ลิเวอร์เวิร์ตที่รายงานใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พิมพ์

Asterella khasyana (Griff.) Pand?, K.P. Srivast. and Sultan Khanเร็วๆ นี้คณะนักวิจัยไทย โดย ศ.ดร. ทวีศักดิ์ บุญเกิด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตีพิมพ์การค้นพบลิเวอร์เวิร์ต Asterella khasyana (Griff.) Pand?, K.P. Srivast. and Sultan Khan ซึ่งเป็นการรายงานการค้นพบใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ลิเวอร์เวิร์ตในสกุล Asterella พบกระจายอยู่ทั่วโลกมากถึง 48 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานเพียง 1 ชนิด คือ A. blumeana (Nees) Kachroo ที่ดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ต่อมานักวิจัยได้เก็บรวบรวมตัวอย่างลิเวอร์เวิร์ตชนิดหนึ่งมาจากอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน เมื่อทำการจำแนกชนิดก็พบว่าเป็นชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อนในประเทศ และได้ตีพิมพ์รายงานในเวลาต่อมา ซึ่งจากเดิมที่มีรายงานว่ามีพบในประเทศเนปาล อินเดีย ภูฏาน จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอาฟริกา

หลังจากเก็บตัวอย่างมาแล้ว จึงนำส่วนที่เป็นทัลลัสหรือต้นมาศึกษารูปร่างภายนอก พบว่าเป็นแผ่นแบนสีเขียวอมเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. และนำส่วนที่เป็นสปอร์ซึ่งอยู่ในแคปซูลมาศึกษาลักษณะรูปร่างภายนอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าลักษณะของสปอร์จะมีสีเหลือง ผิวขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ

ลิเวอร์เวิร์ตเป็นพืชไม่มีเนื้อเยื่อท่อลำเลียง ซึ่งมีความหลากหลายของจำนวนชนิดในประเทศไทยสูง ลักษณะของพืชกลุ่มนี้จะเป็นแผ่นสีเขียว (thalloid form) ที่รวมอยู่กันเป็นกลุ่มคล้ายพรมเช็ดเท้า และมีก้านชูโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ลักษณะคล้ายยอด หรือมีลักษณะคล้ายต้น ราก และ ใบ (leafy form) พืชกลุ่มนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ตัวเล็กๆ และเป็นแหล่งที่สะสมความชื้นให้กับป่า และเป็นทั้งดัชนีในการบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในผืนป่านั้นๆ ได้ด้วย

Figure 1. Asterella khasyana (Griff.) Pand?, K.P.Srivast. & Sultan Khan: A. a part of plant. B. section of thallus. C. epidermal cells and pore. D. dorsal view of archegonial head. E. ventral view of archegonial head. F. elater. an = andoecium.

Figure 2. SEM of spores in Asterella khasyana (Griff.) Pand?, K.P.Srivast. & Sultan Khan: A. Spore distal view. B. Proximal view. C. Side view. D. A portion of distal view, showing bireticulate.



อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก :
Boonkerd, T. et al. 2007. A note on Asterella khasyana (Griff.) Pande, K.P. Srivast. and Sultan Khan (Marchantiales, Aytoniaceae) in Thailand. The Natural History Journal of  Chulalongkorn University, 7(2): 109-113.