RocketTheme Joomla Templates
ข่าวประชาสัมพันธ์


หนังสือใหม่ “พรรณไม้ภูพาน” PDF พิมพ์ อีเมล

พรรณไม้ภูพานหนังสือใหม่ "พรรณไม้ภูพาน"
   
ผู้แต่ง : ศ.ประนอม จันทรโณทัย 
              ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     ISBN : 978-974-09-8343-9
     ปีที่พิมพ์ : 2550
     จำนวนหน้า : 236 หน้า
     ภาษา : ไทย

ป่าภูพานหรือป่าเขาชมภูพาน เป็นเทือกเขาหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญโดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการเดินสำรวจธรรมชาติและพรรณไม้นานาชนิด

หนังสือพรรณไม้ภูพานเล่มนี้จะเป็นคู่มือประกอบการเดินทางเที่ยวชมได้เป็นอย่างดี เพราะได้รวบรวมพรรณไม้ไว้หลากหลายชนิด ทั้งพืชกลุ่มเฟิร์น จิมโนสเปิร์ม พืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ จำนวน 200 ชนิด พร้อมด้วยข้อมูลการกระจายพันธุ์ ช่วงการมีดอก และรูปประกอบสวยงาม ซึ่งจะทำให้นักเดินทางได้อรรถรสของการเที่ยวชมพื้นที่แห่งนี้มากยิ่งขึ้น

ขนาด 13x21 ซม. สี่สี ความยาว 233 หน้า ราคาพิเศษ 220.00 บาท (รวมค่าจัดส่ง) 

 
การประชุม 2010 World Congress of Malacology PDF พิมพ์ อีเมล
. สมศักดิ์ ปัญหา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำวิจัยอย่างต่อเนื่องในเรื่องของหอยทากจนได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่งตั้งให้เป็น President of UNITAS MALACOLOGIA (The World Scientific Society of Malacology) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ณ เมือง Antwerp ประเทศเบลเยียม ทำให้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม "2010 World Congress of Malacology" ถือว่าเป็นครั้งแรกของเอเซียที่ได้รับเกียรตินี้ โดยงานจะจัดขึ้นที่ภูเก็ตในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งต้องติดตามข่าวคราวอัพเดทกันต่อไป


     และสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสัตว์ที่ดูเชื่องช้าแต่น่าสนใจอย่าง "หอย" ไม่ว่าจะเป็นหอยทาก หอยน้ำจืด หรือหอยทะเล ท่านสามารถติดตามข่าวสารและข้อมูลทางวิชาการในแวดวงของนักสังขวิทยาชั้นนำของโลก โดยเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ (pdf) จดหมายข่าว "UNITAS MALACOLOGIA Newsletter" ได้ที่......  http://www.ucd.ie/cobid/unitas/newsletter.html

 
ประกาศสำหรับนิสิตนักศึกษาที่สนใจขอทุนวิทยานิพนธ์ PDF พิมพ์ อีเมล

 นิสิตนักศึกษาที่สนใจขอทุนวิทยานิพนธ์กับโครงการ BRT ขอให้ท่านอ่านกรอบและทิศทางงานวิจัยโครงการ BRT (พ.ศ. 2549-2553) โดยละเอียด และขอให้ตรวจสอบ "คำถามวิจัยเชิงชีววิทยา" (Biological Question) ในข้อเสนอโครงการวิจัยให้ละเอียด เพื่อประโยชน์ของท่านในการพิจารณาทุนที่รวดเร็วและชัดเจน

 

"research that is not published might as well not have been done"

Baimai & Brockelman, 2007

 



กรอบและทิศทางโครงการ BRT ระยะที่ 3

 
เมื่อโลกร้อนขึ้น จะเกิดอะไรกับความหลากหลายทางชีวภาพ PDF พิมพ์ อีเมล

โครงการ BRT ได้นำคณะนักวิจัยเข้าร่วมสัมมนานำเสนอผลงานวิจัยด้านนิเวศวิทยา หัวข้อ "เมื่อโลกร้อนขึ้น จะเกิดอะไรกับความหลากหลายทางชีวภาพ" ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC 2008) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2551 โดยจะมีการสัมมนาหัวข้อดังกล่าวในภาคเช้าของวันที่ 26 มีนาคม 2551 เวลา ณ ห้อง 405 อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC)

ในงานนี้โครงการ BRT ยังได้จัดซุ้มนิทรรศการ "ป่าเมฆ -เขานัน ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน" ซึ่งได้จำลองสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (weather station) และนำสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่จากเขานันมาร่วมจัดแสดง รวมทั้งได้นำข้อมูลงานวิจัยจากเขานันทั้งพืชและสัตว์ที่สวยงามแปลกตา มาให้ชมเป็นอาหารตาและอาหารสมองอีกด้วย

 


ผู้ที่สนใจติดตามรายละเอียดงานได้ที่

http://www.nstda.or.th/nac2008/conference26.php

 
จำปีช้าง “จำปีชนิดใหม่ของโลก” PDF พิมพ์ อีเมล

ดอกจำปีช้างในบรรดาไม้ดอกหอมที่นิยมปลูกกันอยู่ทั่วเมืองไทยหลากหลายชนิดนั้น ต้นจำปีและจำปาก็เป็นพรรณไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของกลิ่นหอมและความสวยงาม พรรณไม้วงศ์จำปีจำปา ที่เรียกว่า Family Magnoliaceae นั้นมีความเด่นเป็นพิเศษคือ ทุกชนิดในวงศ์นี้ "มีดอกหอม"

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมจำปีชนิดนี้ จึงมีชื่อว่า "จำปีช้าง" ซึ่งจากการศึกษาของ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น และทีมนักวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ก็ได้คำตอบคือ จำปีชนิดนี้มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในกลุ่มพืชพวกเดียวกัน ผลยาวถึง 5-7.5 เซนติเมตร อีกทั้งการได้เก็บตัวอย่างของจำปีชนิดนี้จากต้นเดิมที่ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ เคยเก็บในปี พ.ศ. 2533 มาตรวจสอบอย่างละเอียดก็พบว่าเป็น "ชนิดใหม่ของโลก" โดยตั้งชื่อว่า Magnolia citrata Noot. & Chalermglin ตีพิมพ์รายงานการตั้งชื่อในวารสาร BLUMEA ฉบับที่ 52 หน้า 559-562 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ชื่อระบุชนิด citrata ตั้งขึ้นเนื่องจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีกลิ่นรุนแรงมากเหมือนตะไคร้

สถานภาพของจำปีช้างในถิ่นกำเนิด จัดเป็นพรรณไม้ที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีต้นแม่พันธุ์เหลืออยู่ในถิ่นกำเนิดเพียงไม่กี่ต้น กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะบนยอดเขาสูงมากกว่า 1,200 เมตร ในจังหวัดเชียงใหม่ เลย และน่าน



ผลจำปีช้างทรงพุ่มจำปีช้าง

ผลและทรงพุ่มของจำปีช้าง

 

 

เอกสารอ้างอิง

P. Chalermglin and H.P.Nooteboom. 2007. A new species of and a new combination in Magnolia (Magnoliaceae). Blumea 52:559-562.

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2545. แมกโนเลียเมืองไทย. กรุงเทพฯ. บ้านและสวน. 188 น. 

ข้อมูลเพิ่มเติม    

 http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000032418

 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 31 32 33 34 35 36 37 38 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL