หอยมรกต ต้นแบบการเกิดสปีชีส์ใหม่ของไทย พิมพ์

หากจะกล่าวถึงทฤษฎีวิวัฒนาการ และการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ หลายคนอาจคิดไปถึงการปรับตัว และการเกิดสปีชีส์ใหม่ของนกฟิน และสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นบนเกาะกาลาปากอส ซึ่งถูกค้นพบโดยชาร์ลส์ ดาร์วิน 

แต่รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยก็มีตัวอย่างที่สามารถใช้อธิบายการเกิดสปีชีส์ใหม่ที่สมบูรณ์แบบเช่นกัน นั่นคือ การเกิดหอยมรกตแห่งเกาะตาชัย ซึ่งปรากฏการณ์การเกิดสปีชีส์ใหม่ที่คลาสสิคและมีหลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

การเกิดหอยมรกตแห่งเกาะตาชัย

ในอดีตผืนแผ่นดินของไทยกับชวา บอเนียว และสุมาตรา เคยเป็นผืนเดียวกัน กระทั่งเมื่อสองหมื่นล้านปีก่อน เกิดเหตุการณ์น้ำทะเลขึ้นสูง ทำให้ผืนแผ่นดินเริ่มแยกออกจากกัน เริ่มเกิดเกาะเล็กเกาะน้อย และในที่สุดเมื่อ 4,000 ล้านปีก่อน น้ำทะเลสูงขึ้นจนผืนแผ่นดินทางภาคใต้ของประเทศไทยปรากฏเป็นด้ามขวานอย่างชัดเจน ในตอนนั้นหอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส  ซึ่งหากินอยู่บริเวณแผ่นดิน ได้ถูกแยกออกมาอยู่บนแผ่นดินใหม่ที่กำลังกลายเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลมาล้อมรอบ ขณะที่ส่วนหนึ่งยังคงอยู่บนแผ่นดินใหญ่  

 

หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส  ที่อยู่บนแผ่นดินเดิมยังคงหากินและสืบพันธุ์ตามปกติ โดยยังคงมีจำนวนประชากรของหอยเวียนซ้าย-เวียนขวาอย่างสมดุล แต่หอยที่ถูกแยกออกมาอยู่บนผืนแผ่นดินใหม่ที่เป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ ต้องมีการปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอด ปริมาณอาหารที่มีน้อยลง ทำให้หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส ที่ติดเกาะจึงมีขนาดตัวเล็กลงเรื่อยๆ  และจำนวนงูกินทาก ศัตรูตัวฉกาจที่มีอยู่มากได้ควบคุมประชากรหอยทากเวียนขวาให้ลดน้อยลง จนและหายไปในที่สุด กลายเป็นหอยแอมฟิโดรมัส คลาซิเรียส ที่มีเปลือกเวียนซ้ายทั้งหมด ตัวมีขนาดเล็กลง มีฟันเปลี่ยนไป และอวัยวะหดสั้นลง จึงไม่สามารถผสมพันธุ์ กับหอยแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส สปีชีส์ดั้งเดิมได้ จึงถือเป็นหอยแอมฟิโดรมัส สปีชีส์ใหม่อย่างสมบูรณ์

                              

       หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส               หอยแอมฟิโดรมัส คลาซิเรียส

            ชนิดดั้งเดิม                                         หอยมรกตแห่งเกาะตาชัย               

                                                                                            ชนิดใหม่