาร คาวและอาหารหวาน นำไปสู่การคิดค้นสูตรอาหารแข็งที่เหมาะสม (optimal agar medium) สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเห็ดลาบให้ได้ปริมาณมาก สูตรอาหารแข็งดังกล่าวจะช่วยเพิ่มชีวมวลของสาหร่ายเห็ดลาบมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรชีวภาพของท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น ข้อมูลพื้นฐานด้านอนุกรมวิธานที่สมบูรณ์ของพรรณไม้วงศ์ก่อในประเทศไทย![]() ![]() นิทรรศการ 10 ปี BRT สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์โครงการ BRT ได้นำความรู้เผยแพร่สู่สาธารณชนในหลากหลายรูปแบบ และที่น่าสนใจและสร้างกระแสตื่นตัวให้กับวงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การจัดนิทรรศการ "ปฏิบัติการท่ามกลางธรรมชาติ" ในการประชุมวิชาการประจำโครงการ BRT ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 10-14 ตุลาคม 2548 ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด ขอนแก่น ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของโครงการ BRT ซึ่งเป็นการนำผลงานวิจัยทรัพยากรชีวภาพที่สะสมมายาวนานมาจัดแสดงนิทรรศการ เป็นครั้งแรกจำนวน 10 เรื่อง ได้แก่ เฟิร์นและกล้วยไม้, ไรน้ำนางฟ้า, สาหร่ายเห็ดลาบ, หอยครบวงจร, ตามล่าชีวิตดึกดำบรรพ์, ครบเครื่องเรื่องจุลินทรีย์, หิ่งห้อย, หอมหวนชวนดม, อสรพิษผู้น่ารัก และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยรูปแบบที่เน้นการนำตัวอย่างจริงที่ยังมีชิวิตมาจัดแสดง ทำให้การจัดนิทรรศการครั้งนี้เรียกความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานได้อย่าง ท่วมท้น ส่งผลทำให้นิทรรศการของโครงการ BRT ได้มีโอกาสเปิดตัวกับสาธารณชนมากขึ้นด้วยการเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน วิชาการที่สำคัญๆ เช่น "ไบโอไทยแลนด์ 2005" ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, นิทรรศการ "หิ่งห้อยร้อยรักษ์" ที่เซ็นทรัลเวิร์ล พลาซ่า, "งานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2549" ที่ไบเทค บางนา และ "งานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 2" ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ ส่งผลให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพของไทยที่ควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ให้ ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ต่อไปโครงการBRT นำคณะนักวิจัยในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกคืนความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่นห้วยเขย่ง![]() ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ (National Biodiversity Database System หรือ NBIDS)งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศที่บ่งบอกถึง ความร่ำรวยในทรัพยากรธรรมชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเพื่อการใช้ประโยชน์หรือเพื่อการอนุรักษ์ การเก็บข้อมูลทางวิชาการที่มีมาตรฐานสากลเพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลสำหรับ ค้นคว้าอ้างอิงที่เข้าถึงได้ง่ายจึงมีความสำคัญยิ่ง โครงการ BRT จึงร่วมมือกับ ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี จากมหาวิทยาลัยลักษณ์ พัฒนาระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยแบบบูรณาการทั้งด้านชีวภาพและด้านกายภาพ โดยได้นำร่องการเก็บข้อมูลวิจัยในชุดโครงการป่าเมฆและชุดโครงการความหลาก หลายทางชีวภาพทางทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อมูลที่สำคัญจะประกอบด้วย ข้อมูลชนิดพันธุ์ ข้อมูลภาพ ข้อมูลบรรยากาศ ดิน น้ำ และอื่นๆ ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่เกิดจากวิธีวิจัย (protocol) ที่ได้ปรับมาตรฐานให้เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งดัชนีทางชีวภาพต่างๆ นับว่าเป็นการยกระดับวิธีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยให้เป็น สากล และเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของนานาชาติได้ ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพนี้สามารถนำความหลากหลายของชนิดที่ถูกค้นพบ มาแสดงบนแผนที่ หรือในระดับขั้นสูงที่ต้องใช้การประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเพื่อให้ ได้ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการหรือการตัดสินใจในการอนุรักษ์ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของฐานข้อมูลในระบบนี้คือสามารถดำเนินการได้โดย นักเรียนและชุมชนรวมทั้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลในระยะยาวได้ ผู้สนใจเข้าดูได้ในเว็บไซต์ http://nbids.wu.ac.th/nbidsdata/ฐานข้อมูลโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ BRTการสนับสนุนงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเวลากว่า 10 ปี ทำให้โครงการ BRT มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการสนับสนุนกว่า 800 โครงการ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงแก่นักวิจัยและผู้สนใจทั่วไปได้ โครงการ BRT จึงได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ สนับสนุนโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ของโครงการ BRT เช่น ประเภทของงานวิจัย, ชนิดสิ่งมีชีวิตในกลุ่มต่างๆ, พื้นที่วิจัย, ผลงานวิจัยโดยย่อ, ระยะเวลาโครงการ และสถานภาพของโครงการ ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถค้นหาได้สะดวกและรวดเร็ว เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าและการพัฒนาข้อมูลทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของประเทศไทย ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของโครงการ BRT (http://brt.biotec.or.th/) |