ประกาศผลการประกวดสื่อเผยแพร่ "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยฯ " |
ตัดสินกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการประกวดสื่อเผยแพร่ "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ประกาศไว้ให้โลกรู้" ผลงานทั้ง 8 ชิ้นที่ส่งเข้าประกวดในโครงการ ได้ถูกนำไปจัดเสนอสู่สายตาของผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้ง 14 ซึ่งผลงานทุกชิ้นได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้จากการพิจารณาของคณะกรรมการ ได้ผลการตัดสิน ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ "ประกาศให้ก้องโลก" ผลงาน Seed dispersal in climate change โดย นางชฎาพร เสนาคุณ และนายอารยะ เสนาคุณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผลงานที่สื่อถึงการกระจายเมล็ดพันธุ์ โดยรูปแบบต่างๆ และผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนต่อการกระจายเมล็ดพันธุ์ ถ้าความน่ารักของภาพการ์ตูนแอนนิเมชั่น และเกม touch screen ที่ทำให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมคิด ร่วมสนุก ไปพร้อมกับการเรียนรู้
รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1. ผลงาน Crab delight โมเดลสายพันธุ์ปู สวยหรูที่สุดในประเทศไทย โดย นายวชิระ ใจงาม, ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และผศ.พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. ผลงาน Claymation สาหร่ายทะเลลดโลกร้อน โดย นางสาวจารุวรรณ มะยะกูล, นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร และทีมวิจัยสาหร่ายและหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3. ผลงาน ฉันอยู่นี่...ศัตรูที่รัก โดย นายดุสิต งอประเสริฐ และทีมวิจัยนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1. ผลงาน Once upon a time in Isan โดย ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ และทีมวิจัยศูนย์วิจัยและศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2. ผลงาน ปฏิทินกาลเวลาความหลากหลายทางชีวภาพ โดย นายพฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. ผลงาน ไทรโต้รุ่ง-ชีวิตสัมพันธ์ 24 ชั่วโมง โดย นายดุสิต งอประเสริฐ และทีมวิจัยนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัลแห่งความพยายาม และความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ผลงาน อัดไว้ในเรซิ่น พืชวงศ์ส้มกุ้ง โดย นายธรรมรัตน์ พุทธไทย และรศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นรางวัลพิเศษที่มอบให้กับความพยายามของคุณธรรมรัตน์ ที่ได้ต้นแบบการจัดเก็บพรรณไม้จากพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างพืชที่ยังคงสีสันที่สวยงามของใบ และดอกพืชเอาไว้ได้ การเก็บตัวอย่างพืชวิธีนี้ไม่เคยมีการทำมาก่อนในประเทศไทย คุณธรรมรัตน์ได้ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์หลายอย่าง กว่าจะประสบความสำเร็จ และสามารถเก็บตัวอย่างพรรณไม้วงศ์ส้มกุ้ง ไว้ในเรซิ่นได้สำเร็จ รางวัล Popular vote จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ผลงาน Seed dispersal in climate change โดย นางชฎาพร เสนาคุณ และนายอารยะ เสนาคุณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
|