(ร่าง) กำหนดการประชุม พิมพ์

ร่างกำหนดการ

การประชุมวิชาการประจำปี โครงการ BRT ครั้งที่ 14

ครบรอบ 15 ปี โครงการ BRT

ร่วมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

"ความหลากหลายทางชีวภาพของไทย : ประกาศไว้ให้โลกรู้"

วันที่ 10-12 ตุลาคม 2553 โรงแรม สุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี

จัดโดย โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT)

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

-------------------------------------------------------------------------------------

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553

13.00 - 17.00     ลงทะเบียน และติดโปสเตอร์ / จัดนิทรรศการ

 

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553

08.00-09.00       ลงทะเบียน

09.00-09.30       พิธีเปิดประชุม โดย ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี

09.30-10.00       มอบรางวัล “สุดยอดช็อตเด็ด ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย”

10.00-10.10       ชม  “ศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้”

10.10-10.40       อาหารว่าง

10.40-11.30       บรรยายพิเศษ “อนาคตของโครงการ BRT”  โดย ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้อำนวยการศูนย์พันธุ
                        วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

11.30-13.00       อาหารกลางวัน

13.00-15.00       เสวนา “การจัดการหอยหลอดอย่างยั่งยืน โมเดลการทำงานร่วมกันระหว่างของชุมชนกับนักวิจัยในการกำหนด
                        พื้นที่อนุรักษ์” ดำเนินรายการโดย ดร.ธนิต ชังถาวร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

                        ผู้ร่วมเสวนา นายกอบชัย วรพิมพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้แทนกลุ่มประมงหอยหลอด/สมาชิกกลุ่ม
                        อนุรักษ์ดอยหอยหลอด, ผู้แทนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

15.00-15.30       อาหารว่าง

15.30-16.00       บรรยาย “ข้อตกลงการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพ: กรณีศึกษาจาก
                        องค์กรวิจัยและพัฒนา” โดย คุณบุบผา เตชะภัทรพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

16.00-17.30       - ชมนิทรรศการสื่อเผยแพร่ “ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ประกาศไว้ให้โลกรู้” จำนวน 8 ผลงาน

ผลงานที่ 1  Seed dispersal in climate change

สื่อสารถึงการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์พืช โดยกระบวนการทางธรรมชาติรูปแบบต่างๆ และผลของภาวะโลกร้อนที่ทำให้การกระจายของเมล็ดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

โดย นางชฎาพร เสนาคุณ และ นายอารยะ เสนาคุณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลงานที่ 2 ความหลากหลายของปูในท้องทะเลไทย

ผลงานโมเดลที่แสดงถึงความหลากหลายของปูทะเลในระบบนิเวศต่างๆ ตั้งแต่ระบบนิเวศชายหาด ป่าชายเลน หาดหิน และแนวปะการัง

โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และ นายวชิระ ใจงาม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลงานที่ 3 อัดไว้ในเรซิ่น? พืชวงศ์ส้มกุ้ง

จัดแสดงวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างพืชโดยการอัดไว้ในเรซิ่น ซึ่งจะทำให้ตัวอย่างพรรณไม้คงความงดงามของรูปร่างและสีสัน  โดยใช้พืชวงศ์ส้มกุ้งที่พบในภาคใต้ของประเทศไทย

โดย นายธรรมรัตน์ พุทธไทย และ รศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลงานที่ 4 Claymation สาหร่ายลดโลกร้อน

การถ่ายทอดเรื่องราวประโยชน์ของสาหร่ายทะเลที่มีส่วนช่วยในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และช่วยลดโลกร้อน ผ่านแอนนิเมชั่นที่สร้างสรรค์ตัวละครด้วยดินน้ำมัน

โดย นางสาวจารุวรรณ มะยะกูล และนางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลงานที่ 5 Once upon a time in Isan

แผ่นดินภาคอีสานของไทยในอดีตเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยล้านปี นักธรณีวิทยาได้ค้นพบความยิ่งใหญ่ผ่านซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์จำนวนมาก

โดย อ.ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ และคณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลงานที่ 6 ปฏิทินกาลเวลาความหลากหลายทางชีวภาพ

เครื่องมือในการช่วยเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น
โดย นายพฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานที่ 7  ฉันอยู่นี่...ศัตรูที่รัก

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทั้งสัตว์ผู้ล่าและเหยื่อ ในฐานะสัตว์ผู้ล่าต้องพยามแสวงหาเหยื่อ อีกด้านหนึ่งผู้ถูกล่าก็ต้องหาหนทางหลบซ่อน ด้วยความสัมพันธ์บนสายใยแห่งชีวิตที่ซึ่งธรรมชาติควบคุมธรรมชาติ การรบกวนสมดุลแห่งชีวิตไม่ว่าทางใดก็ตามอาจส่งผลให้ระบบนิเวศเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง

โดย นายดุสิต งอประเสริฐ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผลงานที่ 8 ไทรโต้รุ่ง-ชีวิตสัมพันธ์ 24 ชั่วโมง

