RocketTheme Joomla Templates
รายละเอียดโครงการ และเกณฑ์การประกวด PDF พิมพ์ อีเมล
ท่านอยากทำ เราอยากสื่อ

โครงการ BRT เชิญชวนผู้มีจินตนาการร่วมกันจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ กับกิจกรรมประกวดสื่อเผยแพร่


“ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย :
ประกาศไว้ให้โลกรู้”

จัดโดย
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
เพื่อเฉลิมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
และครบรอบ 15 ปีโครงการ BRT

--------------------------------------------------------


สิ่งประดิษฐ์ / โมเดล / หุ่นยนต์ / แอนนิเมชั่น / วีดีโอ พรีเซนเทชั่น / สารคดี / หนังสั้น / มัลติมีเดีย / ชุดจำลองระบบนิเวศ / ชุด interactives ฯลฯ
คุณจะทำอะไรก็ได้  เพื่อสื่อสารความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ดึงดูดความสนใจของผู้ชม  เข้าใจง่าย


1. ผู้มีสิทธิสมัคร
1.1 นิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญา ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาดังนี้  วิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบ นิเทศศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์
1.2  ผู้กำลังรับทุน หรือ เคยรับทุนโครงการ BRT ทั้งนักวิจัย นิสิตนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา

2. เกณฑ์การสมัคร
2.1  ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือ ทีม ทีมละไม่เกิน 2 คน
2.2  ผู้ส มัครที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องได้รับการเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ


3. คำแนะนำด้านเนื้อหา
สื่อสาร หรือ สะท้อน เรื่องราวความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย  ดังนี้
3.1    สื่อสารถึงความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยว่ามีความเก่าแก่ เชื่อมโยงไปสู่อดีต
3.2    สื่อสารถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
3.3    สื่อสารถึงระบบนิเวศเฉพาะถิ่นในประเทศไทยที่มีความแตกต่างหลากหลายและมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่
3.4    สื่อสารถึงสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยที่มีวิถีชีวิตมหัศจรรย์ หรือมีความสามารถพิเศษ
3.5    สื่อสารถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างในระดับวงศ์ สกุล หรือในระดับสปีชีส์ (แสดงลักษณะของความแตกต่าง) ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นควรจะเป็นชนิดที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
3.6     สื่อสารถึงสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยโดยเฉพาะตัวอย่างสิ่งมีชีวิต (specimen) ที่สำรวจ ค้นพบ และเก็บรักษา ว่ามีความหลากหลาย สำคัญ และยิ่งใหญ่
3.7    สื่อสารถึงผลกระทบของโลกร้อนหรือการทำลายระบบนิเวศที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
3.8    สื่อสารถึงสิ่งมีชีวิตในจินตนาการ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ

4. คำแนะนำด้านเทคนิค
ใช้เทคนิคอะไรก็ได้ที่ดึงดูดความสนใจ อาจใช้เทคนิค แสง สี เสียง กลไกการเคลื่อนไหว

5.  คำแนะนำด้านการจัดทำ
5.1 อาจเป็นชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ / โมเดล / หุ่นยนต์ / แอนนิเมชั่น / วีดีโอ พรีเซนเทชั่น / สารคดี / หนังสั้น / มัลติมีเดีย / ชุดจำลองระบบนิเวศ / ชุด inter actives หรือรูปแบบอื่นๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชม
5.2  อาจทำเป็นนิทรรศการเล็กๆ ที่มีการนำตัวอย่าง (ที่ไม่ใช่ตัวอย่างสด) มาจัดแสดง โดยผสมผสานเข้ากับเทคนิคต่างๆ
5.3 ชิ้นงานควรนำเสนอเป็นเรื่องราวที่สามารถสื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย เหมาะสมกับเพื่อการเรียนรู้
5.4 ชิ้นงานดังกล่าว สามารถนำใช้ในการเรียนการสอนความหลากหลายทางชีวภาพในห้องเรียน สำหรับนักเรียน และ/หรือ นิสิตนักศึกษา  หรือนำไปจัดแสดงเพื่อสร้างความสนใจต่อสาธารณชนได้
5.5 ควรเป็นชิ้นงานที่คงทนแข็งแรง เคลื่อนย้ายได้ และสะดวกต่อการเก็บรักษา
5.6 ต้องเป็นชิ้นงานที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการ โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบผู้อื่น

ดาวน์โหลดใบสมัคร