RocketTheme Joomla Templates
ข้อกำหนดการจัดโปสเตอร์ PDF พิมพ์ อีเมล

โปสเตอร์นี้เพื่อ...สังคม
ฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ  กับ
การนำเสนอผลงานโปสเตอร์
7 สิ่งมหัศจรรย์ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย
การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14
ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย : ประกาศไว้ให้โลกรู้
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
10-12 ตุลาคม 2553 สุนีย์แกรนด์ โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี

(เฉพาะผู้รับทุนโครงการ BRT เท่านั้น)


เปิดเผยขุมทรัพย์ทางชีวภาพของไทย ผ่านโปสเตอร์ที่ดึงดูดความสนใจ อ่านง่าย สนุก ตื่นเต้น
เพื่อประกาศไว้ให้คนไทยได้รับรู้ว่า  ความหลากหลายทางชีวภาพของไทยยิ่งใหญ่


หลักการ
       นักศึกษาและนักวิจัยหลายท่านที่ได้ทำการศึกษาวิจัยไปแล้วระยะหนึ่ง จะประสบพบกับองค์ความรู้ต่างๆ ที่ถ่ายทอดโดยตรงจากสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้วิจัย ทำให้เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตมากขึ้น แต่องค์ความรู้เหล่านั้นมักจะไม่มีโอกาสเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งบางครั้งทำให้องค์ความรู้ดังกล่าวเลือนหายไปพร้อมกับผู้ทำวิจัย ดังนั้น การนำเสนอผลงานโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 ในปีนี้ จึงเน้นรูปแบบการจัดทำในมุมมองของการถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจจากงานวิจัยที่ถูกซ่อนไว้ สู่สาธารณชนทั้งในและนอกวงการวิชาการ ในลักษณะการนำเสนอที่ชวนอ่านและเข้าใจง่าย ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นจากการจัดแสดงในงานประชุมฯ โปสเตอร์ของท่านจะถูกนำไปใช้ในการจัดนิทรรศการและเผยแพร่สู่สังคม

 

คุณสมบัติผู้จัดโปสเตอร์
        จะต้องเป็นนักวิจัย/นักศึกษาที่อยู่ระหว่างการรับทุนของโครงการ BRT หรือเป็นโครงการที่จบแล้วเท่านั้น

ประเภทของโปสเตอร์
แบ่งออกเป็น 7 ประเภท : 7 สิ่งมหัศจรรย์ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย  ดังนี้
1. มหัศจรรย์แห่งชีวิต
2. ระบบนิเวศนี้ สำหรับสรรพชีวิต
3. สิ่งมีชีวิตกับเรื่องราวนานาประโยชน์
4. หลากสีสันในท้องถิ่น
5. ใกล้สูญพันธุ์ หายาก ต้องอนุรักษ์
6. สิ่งมีชีวิตของไทยกับบันทึกที่สุดในโลก
7. Unseen in Thailand (สิ่งมีชีวิต)

หลักเกณฑ์การเสนอผลงานโปสเตอร์
1.  ขนาดของโปสเตอร์ : ขนาด A0 (กว้าง 90 เซนติเมตร X สูง 120 เซนติเมตร)
2. เนื้อหาของโปสเตอร์ : ให้เลือกนำเสนอเนื้อหาประเภทใดประเภทหนึ่งใน 7 ประเภท ทั้งนี้เนื้อหาดังกล่าวจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากโครงการ BRT ท่านหนึ่งสามารถจัดโปสเตอร์ได้ 1 โปสเตอร์เท่านั้น (เนื่องจากจำนวนบอร์ดจำกัด)
3. องค์ประกอบของโปสเตอร์
3.1 ชื่อเรื่อง ตั้งชื่อให้ดึงดูดความสนใจ และชวนติดตาม (ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อโครงการที่ระบุไว้ในการรับทุน)
3.2 ชื่อผู้วิจัย และคณะ, สถาบันที่สังกัด, สถานที่ติดต่อ, โทรศัพท์, โทรสาร, E-mail
3.3 ใช้รูปภาพ หรือแผนภาพที่ดึงดูดความสนใจ  ใช้ภาษาที่อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน ชวนติดตาม  ถ่ายทอดผลงานวิจัยในมุมมองที่เชื่อมโยงกับสิ่งมหัศจรรย์ตามที่เสนอ
3.4 รายการอ้างอิง ควรใช้รูปแบบบรรณานุกรม
3.5 กิตติกรรมประกาศ (คลิกเพื่อดูข้อแนะนำการเขียนกิตติกรรมประกาศ)
3.6 โลโก้ของโครงการ BRT และสปอนเซอร์ (ดาวน์โหลดโลโก้)

รายละเอียดและวิธีการสมัคร
1. สมัครออนไลน์ที่
http://www.brtprogram.com/2010/poster.asp หรือที่ อีเมล อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน (คุณวิภามาศ ไชยภักดี โทรศัพท์ 02-6448150-4 ต่อ 532) ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2553 ทั้งนี้กรุณาโทรศัพท์ยืนยันการส่งของท่านทุกครั้ง เพื่อป้องกันการผิดพลาดของอินเตอร์เน็ต 
2. ผู้ที่ลงทะเบียนที่ได้รับการตอบรับแล้ว จะต้องส่ง PDF ไฟล์โปสเตอร์ มายังฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2553  เพื่อพิจารณาเนื้อหาและอนุมัติงบประมาณการจัดทำโปสเตอร์ (โปสเตอร์ที่ผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอในงานประชุมฯ จะถือเป็นเครดิตในการส่งเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่มีในเงื่อนไขผู้รับทุน)
3. ประกาศผลผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานโดยโปสเตอร์ ในวันที่ 15 กันยายน 2553 ทางเว็บไซต์
www.biotec.or.th/brt และทางอีเมล์

รางวัลโปสเตอร์
รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น 7 รางวัลๆ ละ 1,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัล Popular Vote 1 รางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร

ดาวน์โหลดเอกสารนี้ในรูปแบบ pdf