ประกาศผลรางวัล การประกวดสื่อเผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ประกาศไว้ให้โลกรู้ พิมพ์

หลายคนที่ไปร่วมงานประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 คงจะได้สัมผัสกับสื่อเผยแพร่ "ความหลากหลายทางชีวภาพ ประกาศไว้ให้โลกรู้" ทั้ง 8 ผลงาน ซึ่งเป็นผลงานที่มาจากองค์ความรู้ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ของผู้ส่งเข้าประกวด และบางท่านคงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้คะแนนกับผลงานที่ท่านชื่นชอบไปแล้ว

โดยผลการประกวดสื่อเผยแพร่ "ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ประกาศไว้ให้โลกรู้" มีดังนี้

รางวัลชนะเลิ

ผลงาน Seed dispersal in climate change โดย นางชฎาพร เสนาคุณ และนายอารยะ เสนาคุณ มหาวิทยาลัยมหาสารคา

เรื่องราวการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์พืชโดยวิธีการต่างๆ และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อการกระจายเมล็ดพันธุ์ ด้วยเทคนิคการมีส่วนร่วม (Interactive) เกมที่ทำให้เกิดความสนุกสนานไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ และการ์ตูนแอนนิเมชั่นที่น่ารัก ทำให้กรรมการต้องยกรางวัลชนะเลิศให้แก่ผลงานชิ้นนี้ และหากทุกคนยังจำได้ นี่คือเจ้าของผลงาน "กุ้งเดินขบวน" ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับหลายคนในงานประชุมฯ ครั้งที่ 13

รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. ผลงาน Crab delight โมเดลสายพันธุ์ปู สวยหรูที่สุดในประเทศไทย โดย นายวชิระ ใจงาม, ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และ ผศ.พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การรวบรวมปูทะเลหลากหลายชนิดที่มีบทบาทในระบบนิเวศต่างๆ อาทิ หาดเลน หาดหิน หาดทราย และแนวปะการัง ทำให้ผู้ชมได้รู้จักปูกลุ่มที่มีบทบาทต่างๆ ในระบบนิเวศ และยังได้เรียนรู้จักปูทะเลกลุ่มต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

2. ผลงาน Claymation สาหร่ายทะเลลดโลกร้อน โดย นางสาวจารุวรรณ มะยะกูล, นางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร และทีมวิจัยสาหร่ายและหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การ์ตูนแอนนิเมชั่นดินน้ำมัน นำโดยน้องมารีน ได้พาทุกท่านไปพบกับความงดงาม ความหลากหลาย และคุณประโยชน์ของสาหร่ายทะเลหลายชนิด ทั้งที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ และอาหารของมนุษย์ รวมไปถึงสาหร่ายทะเลที่ช่วยลดโลกร้อน

3. ผลงาน ฉันอยู่นี่...ศัตรูที่รัก โดย นายดุสิต งอประเสริฐ และทีมวิจัยนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สารคดีที่นำภาพจากกล้องดักถ่า่ย จากงานวิจัยด้านนิเวศวิทยา มาเรียงร้อยเป็นเรื่องราวของผู้ล่าและผู้ถูกล่าหลายๆ คู่ ทำให้ผู้ชมได้เรียนรู้เกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารในป่า รวมถึงพฤติกรรมการล่าของสัตว์ผู้ล่าหลายชนิด

 

รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. ผลงาน Once upon a time in Isan โดย ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ และทีมวิจัยศูนย์วิจัยและศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การ์ตูนแอนนิเมชั่นย้อนอดีต เรื่องราวของแผ่นอนุทวีปฉานไทยและอินโดจีนที่มาบรรจบกันและก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ขึ้นในที่ราบสูงโคราช ที่มาของการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์โลกล้านปี

2. ผลงาน ปฏิทินกาลเวลาความหลากหลายทางชีวภาพ โดย นายพฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหิด

รูปแบบการเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นแบบใหม่ ที่ใช้การเก็บข้อมูลเป็นรายปี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลของสิ่งมีชีวิตได้หลายชนิด

3. ผลงาน ไทรโต้รุ่ง-ชีวิตสัมพันธ์ 24 ชั่วโมง โดย นายดุสิต งอประเสริฐ และทีมวิจัยนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวของต้นไทร ตลาดโต้รุ่งแห่งผืนป่า ต้นไม้ที่มีการใช้ประโยชน์ตลอด 24 ชั่วโมง นำเสนอภาพการใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่าประเภทต่างๆ บนต้นไทร

 

รางวัลแห่งความพยายาม และความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

ผลงาน อัดไว้ในเรซิ่น พืชวงศ์ส้มกุ้ง โดย นายธรรมรัตน์ พุทธไทย และ รศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รางวัลพิเศษที่มอบให้กับความพยายามในการหาวิธีการจัดเก็บตัวอย่างพรรณพืชรูปแบบใหม่ โดยดูต้นแบบจากการจัดเก็บพรรณไม้ในพิพิธภัณฑ์ของต่างประเทศ ที่ยังคงสีสันที่สดใสของใบ และดอกของพืช การจัดเก็บตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในเรซิ่นครั้งนี้จึงนับเป็นความสำเร็จครั้งแรกของนักวิจัยไทย

รางวัล Popular vote จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

ผลงาน Seed dispersal in climate change โดย นางชฎาพร เสนาคุณ และนายอารยะ เสนาคุณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การลงคะแนนให้กับผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งในปีนี้ นับว่าเป็นเรื่องยาก ด้วยความน่าสนใจและความคิดสร้างสรรค์ที่ขนกันมาอย่างมากมาย ทำให้คะัแนนโหวตค่อนข้างสูสีกันมาก แต่ที่ต้องยกให้เป็นที่หนึ่งสุดยอดขวัญใจมหาชน คงหนีไม่พ้นผลงาน Seed dispersal in climate change เรียกได้ว่าหน้าจอของผลงานนี้ไม่เคยว่างเว้นจากผู้คนเลยทีเดียว

โครงการ BRT ต้องขอขอบคุณผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทั้ง 8 ทีม รวมไปถึงผู้ที่ส่งแนวคิดเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ นี่เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่จะนำไปสื่อสารต่อสาธารณชนต่อไป ซึ่งจะเป็นการนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปขยายต่อ และสร้างความรู้ ความตระหนัก รวมถึงจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับผู้ที่ได้รับชมผลงานต่อไป

ในการนี้ โครงการ BRT หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประกวดในครั้งต่อไป เราจะได้รับความสนใจจากนักวิจัย และผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการสรรค์สร้างงานสื่อเผยแพร่ที่มีคุณค่าเช่นนี้อีกค่ะ โปรดติดตามข่าวสารการประกวดครั้งต่อไปได้ทางเว็บไซต์ BRT นะคะ