วัฏจักรของป่าดำเนินไปแบบไม่เคยหลับไหล เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของต้นไทรและสัตว์ป่านานาชนิด ที่ได้มีการเกื้อกูลและพึ่งพาอาศัยกันตามวิถีแห่งธรรมชาติ  ไทรเปรียบเหมือนกับตลาดโต้รุ่งในป่าที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งสัตว์ป่าได้เข้ามาใช้ประโยชน์โดยจ่ายค่าบริการเป็นการช่วยกระจายเมล็ด ขณะที่ความสัมพันธ์ในรูปแบบของการไล่ล่าและการตกเป็นเหยื่อของสัตว์ที่เข้ามาใช้บริการต้นไทรก็ได้ดำเนินควบคู่กันไป ณ ตลาดโต้รุ่งแห่งนี้

โดย นายดุสิต งอประเสริฐ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

- ชมนิทรรศการภาพถ่าย “สุดยอดช็อตเด็ดความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย” เป็นการจัดนิทรรศการภาพถ่ายที่ได้รางวัลจากการประกวดจำนวน 27 ภาพ

 

- ชมโปสเตอร์ “7 สิ่งมหัศจรรย์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย”

1.   มหัศจรรย์แห่งชีวิต

2.   ระบบนิเวศนี้ สำหรับสรรพชีวิต

3.   สิ่งมีชีวิตกับเรื่องราวนานาประโยชน์

4.   หลากสีสันในท้องถิ่น

5.   ใกล้สูญพันธุ์ หายาก ต้องอนุรักษ์

6.   สิ่งมีชีวิตของไทยกับบันทึกที่สุดในโลก

7.   Unseen in Thailand (สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ)

18.30–22.00      เลี้ยงรับรอง BRT Fancy Night

 

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2553

 

งานวิจัยในท้องถิ่นอีสาน

09.00-09.20       ไรน้ำนางฟ้า สัตว์เศรษฐกิจในภาคอีสาน และความก้าวหน้าการวิจัย
                        โดย ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

09.20-09.40       หอยเดื่อและหอยหอมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานและงานวิจัยหอยหอมในประเทศไทย 
                        โดย ดร.บังอร กองอิ้ม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

09.40-10.00       วัดป่า: แดนศักดิ์สิทธิ์แห่งความหลากหลายทางชีวภาพที่ซ่อนเร้น  โดย นายศิริยะ ศรีพนมยม
                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

10.00-10.30       อาหารว่าง

10.30-10.50       ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในภาคอีสาน โดย นายเสถียร ฉันทะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

10.50-11.10       หุบเขาไดโนเสาร์ภาคอีสาน โดย ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

11.10-11.30       กิ้งกือกระบอก โดย นางสาวปิยะธิดา พิมพ์วิชัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30-13.00       อาหารกลางวัน

 

การจัดการบนฐานความรู้

13.00-13.20       เมือกกบมีอะไรดี โดย ดร.ภัทรดร ภิญโญพิชญ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
13.20-13.40       สถานภาพ งานวิจัย และแผนการจัดการสัตว์ผู้ล่าขนาดเล็กในประเทศไทย
                       
โดย นายวัลลภ ชุติพงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

13.40-14.00       ความหลากหลายของพืชสกุล Ophiorrhiza ความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

                        โดย นางสาววราลี วิราพร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ประกวด BRT The Star ปีที่ 2)

14.00-14.20       แยกลูกช้างป่าออกจากลูกช้างบ้าน และการนำไปใช้ประโยชน์ โดย นางสาวชมชื่น ศิริผันแก้ว                   มหาวิทยาลัยมหิดล (ผู้ประกวด BRT The Star ปีที่ 2)

14.20-14.50       อาหารว่าง

14.50-15.10       การอนุรักษ์กล้วยไม้สิรินธรเนียที่ใกล้สูญพันธุ์ โดย นางสาวกนกอร ศรีม่วง

                        มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ผู้ประกวด BRT The Star ปีที่ 2)

15.10-15.30       การปลูกป่าด้วยวิธีหยอดเมล็ด ทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูระบบนิเวศ
                       
โดย นางสาวพนิตนาถ ทันใจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ผู้ประกวด BRT The Star ปีที่ 2)

15.30-15.50       ปลูกหญ้าทะเลอย่างไรให้ยั่งยืน โดย นางสาวเปมิกา อภิชนังกูร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                        (
ผู้ประกวด BRT The Star ปีที่ 2)

15.50-16.10       เรื่องเล่าและประสบการณ์การทำงานวิจัยเสือโคร่ง
                        โดย นางอัจฉรา ซิ้มเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ผู้ประกวด BRT The Star ปีที่ 2)

 

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม 2553

09.00-09.30       บรรยายพิเศษ  “เรื่องเล่าจากการสำรวจขั้วโลกใต้และการศึกษาทากเปลือยในประเทศไทย”
                        โดย ผศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09.30-11.00       เสวนา “ปลาร้า ปลาแดก : ความมั่นคงทางอาหารบนความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
                        ดำเนินรายการโดย อาจารย์โสฬส ศิริไสย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
                        ผู้ร่วมเสวนา ผศ.วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ครูทองใส ทับถนน

11.00-11.30       อาหารว่าง

11.30-11.50       มอบรางวัล “สื่อเผยแพร่ทางวิชาการดีเด่น” “โปสเตอร์ดีเด่น” และ “BRT The Star”

11.50-12.00       สรุปและปิดการประชุม โดย ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการ BRT

12.00-13.00       อาหารกลางวัน

13.00-18.00       ทัศนศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ      นมัสการหลวงปู่ชา และ City tour

-------------------------------------------------------------------------------------

 

 

ดาวน์โหลด (ร่าง)กำหนดการฯ ในรูปแบบ pdf

ดาวน์โหลดจดหมายเชิญประชุม